การทำงานของสมอง-บล๊อก-และหัดเล่นดนตรี

Picture 3

ก่อนที่ผมจะเริ่มเขียนบล๊อกวิชาการ พอดีได้หนังสือเล่มนึงมาจาก ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ครับ อ่านแล้วไม่รู้เป็นไง ชอบเป็นการส่วนตัว อาจจะเพราะ ปกสีส้มมั้ง (ฮา สีสะดุดตาดี) ไม่ก็สำนักพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมไทย-ญี่ปุ่น (สสท) หรือเพราะผู้แปลคืออาจารย์เก่าผมที่คณะวิศวะไฟฟ้า จุฬาฯ

หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ “ความลับของสมอง ทำงานอย่างไรให้สมองมีความสุข” เขียนเรียบเรียงอ่านง่ายสไตล์ญี่ปุ่น มีรูปประกอบตลอดเรื่อง (คลิกรูปเพื่อไปหน้า Chulabook.com ครับ)

ความลับของสมอง ทำงานอย่างไรให้สมองมีความสุข

ผมว่าหลายตอนน่าสนใจทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องของการเขียนบล๊อก เขาเขียนประจำสม่ำเสมอและจำกัดเวลาที่เป็นไปได้เพื่อบีบให้สมองทำงาน และมีความสุขเมื่อทำงานเล็กๆ เสร็จ ซึ่งก็คือการเขียนบล๊อกนั่นเอง โดยเลือกเวลาเช้าครับ เพราะสดชื่นที่สุด…ผมนึกถึงเพื่อนผมคนนึงที่ขยันเขียนบล๊อกมาก ไม่ว่าจะเกิดไรขึ้นต้องเขียนบล๊อกให้ได้ครับ ลองเข้าไปดูที่ www.iPattt.com ครับ อิอิอิ

การทำงานของสมอง

สมองมีการทำงานสองส่วนครับ คือ เทมโพรัล ซึ่งเก็บความจำชั่วคราว และพัฒนาไปสู่ความจำที่นานหรือลึกขึ้น ซึ่งวิธีให้เราจำง่ายๆ ก็คือ การทำซ้ำครับ เพราะสมองจะไม่จำถ้าไม่เกิดการ repeat ขึ้นครับ นอกจากนี้ การขยับตัวง่ายๆ ก็ช่วยให้จิตใต้สำนึกเรา (ในหนังสือจะบอกว่าเป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่มาก) ช่วยจำครับ เช่น การขยับปากกา ดีดนิ้ว หรืออะไรก็ได้

เกี่ยวยังไงกับการหัดเล่นดนตรี

นั่นน่ะสิ แล้วเจ้าสมองน้อยๆ ของเราเนี่ยเกี่ยวกับเล่นดนตรียังไง เพราะการทำงานของสมองมีสองส่วน คือ อินพุต กับเอ้าพุต …อินพุต คือ เรามักจะรับข้อมูลได้ดีกว่าครับ ฟังเพลงแล้วรู้ว่าเพี้ยน ยิ่งเดี๋ยวนี้มีอินเตอร์เน็ตก็จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า อินพุตล้น ซึ่งสมองที่ทำหน้าที่รับอินพุตนั้น ง่ายมากเพราะแค่ฟังบ่อยๆ เราก็รับสิ่งนั้นเข้ามา แต่ที่มีปัญหาคือเจ้าตัวเอ้าพุตนี่ล่ะ รู้ทั้งรู้ว่าเพี้ยน เราก็ยังไม่สามารถร้องหรือเล่นเพลงให้ตรงได้ หรือการเล่นกีฬาทำไงก็เล่นไม่ได้สักที เขาอธิบายว่า นี่แน่ะ มันเกิดจากว่า สมองที่จัดการส่วนนี้มันใช้การจำที่ได้จากการทำซ้ำ ในทางดนตรีจะมีคำเรียกคำนึงที่เรียกว่า “Muscle Memory” คือ ความจำที่อยู่บนกล้ามเนื้อซึ่งไม่ได้ใช้สมองจำครับ ส่วนนี้เป็นอะไรที่เรียกว่า เล่นไปเองโดยอัตโนมัติ เช่น การเล่น layback บนจังหวะ swing ที่เวลาเล่นไม่ได้เล่นเป็นส่วนสามพยางค์ (triplet) แต่อาจารย์ผม Nick Lafleur จะบอกว่า มันคือ ขเบ็ตหนึ่งชั้น (Eight Note) สองตัวที่ ตัวแรกมาตรงจังหวะ ตัวถัดมาขี้เกียจ (lazy) มาช้าหน่อย เจ้าโน้ตตัวนี้แหละ ที่เล่นกันได้ยากนักยากหนา

เรื่อง Layback นี้ ผมเองมาเจอเรื่องนี้อีกครั้งในงาน EasyDrum Meeting ซึ่งอ.ก้อง ณภัทร และพี่เล็ก ทีโบนได้อธิบายไว้ชัดเจนทีเดียว เพราะเขาตีกลองให้ดูจริงๆ ไงครับ ว่า Layback มันเป็นไง เรียกเสียงปรบมือดังสนั่นทีเดียว สำหรับมือกลองทุกท่านและนักดนตรีท่านอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นกลองนะครับ เวลามีเวิร์กช๊อปเครื่องดนตรีอื่นที่เราไม่ได้เล่น ถ้ามีโอกาส ควรไปครับ …ต้องขอขอบคุณ @SexDrum ที่ชวนผมไปเล่น ณ โอกาสนี้ครับ ลองดูภาพบรรยากาศงานได้นะครับ

จะเอาความรู้นี้มาใช้ยังไง?

ต่อกันอีกนิดเรื่องของสมองกับการเล่นดนตรีครับ วิธีพัฒนาสมองก็คือ เราต้องพยายามวนลูบ อินพุต กับ เอ้าพุต (ขออนุญาตทับศัพท์นะครับ ไม่ชอบใช้ คำแปล ส่วนรับ-ส่งข้อมูล) ให้ได้หลายๆ รอบครับ สมองเราจะเหมือนกับทฤษฎี Feedback เหมือนที่เรียนในวิชา Control Engineering คือว่า เราจะเอา เอ้าพุต มาเปรียบเทียบ กับ อินพุต ซึ่งคือ ประสบการณ์ของเรานั่นแหละครับ แล้วปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆ

มีอีกข้อสังเกตนึงครับ ถ้ามีงานชิ้นนึง เขาจะแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยๆ และทำให้เสร็จครับ ส่วนบางเรื่องที่ไม่เคยทำ เช่น การเขียนบทความ ซึ่งผมเองก็ดองการบ้านบทความไว้ประมาณนึงเลย เขียนเท่าไหร่ก็ไม่ได้สักที ท่านก็ว่า ให้ลุยทำให้จบสักรอบนึง แล้วรอบที่สองก็จะดีขึ้นเองครับ เลยเป็นที่มาของบล๊อกวันนี้ครับ แหะ แหะ

แล้วไว้ติดตามบทความวิชาการกันต่อนะครับ ขอบคุณครับ

ปล. แนะนำหนังสือหนังสืออีกสองเล่มครับ Inner Game of … จะเป็นแนวจิตวิทยาการเรียนรู้ครับ คล้ายๆ กัน โดยเฉพาะเล่ม Inner Game of Tennis นี่เหมาะสำหรับนักทรัมเป็ตโดยเฉพาะเลย ต้องขอขอบคุณ อ.หมู สมภพ พึ่งปรีดา นักทรัมเป็ตวง Thailand Philharmonic Orchestra (TPO) ที่แนะนำมา ณ โอกาสนี้ครับ

Inner Game of Tennis เหมาะสำหรับนักทรัมเป็ตครับ

Inner Game of Tennis เหมาะสำหรับนักทรัมเป็ตครับ

Inner Game of Music

Inner Game of Music

มี 6 ความคิดเห็น สำหรับ “การทำงานของสมอง-บล๊อก-และหัดเล่นดนตรี”

  1. MuzikBank

    อืมม อ่านดีมีสาระ เยี่ยม!!

  2. patchara

    โอ้ว ก็อปไปลง iSchool ดีกว่า !

  3. mnk2551

    ขอบคุณครับ…มีประโยชน์มากครับ เดียวต้องไปหาซื้อหนังสือมาอ่านครับ.

  4. ichattt

    โอ้ว เมพขิงๆ ! ชาบู ชาบู ..

  5. Why we JAM? | Plajazz

    […] ลองอ่าน การทำงานของสมอง […]

  6. ปริมาณกับคุณภาพ อ. ช้างต้น กุญชร ณ​ อยุธยา | Plajazz

    […] จากบล็อกเก่าผมก็ได้ครับ – การทำงานของสมอง ) อย่างที่เห็นชัด คือ งานที่ Asara Hotel […]

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar