Blues บลูส์คืออะไร เล่นยังไง หาฟังได้ที่ไหน

วันนี้ผมมาชวนฟังเพลงบลูส์ มาดูประวัติ ดูภาพยนตร์ หัดเล่นเพลงบลูส์กันครับ

ความหมายของ บลูส์ Blues

จริงๆ แล้วคำว่า บลูส์ (Blues) เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก แต่ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจครับ โดยบลูส์ อาจจะมีความหมายต่างๆ ดังนี้ครับ

1. ดนตรีบลูส์ ซึ่งมักจะมี 12 Bar หรือมีจำนวนห้องมากน้อยกว่านี้ เริ่มเล่นในหมู่คนผิวดำ แอฟริกัน-อเมริกัน โดยมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งสามารถหาฟังได้ โดยเริ่มแรกเพลงบลูส์ นิยมร้องในหมู่ทาสเพื่อเป็นการปลดปล่อย และประเล้าประโลมจิตใจ ปัจจุบัน ดนตรีบลูส์​ ถือเป็นดนตรีประจำชาติแบบนึง และเป็นที่นิยมเล่นกันทั่วโลก

2. 12-Bar Blues Progression เวลานักดนตรีจะเรียกเพลงก็มักเรียกเพลงบลูส์ในคีย์ต่างๆ ซึ่งก็เป็นที่รู้กันว่าจะต้องเล่น 12 Bars โดยฟอร์ม 12 Bars นี้ จะเล่นวนกันไปเรื่อยๆ ในแต่ละรอบจะเรียกว่า คอรัส ครับ เล่นไปได้ไม่จำกัดคอรัส ซึ่งก็จะมีคอร์ดต่างๆ อยู่ มักเป็น 1,4,5 (I7, IV7, V7) แต่ก็อาจเปลี่ยนไปเป็นแบบอื่นได้ ผมจะยกตัวอย่าง 2 แบบครับ

แบบแรก Basic Blues จะมีแค่คอร์ด ​I7, IV7, V7 เช่น F-Blues 12 Bars Form เครื่องหมาย % คือการซ้ำคอร์ดเดิมนะครับ

|| F7 | % | % | % |
| Bb7 | % | F7 | % |
| C7 | Bb7 | F7 | % ||

แบบสอง Jazz Blues จะมีการใช้ two-five-one เข้ามา ซึ่งก็คือคอร์ด ii7 / V7 / I เข้ามาช่วย ลองหาอ่านบทความเรื่อง การอิมโพรไวส์เบื้องต้น-ความสำคัญของทางเดินเบสในการอิมโพรไวส์ เขียนโดย อ.ธีรัช เลาห์วีระพานิช (กุ๊ก ทีโบน) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารดนตรีรังสิต Vol.3 No.2 July-December 2008 ดูครับ หรือไว้เดี๋ยวผมจะลงเต็มๆ อีกครั้งนึงครับ เขียนได้ดีเลยทีเดียว หน้าตาของ Jazz Blues เป็นแบบนี้ครับ

|| F7 | Bb7 | F7 | % |
| Bb7 | % | F7 | % |
| Gm7 | C7 | F7 | C7 ||

หรืออาจเจอแบบนี้ครับ (จากวิกีพีเดีย)

|| F7 | Bb7 Bbdim |F7 |Cm7 F7|
| Bb7 | Bbdim | F7 |A7 D7 |
|Gm7 | C7 | A7 D7 | G7 C7 ||
IV7 IVdim I7 III7 VI7
IIm7 V7 III7 VI7 II7 V7

และจริงๆ แล้ว Jazz Blues ก็อาจเปลี่ยนไปจากนี้ได้อีก โดยเอาคอร์ดอื่นๆ มาช่วยครับ ลองอ่านเพิ่มในวิกีพีเดียดูครับ

3. เพลงร้องบลูส์ (Lyric Pattern) ประกอบด้วยสามวรรคครับ เช่น

จากวิกีพีเดีย
I hate to see the evening sun go down,
Yes, I hate to see that evening sun go down
‘Cause it makes me think I’m on my last go ’round

W.C. Handy’s “St. Louis Blues”

จะเห็นว่าเหมือนกันกับ Form เลย คือมีสามชุด ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าวรรคแรกกับวรรคสองนั้นแทบจะเหมือนกัน เพียงแต่มีการรับส่งท่อนเท่านั้นเอง และวรรคที่สามก็เป็นการสรุป ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ คือ เป็น Complain Song หรือเพลงบ่น ซึ่งบางครั้ง วรรคแรกกับวรรคที่สองก็ไม่เหมือนสักทีเดียวครับ ว่าแล้ว ลองเขียนเพลงบลูส์กันบ้างไหมครับ ใครคิดได้ก็คอมเม้นต์ข้างล่างเลยครับ เดี๋ยวหาคนเล่นให้ครับ

4. สเกลบลูส์ มักจะหมายถึง Minor Blues ซึ่งประกอบไปด้วย 1, b3, 4, b5, 5, b7 เช่น C Blues คือ C minor Blues นั่นเอง จะประกอบด้วยโน้ต C, Eb, F, F#, G, Bb, C สำหรับสเกลที่นิยมใช้เช่น F-Blues, Bb-Blues ในเพลงแจ๊ส และ B-Blues, E-Blues ในเพลงกีตาร์ ในทางดนตรี เวลาเล่นอาจคิดว่าเป็น Pentatonic Scale ก่อนก็ได้ครับ แล้วเพิ่มโน้ตบางตัวเข้ามา เช่น C Blues จะมาจากสเกล A pentatonic (ลองกดคีย์บอร์ดดูครับ จะฟังคล้ายเพลงไทย เพลงจีน ครับ) จะมีโน้ต C, Eb, F, G, Bb แล้วเพิ่มอีกโน้ตนึงคือ F# เข้ามาครับ

5. โน้ตบลูส์ (Blues Note) ไม่ใช่ค่ายเพลงแจ๊สนะครับ หมายถึงโน้ตในสเกลที่ถูกดัดแปลงให้มีเสียงต่ำลง คำว่า “บลูส์” มักหมายถึงความเศร้าหมอง เช่น Don’t it make my Brown Eyes Blues แปลว่า อย่าทำให้ฉันเศร้า (แปลละเอียดๆ คือ อย่าทำให้ดวงตาสีน้ำตาลนั้นเศร้า) แต่ในทางดนตรี บลูส์ ไม่จำเป็นต้องเศร้าเสมอไปครับ คำว่า Blues Note คือ โน้ตที่ถูกแปลงเสียงไปจากเดิม ถ้าเราไล่สเกลปกติ เช่น C, D, E, F, G, A, B จะพบว่า คอร์ด C คือ C-E-G-B ถ้าเล่นเป็นบลูส์ จะมีโน้ต Eb, Gb (F#), Bb ปรากฎอยู่ (C ปรับเสียงไม่ได้เพราะเป็นชื่อคีย์) สามโน้ตนี้แหละครับ คือ โน้ตบลูส์ เวลาเล่นประกอบกับในเพลง เราจะฟังออกเลยครับ ว่าเป็นเพลงบลูส์ เพราะมีโน้ตบลูส์อยู่นั่นเอง

Blues บลูส์

Blues บลูส์

กำเนิดเพลงบลูส์

ลองฟัง สารคดีของช่อง PBS อเมริกาครับ จัดทำโดย Ken Burns ซึ่งทำสารคดีเยี่ยมๆ ชุดนี้ออกมา เป็น DVD 8 แผ่น ซึ่งหาได้ที่อเมซอน หรือ Youtube ก็จะมีให้ฟัง 111 ตอนครับ ขอบคุณ อ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ ที่แนะนำเรื่องนี้และให้ DVD มารีวิวครับ ส่วน youtube นี่ ทางฝรั่งเขาอัพไว้ ลองดูกันเลยครับ

ผมมีโฉนดในเอกสารประกอบการสอน “ดนตรีแจ๊สและการวิเคราะห์” MUS 651 (หน้า 64) จากอ.เด่นช่วยครับ หาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือ ม.รังสิต ครับ ในวีดีโอ คร่าวๆ นะครับ เพลงบลูส์ อาจเริ่มจาก จิมม์ โครว์ ซึ่งเป็นวงที่ดังมากในสมัยนั้น ก็จะเรียกเพลงแบบที่ได้ฟังว่า เพลงในแบบจิมม์ โครว์ ในช่วง 1890 เกิดการหลอมรวมของดนตรีสองประเภท คือ Ragtime และ Blues ขึ้น (แรกไทม์​ ลองนึกถึงเพลง the Entertainer ครับ) ในช่วงนี้มีเหตุการณ์เกิดขึ้น คือ คนดำไม่ได้รับการยอมรับ และเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น และมีเครื่องดนตรีซึ่งใช้ในการทหาร เช่น กลอง แตรต่างๆ มากจึงกลายเป็นเครื่องดนตรีในช่วงนั้ ครับ นอกจากนี้ ก็จะมีส่วนผสมของเพลงโบสถ์คนดำ ที่เรียกว่า Gospel ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นเพลง Soul ซึ่งหมายถึงเพลงที่ร้องออกมาจากจิตวิญญาณภายในครับ เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ผู้ดำเนินรายการ คือ วินสตัน มาร์แซลลิส นักทรัมเป็ตสองรางวัลแกรมมี่คลาสสิกและแจ๊สในปีเดียวกัน เรียกว่า “Gumbo” หรือ คือ สตูแบบนิวออลีนส์​ซึ่งรวมเอาดนตรีหลายๆ แบบเข้าด้วยกันครับ

ลองอ่านรายละเอียดอื่น ในวิกีพีเดีย และหาเพลงฟังในยูทูบนะครับ แนะนำว่า dvd ของ Ken Burns ดีมากมายครับ หาในบิตก็มี ในยูทูบก็มี ถ้าได้ไปอเมริกา ลองหาซื้อดู หรือสั่งทาง Amazon ดูนะครับ

หัดเล่นเพลงบลูส์

สำหรับนักกีตาร์ หยิบอาวุธของท่านขึ้นมา แล้วเล่นตามนี้ครับ

เครื่องเป่ามีหนังสือแนะนำชื่อ Essential Jazz Element ลองหาได้ที่คิโนคุนิยะ นะครับ

หาฟังหาชมได้ที่ไหน?

บลูส์ ได้เข้าไปอยู่ในดนตรีต่างๆ มากมาย ไม่เพียงแต่บลูส์ แต่มีอิทธิพลไปยังแจ๊ส โซล R&B ฯลฯ ด้วย สำหรับเพลง ลองหาที่ชอบเลยครับ ศิลปินมากมาย ลองฟัง R&B อย่าง Sam Cooke, Ray Charles, James Brown, Cab Calloway, Aretha Franklin, John Lee Hooker น่าจะถูกจริตคนไทยครับ

สำหรับภาพยนต์ที่แนะนำว่าต้องดูเลยนะครับ Blues Brother (1980) เวอร์ชั่น 1980 นะครับ ไม่ใช่ 2000 เป็นเวอร์ชั่นคลาสสิก หนังสนุก และขนเอาดารา R&B คับคั่งข้างต้นคับคลั่งครับ หนังเล่าว่า พี่น้องสองคนเพิ่งพ้นโทษ ต้องการแสดงดนตรีเพื่อหาเงินมาช่วยบ้านเด็กกำพร้าที่พวกเขาเคยอยู่ โดยต้องหาเงิน 5000 $ เพื่อจ่ายเป็นภาษี จะได้ไม่พ้นจากการถูกผิด ทุกๆ ที่สองคนนี้และพรรคพวกไป ก็จะมีเรื่องต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย มีการไล่ล่าของนักเลงทั้งฝั่่งตะวันตก ตะวันออก และตำรวจครับ ลองดูตัวอย่างสองเพลงนี้ดูครับ ของ Cab Calloway

Cab Calloway – Minnie The Moocher (Blues Brothers 1980)

อีกเพลงนี่ Blues Form แท้ๆ เลยครับ

อีกเรื่องที่แนะนำ คือ “Ray Charles” ครับ เป็นหนังประวัติของเรย์ ชาร์ลส์ และบอกถึงด้านมืดของดนตรี และให้ความรู้สึกเหมือนกับเราเป็นนักดนตรีจริงๆ เลยครับ

จุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ # 36 – มองโลกผ่านคนหัวใจบลูส์

เอื้อเฟื้อข้อมูล จาก พี่รัก อนันต์ ลือประดิษฐ์ ครับ

จุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ # 36 มองโลกผ่านคนหัวใจบลูส์

จุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ # 36 มองโลกผ่านคนหัวใจบลูส์

ณ “บางลำพู” ชุมชนดั้งเดิมในพื้นที่ของเกาะรัตนโกสินทร์ มีบาร์เล็กๆ ชื่อ “Adhere” อยู่ที่นั่น รายล้อมด้วยผู้คนที่มีสีสันในแต่ละอณูของความเคลื่อนไหว ในยุคสมัยที่วัฒนธรรมจากภายนอกไหลบ่า การดำรงอยู่ของ “Adhere” สะท้อนถึงบริบททางสังคมที่คลี่คลายไปในทางสร้างสรรค์ ที่นี่ มิได้เป็น “บาร์” ในความหมายตายตัว เหมือนข้อสรุปของผู้ใหญ่ใจแคบบางคน แต่ที่นี่เป็น “พื้นที่” ให้คนหลากวัยหลายที่มาได้พบปะจนก่อเกิดเป็น บางลำภู แบนด์ (ชื่อเฉพาะที่ทางวงเลือกสะกดด้วยพยัญชนะ ภ.สำเภา)

“บางลำภู บลูส์” โดย “บางลำภู แบนด์” เป็นผลผลิตของคนหัวใจบลูส์ เสียงเพลงที่พวกเขาขับขาน กระจ่างชัดราวกับกำลังเต้นเร่าอย่างมีเลือดเนื้อ เพราะทุกเรื่องราวที่ถ่ายทอดนั้น มาจากชีวิตของผู้คนบนบาทวิถีจริงๆ

ผลงานชุดนี้กำลังจะทยอยออกมาอวดโฉมในอีกไม่กี่วันข้างหน้า พร้อมๆ กับการแสดงสดของพวกเขาในงานจุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ # 36 ในวันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม ศกนี้ เวลา 17.00 น. ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

อีกครั้งนะครับ วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม ศกนี้ เวลา 17.00 น. ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อาทิตย์นี้แล้ว หาซื้อบัตรได้ที่ http://www.thaiticketmajor.com/concert/judprakai36.php

สำหรับผู้ที่สนใจจริงๆ ผมมีบัตรฟรี 10 ใบ (หรือมากกว่านั้น) เอื้อเฟื้อโดย พี่รัก อนันต์ ลือประดิษฐ์ ครับ คอมเม้้นท์ ทิ้งไว้เลย แล้วผมจะหาทางให้ครับ อาจไปรับบัตรหน้างาน เพราะวันนั้นผมเองติดงานราษฎร์ ไปดูไม่ได้ครับ น่าเสียดายมาก

มี 10 ความคิดเห็น สำหรับ “Blues บลูส์คืออะไร เล่นยังไง หาฟังได้ที่ไหน”

  1. kejuliso

    น้องแก้วอยากดู แต่ไม่รู้จะว่างมั้ย
    เด๋วมาบอกอีกทีนะจ๊ะ พี่ปลาทองขึ้นไปเล่นป่ะเนี่ย?

  2. ปลาทอง

    ติดงานแต่งงานครับผม

  3. @itimzz

    ขอใบได้ไหมพี่ ชอบ Jazzy ที่สุด

  4. @itimzz

    และก็ชอบเพลงเศร้าๆที่ไม่เศร้าอย่างBlues ด้วย
    ขอบคุณพี่ปลาทองครับ

  5. Sittichon Jullakotr

    ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่แตกฉาน.

  6. ปลาทอง

    ส่วนน้อยเท่านั้นครับ ทราบว่าจะมีนิทรรศ Jazz แสดงที่ TCDC ด้วยครับ

  7. MaxbassCM

    ข้อมูลเยี่ยมมาก ขอบคุณมากครับ

  8. The 5th Dimension วงดนตรี Soul, R&B ยุค 1970's | Plajazz

    […] เพลง Wedding Bell Blues เป็นเพลงแนวบลูส์ที่มาจากอเมริกันอัฟริกันที่ได้รับความนิยมในอเมริกาและแพร่หลายในประเทศต่างๆทั่วโลก เพลงบลูส์มีโครงสร้างของเพลง เสกลเสียง การใช้คอร์ด และวิธีการร้องที่เป็นเอกลักษณ์ ท่านที่สนใจอ่านได้ที่ลิ้งค์ของ เกรียงไกร สันติพจนา (ปลาทอ… […]

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar