Why we JAM?

สืบเนื่องจาก เมื่อวาน (2 ธ.ค. 2009) ผมต้องเป็นเจ้าภาพ หรือที่ภาษาคนแจมเรียกว่า HOST ให้กับน้องๆ นิสิต นักศึกษา วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ก็มีทั้งสนุก ทั้งลุ้น คละเคล้ากันไป แต่สิ่งนึงที่สังเกตได้หลังจากที่จัดงานอย่างนีี้มา 2-3 ครั้ง คือ น้องๆ กลัวไม่กล้าแจม ส่วนคนแจมบางคน(โดยเฉพาะผม) ก็แจมไม่เลิก ไม่แบ่งคนอื่นเล่น บางทีมาแล้วเตรียมตัวมาไม่ดี มี Ego หรือ Mindset บ้าง ก็เลยมาเล่าให้ฟังกันครับ

แจมนั้นสำคัญไฉน

JAM SESSION เป็นเรื่องปกติของการ เล่นดนตรี

JAM SESSION เป็นเรื่องปกติของการ เล่นดนตรี

การแจมนั้นผมได้ในดนตรีทั่วๆ ไป ไม่เฉพาะแต่ Jazz นะครับ ใน Pop หรือแม้แต่วง Orchestra หรือ Symphonic Band หรือดนตรีไทยก็ตาม เราจะพบการแจมเสมอๆ ถ้าจำภาพยนต์เรื่อง โหมโรง ได้ จะมีฉากที่พระเอก เล่นเพลงสนุกๆ ในวงเหล้า กับเพื่อนนักดนตรีจากที่อื่น เล่นในบ้านเพื่อนอะไรอย่างนั้นครับ การแจมนี่ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นคอนเสิร์ตนะครับ มักจะจัดกันในผับ หรือในสถานที่เล่นดนตรีนั้นๆ แต่เป็นช่วงนอกเวลาทำงาน เพื่อเล่นกันสนุกๆ ในกลุ่มนักดนตรี เรียกว่า “JAM SESSION” แต่บางทีก็จัดเป็นงานภายในบ้านก็ได้ ในเมืองไทย หลายๆ ผับมักจะมีแจมในวันที่นักดนตรีปกติหยุด เช่น ช่วงดึกของวันอาทิตย์ หรือวันจันทร์ ครับ

การแจม เนี่ย ถ้าเราดูประวัติศาสตร์ จะพบว่า นักดนตรีอเมริกัน สมัยก่อน จะทำงานอยู่ใกล้ๆ กันในโซนผับ และเมื่อเลิกงานประจำแล้ว ก็มักจะมีแรงเหลือ หรืออยากทดลองดนตรีใหม่ๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันบ้าง ก็เลยนัดกันมาเล่นหลังเลิกงาน เล่นฟรีๆ นี่ล่ะ บางที่ก็จะมีการเลี้ยงเครื่องดื่มนักดนตรี คือ พอแจมเสร็จก็เบียร์กระป๋องนึง อะไรอย่างนั้น ที่โด่งดังก็คือ Minton’s Playhouse, New York City ลองอ่านต่อใน Wikipedia นะครับ

ความสำคัญของการแจมพอสรุปคร่าวๆ ดังนี้ครับ

  • 1. ทำให้เกิดดนตรีใหม่ๆ ขึ้น เช่น พวก Free Jazz หรือ Bebop ก็มาจากตรงนี้ครับ
  • 2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางดนตรี ฝีมือเก่งขึ้นจากการที่ได้เห็นอะไรใหม่ๆ การดูก็เป็นการซ้อมอย่างนึงครับ ลองอ่าน การทำงานของสมอง ในตอนที่แล้วดูครับ
  • 3. พูดคุยเรื่องดนตรี, Gig หรืองานดนตรีที่โน่นขาดมือแซก, ที่นี่มือกลองต้องดูแลเมียคลอดลูก
  • 4. จากข้างต้นเป็นที่มาของงานจริงๆ ครับ ใครไม่มีงาน ไปแจมครับ ถ้าเล่นดี มักได้งานตามมาเสมอครับ

ตัวผมเอง หลายๆ ครั้งก็ได้งานจากตรงนี้ครับ แทนไปแทนมา ได้เล่นจริง บางทีไปแทนปุ๊บ ลูกค้าชอบ บอกทางวงว่านอกจากวงปกติแล้ว ขอผมซึ่งเป็นคนแจมมางานนอกด้วย ก็ได้งานจากตรงนี้ครับ

Jazz นั้นต้อง Jam ยังไง? (ตับ ไต ไส้ พุง)

ผมจะกล่าวถึงแจ๊สละกันครับ เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน ก็เริ่มจากเพลงหากิน หรือที่เรียกว่า Repertoire ซึ่งเป็นเพลงที่ทุกคนรู้จัก เคยเล่น หรือไม่เคยเล่นแต่ตามๆ กันได้ ในคีย์ที่ไม่ยากมาก ที่เจอบ่อยๆ เช่น Blues in F ต่างๆอย่าง Now’s the Time, Billie Bounce หรือเมื่อวานพอดีผมมีสอนเพลง Confirmation ซึ่งยากทีเดียว แต่เล่นกันได้ ก็เลยจัดซะ เพลงอื่นๆ ก็มี เช่น Rhythm Change อย่าง Flintstone, Oleo หรือเพลงกลุ่มอื่นที่เป็น AABA อย่าง All the thing you are

เพลงมีมีสองประเด็นให้พูดถึงเล็กน้อย หนึ่งคือ Intro ที่ฟังดูแปลกมากสำหรับผมที่ฟังตอนแรก ก็มาจากการแจมของฝรั่งนี่ล่ะ พอเล่นแล้วชอบก็มีคนแกะเอาไปใช้ตามๆ กันมาครับ ส่วนอีกประเด็นคือ เพลงนี้ จริงๆ คนแต่งเป็นคนคลาสสิกนะครับ ชื่อ Jerome Kern ผู้แต่งเองก็มักเปรยว่าไม่ค่อยชอบที่คนแจ๊สชอบเอาเพลงเขาไปเล่นเป็นแจ๊ส แถมเพลงนี้มักถูกเลือกเป็นเพลงแจมบ่อยๆ ซะด้วยสิ

โดยทั่วไป ฟอร์ม (Form ทางดนตรีแปลว่า สังคีตลักษณ์ ..ยากจัง ขออนุญาตใช้ฟอร์มนะครับ) หรือฟอร์แมต คือ เป็น Sandwich Approach แซนด์วิชนี่คือว่า มักจะมีอินโทร หรือไม่มี หรือเป็นคอร์ดชุดเดียววนไปเรื่อย จนเข้าเพลงที่เรียกว่า Head in เล่นไปรอบนึง แล้วก็โซโล่กันยาวเลย เหมือนเป็นหมูแฮม อยู่ตรงกลาง เสร็จแล้วอาจมี Trade Four/Eight แล้วปิดด้วย Head out เพื่อจบเพลงครับ เป็นรูปแบบง่ายๆ ที่ทุกคนรู้จักและเดาได้ครับ

ปกติเวลาแจม มักแจมแค่เพลงสองเพลง แล้วถอยมาให้คนอื่นแจมบ้างครับ ไม่งั้นเพลงนึง Solo ทุกคน จะยาวมากๆ เป็นชั่วโมงๆ ก็มีครับ แต่บางทีก็มันติดลมไม่ยอมลงก็มีเหมือนกัน แต่ให้ลงมาบ้างครับ เปิดโอกาสให้คนอื่นเล่นบ้าง เราก็ไปเม้าท์ๆ คุยๆ กินเบียร์กันครับ

เกิดอะไรขึ้นในการแจม

เรียกว่า Chemical Reaction ครับ บางทีก็มีหลุดบ้าง ตรงนี้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันจริงๆ ครับ เสร็จแล้ว กลับมา นักดนตรีก็มักจะมีไอเดียอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นครับ ส่วนเรื่องงานก็มักจะตามมาทีหลังครับ ถ้าเราเล่นดี และเข้าขากับคนอื่นครับ

กรณีศึกษา ดนตรีในร้านกาแฟ วาวี

ร้านกาแฟวาวี เดิมที จัดเป็นร้านนั่งสบายๆ ฟังดนตรีเบาๆ ครับ ต่อมา ความที่เราเพื่อนเยอะ ก็ตามกันมาฟังบ้าง หรืออย่างน้องแก้ว ที่จะกลับมาเดือนมกราคมนี้ น้องก็เดินผ่าน อ้าว พี่ปลาทองนี่นา ก็เลยมาคุย ผมก็ชวนแจม แจมสักสองทีก็เลยชวนมาร้องเพลงประจำเลย เพราะลูกค้าเองก็ชอบด้วย

ส่วนในยุคต่อมา เมื่อคุณพัด เข้ามาเล่นประจำ (ตอนแรก็แจมเหมือนกัน) เราก็เลยจัดกันว่า วันเสาร์เป็นแจ๊ส ส่วนวันอาทิตย์เป็นเพลง Pop แต่ให้มีคนมาแจมได้ พอเริ่มแจมก็เริ่มสนุก จนเกิด “ปรากฏการณ์วาวี” อย่างที่เห็น ครับ ลอง Search ในบล๊อกคุณพัดดูครับ

ตัวอย่างการแจม

หาได้ทั่วไปตามผับแจ๊สนะครับ แซกโซโฟนผับ อนุสาวรีย์ชัยฯ , Brown Sugar หลังสวนลุม, Bamboo Bar โรงแรมโอเรียนเต็ล ฯลฯ สำหรับที่ ม.รังสิต ก็จัดในวิทยาลัยเลย น้องๆ จะได้แจม ส่วนคนที่ไม่มาแจมก็ต้องไปแจมที่อื่นและอัดมาส่งอาจารย์ ไม่งั้นไม่มีสิทธิ์สอบนะครับ เลยเป็นที่มาของคลิปนี้ น้องเพียว KPN รุ่นล่าสุด อยู่ปี 1 แต่ไม่ได้มาแจมเพราะมีกิจกรรมกับเพื่อนๆ KPN เผอิญมากินกันที่ #saxpub ผมเลยจับอัดเสียงส่งมาเป็นการบ้านของน้องเขาซะเลยครับ ลองฟังกันดู ผิดบ้าง ถูกบ้าง หลงบ้าง ตลกดี เพลงชื่อ All of Me ครับ

[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2009/12/pure-Jam-saxpub-All-of-me.mp3|titles=Pure KPN 9 Jam at Saxophone pub – All of me]

pure Jam saxpub- All of me
ลองคลิก แล้วตามไปโหลดฟังกันดูนะครับ เป็นไฟล์ mp3 อัดจาก iPhone ครับ

มี 3 ความคิดเห็น สำหรับ “Why we JAM?”

  1. patchara

    บทความดีเป็นศรีแก่ตนครับ !

  2. MuzikBank

    อืมม เขียนดีๆ

  3. Gucci diaper bag

    that had been searched for through society’s abundant in addition to Gucci shoes.

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar