History 6: Alessandro Scarlatti

Date: 18 February 2010 Category: เรียนดนตรี Tag:

Alessandro Scarlatti

Alessandro Scarlatti

Alessandro Scarlatti

จาก Wikipedia http://en.wikipedia.org/wiki/Alessandro_Scarlatti/

Alessandro Scarlatti (2 May 1660 – 24 October 1725) was an Italian Baroque composer especially famous for his operas and chamber cantatas. He is considered the founder of the Neapolitan school of opera. He was the father of two other composers, Domenico Scarlatti and Pietro Filippo Scarlatti

อเล็กซานโดร สการ์แลตติ เป็นนักแต่งเพลงชาวอิตาเลียนในยุคบาโรค ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องของเพลงร้องโอเปร่า และเพลงร้องแบบแคนตาตาร์ เขาถือเป็นผู้ก่อตั้ง โรงเรียน Neapolitan School of Opera และเป็นบิดาของนักประพันธ์เพลงชื่อดัง อีกสองท่าน คือ โดมินิโก สการ์แลตติ และ ปิเอต์โตร ฟิลิปโป สการ์แลตติ

** ก่อนที่ทุกท่านจะงงไปกว่านี้ จะพยายามอธิบายศัพท์ บางคำ อย่างสั้นๆ ให้พอเข้าใจนะครับ โดยจะยึดจาก Oxford Dictionary of Music เพราะสั้นดีครับ

“Baroque”
เป็นคำฝรั่งเศส ซึ่งมาจากศัพท์ทางสถาปัตย์ที่หมายถึง งานสถาปัตยกรรมของเยอรมันและออสเตรีย ในช่วง คริสตศตวรรษ 18-19 และถูกยืมมาอธิบายดนตรี ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1600-1750 โดยประมาณ เวลาเราบอกยุคดนตรี จะบอกจากผลงานครับ คือ ช่วงหลังจาก Bach จนถึง Handel (1759) การบอกยุคก็เช่นกัน เราจะมีคำว่า High เติมหน้า เพื่อบอกว่าเป็นช่วงที่ยุคนั้นๆ รุ่งเรืองสุดครับ

ยุคนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง?? -> Harmony Complexity, Emphasis on Contrast, Opera: Recitative to Aria, Emergence of Sonata+Suite+particular Concerto Grosso

Composer ในยุคนี้?? -> Corelli, Vivladi, Handel, Bach
ลักษณะเด่น -> Basso Continuvo
Note -> คำว่า Baroque อาจหมายถึง Coarse (ขาดรส), Old-Fashioned in taste (รสนิยมเก่า)

เวลาเรืยนเรื่องประวัติศาตร์ ต้องพยายามเก็บคำสำคัญไว้เยอะๆ ครับ แล้วเอามาร้อยต่อกันด้วยเรื่องราว และเรื่องของความนิยม หรือดี ไม่ดี มันขึ้นอยู่กับยุคนะครับ ไม่ได้วัดว่ายุคนั้นดีหรือไม่ดี หรือเก่งกว่ายุคไหน แต่หมายถึง ลักษณะที่เป็นที่นิยมในยุคนั้นๆ ครับ ในแต่ละยุคก็อาจซ้อนทับกันได้ และของที่เคยเชย ก็อาจกลายเป็นร่วมสมัยได้เช่นกัน

ใน พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ ของ ศาสตราจารย์​ ดร. ณัชชา พันธุ์เจริญ (ลองหากันดูนะครับ ดีมากๆ สำหรับนักเรียนดนตรี ทุกคนครับ) ให้ความหมายดังนี้

Scarlatti, Alessandro [ซการ์ ลาต ติ, อะ เล ซาน โดร] อะเลซานโดร สการ์ลาตตี
(1670-1725) นักแต่งเพลงชาวอิตาลีในยุคบาโรก อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับรัชสมัยของสมเด็จพระนานรายณ์มหาราชจนถึงสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ผลงาน เช่น อุปรากรเพลงร้อง บทเพลงบรรเลง

ยุคบาโรก
คำว่าบาโรก มาจากภาษาโปรตุเกส หมายถึง ไข่มุกที่มีรูปร่างไม่สมประกอบ คำนี้เพิ่งนำมาใช้ในค.ศ.20 หมายถึง ยุคดนตรียุคหนึ่ง ระหว่างปี 1600-1750 เน้นการประดับประดาโน้ต เพลงมีโครงสร้างชัดเจนและเคร่งครัด ระบบการประสานเสียงมีแบบแผน เรียกว่า ระบบอิงกุญแจเสียง เป็นยุคที่ดนตรีหลากแนวได้รับการพัฒนาจนถึงจุดศุงสุด มีความก้าวหน้าในการแต่งบทเพงบรรเลงสำหรับเครื่องดนตตรีจนมีรูปแบบที่ได้มาตรฐานมากกว่ายุคที่ผ่านๆ มา ซึ่งเคยนิยมเพลงร้องมากกว่า นักแต่งเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้ คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค ซึ่งเสียชีวิตในปี 1750 จึงถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคบาโรกด้วย (ดู Polyphony)

Opera อุปรากร
ละครร้องชั้นสูงในระดับคลาสสิกของชาวตะวันตก ถือเป็นสุดยอดของงานศิลปะเพราะเป็นการรวมศิลปะแขนงต่างๆ ไว้ด้วยกันนอกจากเนื้อหาที่เข้มขนทางดนตรีและความสามารถในการขับร้อง ได้แก่ การแสดง การแต่งเวที การออกแบบเสื้อผ้า และเทคนิคพิเศษอื่นๆ ในการแสดงอุปรากรจะต้องมีวงดุริยางค์บรรเลงไปพร้อมกับนักร้องซึ่งแสดงอยู่บนเวทีโดยมีผู้อำนวยเพลงกำกับดนตรีและการแสดงไปพร้อมๆ กัน

Cantata บทคีตาดุริยางค์
ประเภทของบทเพลงสำหรับวงขับร้องประสานเสียงนักร้องดี่ยว และวงดุริยางค์ ประกอบด้วยหลายท่อนหลายอารมณ์​ เป็นประเภทของบทเพลงร้องเชมเบอร์ที่สำคัญที่สุดในยุคบาโรกได้รับความนิยมมากและยังได้รับความสนใจจากนักแต่งเพลงในยุคต่อๆ มาจนถึงชอสตาโกวิชในยุคศตวรรษที่ยี่สิบ

Neapolitan School สำนักดนตรีนิอาโพลิตัน
สำนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในช่วงปลายของค.ศ. 17 อยู่ที่กรุงเนเปิลส์ เป็นกลุ่มของนักแต่งอุปรากรชาวอิตาลีที่ประสบความสำเร็จทั้งสิ้น ก่อตั้งโดย อะเลซานโดร สการ์ลาตตี นักแต่งเพลงในสำนักดนตรีนี้ เช่น แปรโกเลซี อาอิซิเอลโล, ชิมาโรซา จอมเมลลี

Who is Scarlatti

ใน Grove ให้ความหมายดังนี้ครับ

Scarlatti.
Italian family of musicians. The name, in various spellings (Scarlata, Sgarlata etc.), was common in Sicily in the early 18th century and there were several Scarlatti families in Rome and north Italy. Little is known about the parents of (1) Alessandro Scarlatti

ตระกูลสกาแลตติเป็นตระกูลนักดนตรี ที่อาศัยในเมืองซิซิลี ในช่วงต้นค.ศ.ที่ 18 โดยมีคนที่เป็นที่รู้จักกัน คือ Alessandro Scarlatti นั่นเองครับ

สำหรับชีวิตของเขา ผมตัดสั้นๆ จากเวบนี้นะครับ http://w3.rz-berlin.mpg.de/cmp/scarlatti_a.html ซึ่งอ้างอิงจาก New Grove เช่นกัน

Alessandro Scarlatti, เขาเกิดที่ Palermo วันที่ 2 พ.ค. 1660 และเสียชีวิตที่ Naples วันที่ 22 ต.ค. 1725 เป็นบิดาของ Domenico Scarlatti เมื่ออายุ 12 เขาเดินทางไปยังโรม และเรียนกัน Carissimi หลังจากแต่งงานเมื่อปี 1678 ปีนั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็น maestro di cappella of San Giacomo degli Incurabili (ซึ่งปัจจุบัน คือ ‘in Augusta’) –ในที่นี้ Maestro คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี(ไวโอลิน) –ผู้แปล เขาได้เขียนเพลงไว้แล้วหนึ่งบท เป็นโอเปร่า (อุปรากร) ซึ่งยังไม่พบชื่อเพลง และอุปรากรเรื่องที่สอง Gli equivoci nel sembiante ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในปี 1679 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันฐานะของเขา ในแง่ของนักประพันธ์อุปรากรและเป็นที่ดึงดูดความสนใจของ พระราชินีคริสติน่า แห่งสวีเดน ซึ่งแต่งตั้งเขาเป็น maestro di cappella.

ฟัง Gli equivoci nel sembiante

ในตัว youtube เองมีข้อมูลมากเลยครับ มาดูประวัติเพลงนี้กัน

เพลงนี้ จาก The History of Alessandro Scarlatti’s
Gli equivoci nel sembiante
กล่าวว่า

อุปรากรขนาดเล็ก ใช้นักร้องสี่คน เริ่มแสดงที่โรมในช่วงคาร์นิวัลปี 1679 โดยพระสันตะปาปา Innocent XI มีความสนใจที่จะฟื้นความศักดิ์สิทธิ์กลับมายังกรุงโรม ท่านไม่ชอบให้ละครของฆราวาส (secular play) หรือ อุปรากร แต่ในช่วงงานเฉลิมฉลองดังกล่าว พระราชินีของสวีเดน ได้ทรงเสด็จมายังกรุงโรมและทอดพระเนตรเห็นอุปรการนั้น และทรงโปรดเป็นอันมาก และทอดพระเนตรซ้ำอีกอย่างน้อยถึงสองครั้ง..

ปี 1684 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น maestro di cappella ที่ vice-regal court of Naples ในขณะที่น้องชายของเขา Francesco เป็นไวโอลินหนึ่ง และมีเรื่องอื้อฉาว ว่าเขาทั้งสองติดสินบนเจ้าพนักงานด้วยการเสนอน้องสาวของ Melchiorra ให้ลักลอบเป็นชู้ ซึ่งภายหลังพนักงานทั้งสองถูกปลดออก ยี่สิบปีต่อมาก็มีอุปรากรอีกสองเรื่องคือ Il Pirro e Demetrio (1694) และ La caduta dei Decemviri (1697) ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ด้วยสงครามสเปน ทำให้อภิสิทธิ์ของตระกูล Scarlatti ไม่ค่อยปลอดภัยนัก ในปี 1702 เขาจึงจากครอบครัวไปที่เมือง Florence ซึ่งเขาหวังว่าจะมีงานสำหรับเขาเองและลูกชาย Domenico จากเจ้าชาย Ferdinando de’ Medici

ลองฟังเด็กๆ ร้อง Il Pirro e Demetrio (1694) กันครับ

เมื่อความหวังพังทลายลง สการ์ลาตตี ต้องจำใจยอมรับตำแหน่งต่ำๆ ในกรุงโรม โดยเป็น Assistant music director ที่ San Maria Maggiore โอกาสของสการ์ลาตตีมาถึงเมื่อสันตะปาปาห้ามเล่นอุปรากร เขาแต่งเพลง Oratorio (เพลงร้องเกี่ยวกับศาสนา เ้นการขับร้อง แต่ไม่มีการแสดงท่าทาง หรือจัดฉากเวที/เครื่องแต่งกาย เหมือนอย่างอุปรากร) แทน โดยแต่ง โอราโตริโอให้กับผู้อุปถัมภ์ของเขาที่ชื่อ Prince Ruspoli รวมทั้งพระคาร์ดินัล Ottoboni และ Pamphili ต่อมาในปี 1706 เขาได้รับเลือกเข้าไปใน Arcadian Academy เช่นเดียวกับ Pasquini และ Corelli เขาพยายามแต่งเพลงให้ชนะ Venice ซึ่งเป็นเหมือนป้อมหลักของเพลงอุปรากรอิตาเลียน ด้วย Mitridate Eupatore และ Il trionfo della libertà แต่ไม่รปะสบความสำเร็จและต้องปลับไปโรม ได้รับตำแหน่ง senior post ที่ San Maria Maggiore

Dolce cara allegrezza inaudita – MITRIDATE EUPATORE (Scarlatti) ร้องโดย Joan Sutherland แสดงเป็น Ladoice

อย่างไรก็ดี สการ์ลาตตีเองก็ไม่ค่อยชอบชีวิตในฐานะ นักดนตรีประจำโบสถ์ ปี 1708 เขารับคำเชิญจากผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ออสเตรีย คนใหม่ซึ่งให้เขากลับไปรับตำแหน่งเดิมที่เนเปิลส์ และท่านอยู่ที่นั่นตลอดชีวิตที่เหลือ แต่ยังคงติดต่อกับผู้อุปถัมภ์ชาวโรมัน และไปเยี่ยมบ่อยๆ ในปี 1715 เขาได้รับ patent of nobility จากพระสันตะปาปา Clement XI และได้เขียนอุปรากรเรื่องสุดท้าย “La Griselda” ที่โรมนี้เองในปี 1721 และเหมือนเขาจะอยู่ในลักษณะกึ่งๆ เกษียณ Quantz ไปเยี่มเขาในปี 1724 และ Hasse ก็ไปเป็นนักเรียนอยู่ระยะหนึ่ง

Scarlatti – A La Griselda – Act2 Scene 1 – Mi Rivedi


สการ์ลาตตี มีชื่อเสียงในฐานะผู้ก่อตั้งสำนักดนตรี Neapolitan school of 18th-century opera ซึ่งถือว่าเกินจริง เพราะตัวสการ์ลาตตีเองไม่ได้สอน และก็ไม่ได้เป็นผู้คิดค้นโครงสร้างทางดนตรีที่มาจากสำนักดนตรีแห่งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น da capo aria, Italian overture, accompanied recitative ซึ่งมีชื่อเขาอยู่นั้นก็มาจากรุ่นหลัง ซึ่งเพลงที่ดังของเขาในยุคนั้นคือ chamber cantatas แต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในปัจจุบัน

Credit

blog นี้ เป็นส่วนหนึ่ง ของ วิชา MUS602 MUSIC SINCE 1900 ดนตรีก่อน ค.ศ. 1900 ซึ่ง ครอบคลุม ตั้งแต่ดนตรีในยุคกลาง (Medieval), เรเนซอง (Renaissance), บาโรค (Baroque), คลาสสิก (Classic), โรแมนติก (Romantic) แต่ไม่รวมถึง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 (Twenty century music) นะครับ วิชานี้ สอนโดย อ.หง่าว บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์

Blog ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส
History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จัก Guido d’Arezzo กัน
Histroy 3: Zarlino, Gioseffo
History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” (G: Ein’ feste Burg ist unser Gott)
History 5: Chaconne, Passacaglia
History 6: Alessandro Scarlatti
History 7: ประวัติและผลงาน Richard Wagner
History 8: ประวัติและวรรณกรมดนตรีก่อนปี ค.ศ. 1900

มี 4 ความคิดเห็น สำหรับ “History 6: Alessandro Scarlatti”

  1. History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God | Plajazz

    […] History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จัก Guido d’Arezzo กัน Histroy 3: Zarlino, Gioseffo History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” (G: Ein’ feste Burg ist unser Gott) History 5: Chaconne, Passacaglia History 6: Alessandro Scarlatti […]

  2. History 7: ประวัติและผลงาน Richard Wagner | Plajazz

    […] Fortress Is Our God” (G: Ein’ feste Burg ist unser Gott) History 5: Chaconne, Passacaglia History 6: Alessandro Scarlatti History 7: ประวัติและผลงาน Richard […]

  3. Histroy 3: Zarlino, Gioseffo | Plajazz

    […] Fortress Is Our God” (G: Ein’ feste Burg ist unser Gott) History 5: Chaconne, Passacaglia History 6: Alessandro Scarlatti History 7: ประวัติและผลงาน Richard Wagner History 8: […]

  4. อุปรากร Les Huguenots & Grand Opera ของ Giacomo Meyerbeer | Plajazz

    […] Fortress Is Our God” (G: Ein’ feste Burg ist unser Gott) History 5: Chaconne, Passacaglia History 6: Alessandro Scarlatti History 7: ประวัติและผลงาน Richard Wagner History 8: […]

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar