hitmanjazz ฮิตแมนแจ๊ส ตอนที่ 1 Marketing Strategy

วันนี้ขอเล่าเรื่องราวความหลังสักนิดครับ หลังจากผมเรียนจบและไม่จบมาแล้ว คือตอนที่จบวิศวะ จุฬาฯ แล้วต่อโทที่จุฬาเช่นกัน ช่วงเรียนโทคือช่วงที่ผมมีโอกาสเรียนแจ๊สกับอ.นิค ลาเฟลอร์ ที่ โรงเรียนดนตรีมีฟ้า หลังจากที่ทำ thesis project ไม่จบ ก็เลยลาออกมาทำบริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ ได้สองปี (2546-2548) ก็มาเป็นนักกนตรีประจำที่ โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง รามอินทรา ได้อีกสักหกเดือน ก่อนจะมาติสต์แตก อยู่บ้านสอนพิเศษติวเตอร์เลขอีกหน่อย แล้วค่อยออกมาทำงานที่ บริษัท ฮิตแมน จำกัด แห่งนี้อีกหกเดือน ก่อนจะมาเรียนโทที่ วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต ครับ

hitmanjazz ฮิตแมน

hitmanjazz ฮิตแมน

ย้อนกลับไปช่วงเรียนโท คือยุครุ่งเรืองของเวบบอร์ดพันทิบ ตอนนี้ก็ยังรุ่งอยู่นะครับ แต่ช่วงนั้นมีห้องย่อยเกิดใหม่อีกห้องนึงครับ นั่นคือ ห้องแจ๊ส พันทิบ นั่นเอง http://jazzclub.pantipmember.com/ ในตอนนั้น วงการเพลงไทยเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิตอล คนเริ่มหา mp3 player เข้ามาฟังแทนระบบ CD โดยการ rip เพลงจากแผ่นแล้วฟังผ่านเครื่องเล่น mp3 ซึ่งเล็กเบาและเก็บเพลงได้มากกว่าแทน ผมในตอนนั้นก็ใช้ MD เป็นหลักครับ จนพังไปเลย เสียงดีกว่า mp3 เสียอีก แต่ว่ามันไม่ Practical ตรงการอัพเพลงเข้าเครื่อง และหัวอ่านมักเสียง่ายครับ …. ณ ตอนนั้น คนก็เริ่มคุยกันเรื่องเพลงอยู่แล้ว ก็มีการนัดเจอกัน ตามประสาคนเล่นเวบบอร์ดเล็กครับ เราเริ่มมี Community ด้านดนตรี จากห้องแจ๊สห้องเล็กๆ ก็เริ่มมีคนมากขึ้น และสนิทกันมากขึ้น ผ่านทาง Chalermthai Meeting ที่จัดที่ร้าน Good Evening ถนนนราธิวาส ครับ (ผมมีรูปด้วย แต่ต้องค้นดูก่อนครับ อยู่ลึกมากๆ…เจอจนได้)

 Meeting Chalermthai ครั้งที่ 1 ร้าน Good Evening ตอนนั้นเพิ่งจะมีห้องแจ๊สครับ ผอมสุดๆ ช่วงทำ P.A. System

Meeting Chalermthai ครั้งที่ 1 ร้าน Good Evening ตอนนั้นเพิ่งจะมีห้องแจ๊สครับ ผอมสุดๆ ช่วงทำ P.A. System

Pantip Chalermthai Meeting ครั้งที่ 2 จัดที่ Cafeteria ตรงอโศก ข้างตึกแกรมมี่

Pantip Chalermthai Meeting ครั้งที่ 2 จัดที่ Cafeteria ตรงอโศก ข้างตึกแกรมมี่

หลังจากนั้นก็มีการนัดรวมตัวไปตามงานคอนเสิร์ตต่างๆ เช่น ดนตรีในสวน (ลุม) และ คอนเสิร์ตแจ๊ส รวมถึง Bangkok Jazz Festival ครั้งที่ 1 ครับ…ตัวคนเองพัฒนาขึ้น ตัว event เองก็โตขึ้นครับ ขณะนั้น คนฟังแจ๊สส่วนใหญ่ฟังจาก CD นำเข้าที่ซื้อทางร้านป้าโด (โดเรมี สยาม ซึ่งเจ๊/ป้าโด เป็นพี่น้องกับร้านเจ๊จู ครับ ซึ่งทราบจากเพื่อนๆ พันทิบว่า เจ๊จู ร้าน JU ที่พันทิพย์ ไปสบายแล้วครับ R.I.P อ่าน นักสะสม CD ใจหาย!! เจ้จูปิดกิจการ และบล็อกคุณแบงก์ ต่อไปนี้จะไม่มีร้าน JU music อีกแล้ว)

ชาวแจ๊สพันทิบ นัดเจอกัน คอนเสิร์ต Bangkok Jazz Festival

ชาวแจ๊สพันทิบ นัดเจอกัน คอนเสิร์ต Bangkok Jazz Festival

BANGKOK JAZZ FESTIVAL 2002 ได้เล่นกับ CU Band ด้วยครับ

BANGKOK JAZZ FESTIVAL 2002 ได้เล่นกับ CU Band ด้วยครับ

ช่วงนั้น เรามีมีตติ้งกันบ่อยมากครับ จนผมได้พบกับพี่คนนึง คือ พี่ตี๋ อภิสนธ์ โชคพิทักษ์กุล ครับ อ่านบทความของพี่สน ได้ที่ ริ้วแจ๊สในรอยจำ ของ ‘อภิสนธิ์ โชคพิทักษ์กุล’

ก่อนที่จะถลำเข้าสู่โลกแห่งเสียงดนตรี อภิสนธิ์เคยเป็นทนายหนุ่มที่หมกมุ่นอยู่กับตำรากองโตมาก่อน แม้หน้าที่การงานจะดำเนินไปอย่างสวยงามตามครรลอง แต่ตัวตนที่ฝังอยู่ในส่วนลึกกลับส่งเสียงกระซิบให้เขาตระหนักถึงหนทางในการ สมานรวม’ความรัก’ เข้ากับ ‘ชีวิตการงาน’ อยู่ตลอดเวลา…
.
.
กฎเหล็กในการจำหน่ายซีดีในสมัยนั้น คือ ห้ามลูกค้าแกะพลาสติกหุ้มซีดี หรือนำมาเปิดฟังอย่างเด็ดขาด เมื่อกฎดังกล่าวมาผนวกกับราคาที่สูงระยับของซีดีแต่ละแผ่น ทำให้เปอร์เซ็นต์ของการซื้อหาไปครอบครองของคนทั่วไปลดน้อยลงไปโดยปริยาย . . . เมื่อการพบกันระหว่างอภิสนธิ์กับ ‘วิชาติ จิราธิยุต’ อดีตผู้บริหารค่าย EMI กลายเป็นจุดกำเนิดของค่ายเพลงที่นำงานแจ๊สระดับคุณภาพจากยุโรปเข้ามา
.
.
“Hitman ยังมีความเชื่ออยู่ประโยคหนึ่ง สั้นๆ เลยว่า ทุกคนยังต้องการฟังเพลงที่ดี นี่คือหัวใจสำคัญมากๆ ที่ Hitman เชื่อว่า ดนตรีที่ดียังมีความต้องการในตลาด เราเพียงแต่นำเสนอดนตรีที่ดีไปสู่ตลาดเท่านั้นเอง เดี๋ยวก็จะมีคนฟังมาซื้อ มาเสพเอง” ….
.
.
“แจ๊สเป็นอะไรที่ต้องได้ยิน เพราะฉะนั้นจึงเกิดปัญหาว่า ตราบใดที่วิทยุและสื่อต่างๆ ไม่ให้การสนับสนุนตรงนี้เท่าที่ควร ผู้ฟังก็จะไม่สามารถเข้าใจได้เหมือนกับที่ผมเข้าใจ ดนตรีแจ๊สจะไม่สามารถไปถึงผู้ฟังได้ ถ้าหากสื่อไม่ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ให้ดนตรีเหล่านี้เป็นที่นิยม แต่เราก็เข้าใจนะครับ เพราะว่าดนตรีประเภทนี้ไม่ใช่ดนตรี Massที่จะเปิดได้ตลอดเวลา แต่จุดนี้เองที่ทำให้แจ๊สถูกจำกัด ก็เลยกลายเป็นว่าแจ๊สจะต้องเป็นบอสซาโนว่า ต้องเป็นเคนนี่ จี ต้องเป็นกลุ่มที่ฟังง่ายๆ สมูธๆ ทั้งๆ ที่ความจริงแจ๊สกว้างกว่านั้นมาก…

จากคลังภาพเก่าครับ ผมกับเพื่อนๆ ในมีตติ้งครั้งนัั้น ร้าน Something Sweet

จากคลังภาพเก่าครับ ผมกับเพื่อนๆ ในมีตติ้งห้องแจ๊สครั้งที่หนึ่ง ร้าน Something Sweet


เสื้อลายเหลือง ซ้ายสุด คือ คุณวิชาติ (จ๋ิว) จิราธิยุต อดีต MD บ.EMI ปัจจุบัน MD Hitman

เสื้อลายเหลือง ซ้ายสุด คือ คุณวิชาติ (จ๋ิว) จิราธิยุต อดีต MD บ.EMI ปัจจุบัน MD Hitman

jazzaholic หรือ พี่ตี๋ อภิสนธิ์ ปัจจุบัน Product Manager บ.ฮิตแมน ครับ

jazzaholic หรือ พี่ตี๋ อภิสนธิ์ ปัจจุบัน Product Manager บ.ฮิตแมน ครับ

เอ๋เล็กปัจจุบันอยู่อเมริกา เอ๋ใหญ่เป็นโปรแกรมเมอร์และช่วยประชาสัมพันธ์งานแจ๊ส ส่วนผม..^^ ตอนผอมครับ

เอ๋เล็กปัจจุบันอยู่อเมริกา เอ๋ใหญ่เป็นโปรแกรมเมอร์และช่วยประชาสัมพันธ์งานแจ๊ส ส่วนผม..^^ ตอนผอมครับ

เครดิตรูปจากน้องนุ่น KoPoK แห่งบอร์ดพันทิบครับ ส่วนสุดท้ายผมมาเป็น New Media Marketing Officer ได้อย่างไรนั้น และกลยุทธการตลาด สำหรับตลาดเพลงที่ Niche มากๆ และมีดิจิตอลเข้ามากระทบ จะเป็นอย่างไรนั้น เดี๋ยวจะมาเล่าต่อให้ฟังครับ

กลยุทธของ Hitmanjazz

ธุรกิจของบริษัท มีสองส่วน คือ ส่วนการขายหน้าร้าน และส่วนของรายได้จากสปอนเซอร์ในการจัดคอนเสิร์ต ถ้าวิเคราะห์โดยใช้ SWOT อธิบายนะครับ จากที่พี่ตี๋ให้สัมภาษณ์ข้างต้นจะเห็นว่า ฮิตแมน นั้น มี

Strength ที่คุณ วิชาติ อดีตผู้บริหาร EMI นั้นเคยมีประสบการณ์ และมีคอนเน็กชันมากมาย ทั้งสามารถหาบุคลากร จากบริษัท EMI เดิม และจากท้องตลาดแรงงาน เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา มีร้านขายซีดีปิดตัวลง อย่าง Tower Record ทำให้ได้ทีม Sales Person ที่แข็งแรง และอีกคนนึงคือ ตัวพี่ตี๋เอง ซึ่งเรียกว่า ทำงานถวายหัวเลยทีเดียว ตัวศิลปินเองก็มีความสดใหม่ ส่วนใหญ่ จะอายุ 30-40 ปี ทำให้เวลาออกคอนเสิร์ต มีความเป็น Jazz สมัยใหม่และถูกใจคอเพลง ที่ฟังเพลงค่อนข้างลึกครับ (ลูกค้าของ ฮิตแมน คือ ช่วงที่เรียกว่า Young Adult คือ เพิ่งเรียนจบการศึกษาปริญญาตรี และเพิ่งเริ่มทำงาน มีรายได้และกำลังซื้อ และสนใจใน Lifestyle คนรุ่นใหม่)

ส่วน Weakness คือ การที่ตลาดลดตัวลงเนื่องจากดิจิตอลอย่าง mp3 เข้ามามีบทบาท จริงๆ เทปผี ซีดีเถื่อนนั้นไม่เท่าไหร่ แต่การที่สามารถหาโหลดเพลงได้ง่ายไม่ต้องเสียตังก์และนิสัยผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปทำให้รายได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ ลักษณะการทำงานแบบทั้งวันทั้งคืนของตัวพี่ตี๋เอง ก็ทำให้น้องๆ ในบริษัทเกิดอาการเครียด และออกไปหลายคนครับ หนึ่งในนั้น ก็คือผมเอง ครับ ด้วยลักษณะการทำงานสไตล์ One-man show และ Press but not release ทำให้การทำงานในบริษัทค่อนข้างเครียด และดูเหมือนไม่เห็นทางออกครับ (ตอนที่ผมทำ มีน้องลาออกไปหลายคน ตอนหลังเหลือผมคนเดียว ทำให้ขาดทีมงานช่วยคิดช่วยทำไปครับ)

Opportunity โอกาสนั้นเกิดจาก ณ เวลานี้ ร้านเทป และค่ายเพลง ใหญ่ๆ ปิดตัวไปมากมาย แต่ก็ยังมีคนที่มีความต้องการซื้อซีดีอยู่ และแน่นอน ทาง ฮิตแมน เองก็มีคนเก่งๆ ที่สามารถให้คำแนะนำลูกค้าได้ (อย่างที่บอกครับ พี่ตี๋ One-man show ลงไปขายเอง แย่งยอดกับทีมเซลหลายวันต่อสัปดาห์ ลงไปขายทุกครั้ง หลักพันถึงหมื่น ในขณะที่น้องๆ เซลล์บางคน ได้วันละ 2-3 แผ่น) ข้อดีคือ น้องๆ ก็ได้ศึกษางานไปด้วย และรู้จัก Product ซึ่งก็คือเพลงนั่นเองครับ แทนที่จะขาย Popsanova ซึ่งได้แก่เพลงชิวๆ สไตล์บอซซ่า ก็จะขายเพลงลักษณะอื่นได้ด้วยครับ ผ่านทางการให้ทดลองฟัง สามารถแกะฟังได้ทุกแผ่น ที่หน้าร้านจะมีซองพลาสติกสำรอง เวลาแกะเสร็จ สามารถ re-packaging ได้ครับ

Threat จุดเสี่ยง หรือ อุปสรรค คือ ตัว Product ซึ่งเป็น European Jazz แม้ว่าจะมีความแปลกใหม่ แต่ลูกค้าเก่าๆ ก็อาจเบื่อได้ และหลายๆ ท่านเองก็อยากฟังแจ๊สที่เป็นกระแสหลัก อย่างทาง US Jazz หรือเป็นศิลปินที่มีคนรู้จักอยู่แล้ว (Big name) อย่างไมล์ส เดวิส, ชาร์ลี พาร์คเกอร์ ความที่เป็น Niche ทำให้เวลาเสนองานกับลูกค้าองค์กรที่เป็นสปอนเซอร์ให้งานคอนเสิร์ตมักไม่ได้รับความสนใจ แต่ด้วยราคาที่ถุกเมื่อเปรียบเทียบกับศิลปินทางอเมริกา ทำให้ตรงนี้เป็นจุดได้เปรียบครับ

Positioning and Branding

concept คือ HIP Music ครับ เพราะฉะนั้น จุดขายก็จะอยู่ตามห้าง แรกเริ่มเดิมที ก็ทำการตลาดโดยมีการขายลดราคาบนสถานีรถไฟฟ้า แต่ก็ทำให้เกิดปัญหา ราคาไม่คงที่ บางคนซื้อแผ่นในราคา 350 บาท ในขณะที่อีกวันไปซื้ออาจได้ราคา 250 บาท ทำให้เสียลูกค้าไปเยอะ ตอนหลัง เริ่มอิ่มตัวกับร้านบนสถานีสนามกีฬาฯ ก็ไปจับกับทางห้าง เช่น Villa, Siam paragon โดยเลือกสาขาที่เหมาะสม และเพื่อลดรายจ่ายด้านค่าเช่า ก็จะไป Co กับห้าง โดยแบ่งเปอร์เซ็นต์ไป ทำให้ประหยัดในส่วนของค่าเช่าไปครับ

แนวทางในการดีไซน์ก็จะให้ดูสมัยใหม่เป็นหลัก ลองดูรูป design บางส่วนครับ

ร้านตรงสนามกีฬาแห่งชาติ ปัจจุบันปิดไปครับ เพราะค่าเช่าแพง และร้อนมาก

ร้านตรงสนามกีฬาแห่งชาติ ปัจจุบันปิดไปครับ เพราะค่าเช่าแพง และร้อนมาก

ร้านบนชั้น 3 Siam Paragon โซน Be-Trend

ร้านบนชั้น 3 Siam Paragon โซน Be-Trend

BOOTH DESIGN

Product

นอกจากนี้ เรื่องของรูปลักษณ์ตัวสินค้า ก็จะลงทุนทำ OBI แบบ CD นำเข้าจากญี่ปุ่น แม้ว่าจะผลิตในไทย แต่พอติด OBI เข้าไปก็จะทำให้สินค้าดูดีมีราคา เมื่อเทียบกับสินค้าที่อื่น ตรงนี้เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ทำให้ ฮิตแมน มีภาษีดีกว่าครับ

ในแต่ละบูธ ก็จะมีข้อมูลผลิตภัณฑ์สำหรับพนักงานขายด้วย เช่น บอก Track ยอดนิยม ตำแหน่งเพลงที่วินาทีใด เป็น Climax ของเพลงนั้นๆ น่าเสียดายว่า เดิม ผมเคยอัพเดทใส่เข้าไปในเวบ แต่ตอนนี้เวบของบริษัทปิดปรับปรุงอยู่ครับ

OBI เคล็ดลับที่ทำให้สินค้า Differentiate กว่าตัวอื่น

OBI เคล็ดลับที่ทำให้สินค้า Differentiate กว่าตัวอื่น

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ณ จุดขาย ช่วยให้ข้อมูลมากขึ้น

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ณ จุดขาย ช่วยให้ข้อมูลมากขึ้น

นโยบายการตลาด

แผนการตลาด บางส่วนจะใช้การ Co-marketing ในด้านเวบ จะไปจับกับทางพันธมิตร ทั้งแลกลิงก์ และทำจดหมายข่าว เช่น เวบ http://www.guitarthai.com/ หรือ http://www.coolvoice.com/ ในส่วนของร้านค้าก็ขายเพลงที่เปิดในร้านให้กับร้านกาแฟ 94 Coffee และสามารถซื้อแผ่นได้ที่ร้านกาแฟเลย

ด้านคอนเสิร์ต ก็ได้แนวร่วมอย่าง สมุยแจ๊ส, สายการบินบางกอกแอร์เวย์ ซึ่งเป็น Boutique Airline, Boutique hotel ต่างๆ ในกรุงเทพฯ และสมุย และแนวร่วมสำคัญ อย่าง โรงละครอักษรา ก็ช่วยให้สามารถนำพาธุรกิจของฮิตแมนแจ๊สไปได้ครับ

ยอดขายอีกส่วนหนึ่ง คือ ค่าดาวน์โหลดริงโทน เนื่องจากมีความซับซ้อนในการดำเนินการด้านระบบ จึงจ้างบริษัท S-one ซึ่งเป็นโปรด้านนี้ และมีช่องทางอย่าง http://www.n-content.com/ โดยทางฮิตแมน คัดเลือกช่วงเพลงที่ควรตัดไปให้ ตอนที่ผมอยู่ เสียง IVR ก็เป็นเสียงผมเองครับ อิอิ ทำเองตัดเองเลย นอกจากนี้ยัง Co กับทางผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ทั้ง AIS, DTAC, True ครับ (ส่วนของ Hutch ค่อนข้างยุ่งยากครับ) ในแต่ละค่ายก็มีมาตรฐานริงโทนต่างกัน เลยทำให้ค่อนข้างวุ่นวาย ตรงนี้ ทางบริษัท S-One ช่วยได้มากครับ แต่ก็ยังต้องติดต่อกับทางค่ายมือถืออยู่ดี เพื่อให้เรารู้สถานะของเราตลอดครับ เนื่องจากค่าริงโทนเป็นน้ำซึมบ่อทราย คนที่ตั้งเสียงรอสาย Calling Melody หรือที่เรียกว่า RBT (Ring Back Tone) มักไม่ค่อยเปลี่ยนเสียงทำให้ได้รายได้เข้ามาเรื่อยๆ ส่วน RT (Ringtone นะ ไม่ใช่ Retweet) ก็ต้องคอยเปลี่ยนตัวใหม่ๆ เข้ามาเสมอ ตรงนี้ ในส่วนของ S-One ยังช่วยรวบรวมเบอร์ให้ลูกค้าไม่ต้องจำรหัสยาวๆ แต่ใช้บริการ *4922xx โทรเข้ามาได้ครับ

มี 6 ความคิดเห็น สำหรับ “hitmanjazz ฮิตแมนแจ๊ส ตอนที่ 1 Marketing Strategy”

  1. ipattt

    ปูเสื่อรอมหากาพย์ครับ 🙂

  2. yordja

    ขอบคุณครับเพื่อเพิ่มรอยหยักและรอติดตามตอนต่อไปครับ 😉

  3. Paz

    อ่านเพลินค่ะ เคยสมัครงานกับ Hitman Jazz ไปด้วยความรู้สึกเดียวกันค่ะว่าอยากรวมงานกับสิ่งที่เราชอบไว้ด้วยกัน เพราะยังไงเราต้องกระตือรือร้นอยากเผยแพร่สิ่งที่เราชอบอยู่แล้ว มันเป็นสัญชาตญาณ แต่ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีฟี้ดแบ็คใดๆกลับมา (ฮา)

    ตอนแรกที่ Hitman Jazz เปิดใหม่ๆ คิดในใจว่า อืมมม ช่างกล้าเนาะ แต่ก็เข้าใจวิสัยทัศน์และเจตนาของทางบริษัทได้โดยง่ายค่ะ และก็แอบชื่นชมมาตลอด ตอนที่ไปดู Workshop Malene Mortensen ที่ฮิลตัน พี่ๆที่ Hitman Jazz ก็น่ารักเป็นกันเองดีมากค่ะ สู้ๆต่อไปนะคะ เดี๋ยวจะอุดหนุนเรื่อยๆค่ะ

  4. Paz

    แล้วก็เห็นด้วยเรื่อง OBI ค่ะ ช่วยให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้นอีกระดับนึง ไม่ต้องกลับไปหาข้อมูลอีก

  5. Jazz and Music Social Network | Plajazz

    […] Online และ Offline นะครับ สำหรับ Online ลองอ่านใน hitmanjazz ฮิตแมนแจ๊ส ตอนที่ 1 Marketing Strategy ผมมาเพิ่มรูปให้ดูกันนะครับ #gallery-1 { […]

  6. Kwanlek

    พี่ปลาทองของสองขวัญนี่เอง

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar