มาเรีย ชไนเดอร์: ซ้อมดนตรี คอนเสิร์ต

Date: 14 September 2010 Category: Coffee Place ดนตรีร้านกาแฟ

มาเรีย ชไนเดอร์ จะมาอังคารนี้ ที่ม.รังสิต สำหรับทีมนักดนตรี ซ้อม กันทุกวันสำหรับ คอนเสิร์ต มาเรีย ชไนเดอร์ ในครั้งนี้ครับ ต่อจากตอนที่แล้ว RSU Jazz Orchestra: Maria Schneider มาดูทีม นักดนตรี และคลิป ซ้อมดนตรี กัน

คอนเสิร์ต มาเรีย ชไนเดอร์ ช่วงนี้ซ้อมทุกวัน

คอนเสิร์ต มาเรีย ชไนเดอร์ ช่วงนี้ซ้อมทุกวัน

จาก Blog ที่แล้ว ก่อนที่ Conductor จะมา ทางทีมนักดนตรีก็ต้องมีการซ้อมกันครับ สำหรับวงใหญ่อย่าง Big Band หรือ Jazz Orchestra นี้ก็จะมีเครื่องแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้ว ทีมนักดนตรี ก็จะมี 17 คน ประมาณนี้

ก) กลุ่มริทึ่ม เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ เปียโน, เบส, กลอง, กีตาร์ และอาจมีเพอร์คัสชั่น(เครื่องเคาะ)
ข) กลุ่มแซกโซโฟน ได้แก่ อัลโตแซกโซโฟน 2 เลา, เทเนอร์แซกโซโฟน 2 เลา และบาริโทนแซกโซโฟน นอกจากนี้ใน 5 คนนี้อาจเล่นเครื่องดนตรีอื่นด้วย ที่เรียกว่า Doubling เช่น อาจเล่น ฟลุ๊ต พิคโกโร่ คลาริเน็ต เบสคลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ฯลฯ​ อย่างเพื่อนผม คุณขนุน เล่นได้ทุกเครื่องที่กล่าวมา แถมด้วยฮาร์โมนิก้า อีกต่างหาก ^_^
ค) กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง ได้แก่ ทรัมเป็ต 4 คัน, ทรอมโบน 3 คัน และเบสทรอมโบน สำหรับทรัมเป็ตอาจ Doubling ฟลูเกลฮอร์น ได้ และทั้งทรัมเป็ตและทรอมโบน สามารถเปลี่ยนสีสันเสียง หรือ Tone Color ได้ด้วยมิวท์ (Mute) อีกหลายๆ แบบ เช่น Straight, Harmon, Cup, Bucket, Velvet, Wah-Wah, Plunger อีกด้วย

นักร้อง ที่สวยที่สุดในคอนเสิร์ต มาเรีย (เพราะมีคนเดียว)

นักร้อง ที่สวยที่สุดในคอนเสิร์ต มาเรีย (เพราะมีคนเดียว)

รายชื่อ นักดนตรี คอนเสิร์ต มาเรีย ชไนเดอร์

ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ Dr.Denny Euprasert :Conductor

น.ส. บัณฑิตา ประชามอญ Miss.Buntita Prachamorn :Singer

กิตติคุณ เทศขำ Kittikun Tedkhun :Alto 1
พรนรินทร์ สุดสงวน Pornnarin Sutsa-nguan :Alto 2
โฮเซ่ เปเรซ (นักเรียนแลกเปลี่ยน) Mr. Jose Perez (exchange student from Spain/Netherlands):Tenor 1
วสันต์ สุคนธมัต Mr. Wasant Sukontamat :Tenor 2
ธีรัช เลาห์วีระพานิช Mr. Teerus Laohverapanich :Baritone
สุรเดช สารอินทร์ Mr. Suradet Sam-in :Bass Clarinet

เอกนรินทร์ มุกดาสนิท Mr. Eknarin Mukdasanit :Trumpet 1
เกรียงไกร สันติพจนา Mr. Kriangkrai Santipojana :Trumpet 2
อนุวัฒน์ รอดประเสริฐ Mr. Anuwat Rodprasert :Trumpet 3
สธน อินทอง Mr. Saton Intong :Trumpet 4

รุ่งธรรม ธรรมการ Mr. Rungtham Thammakarn :Trombone 1
อดิวัชร์​ พนาพงศ์ไพศาล Mr. Adiwach Panapongpaisarn :Trombone 2
อามร์ สุวรรณนคร Mr. Arm Suwannakorn :Trombone 3
ฐณวัฒน์ เอื้อพูนผล Mr. Tanawat Auepoolpol :Bass Trombone

สิรภพ สิทธิ์สน Mr. Siraphop Sitson : Double Bass
อานุภาพ คำมา Mr. Arnupap Kammar : Drum
ณัฐวุฒิ ลี้กุล Mr. Nathawut Leekool : Pandero
โสภณ สุวรรณกิจ Mr. Sopon Suwannakit : Piano
ช้างต้น กุญชร ณ อยุธยา Mr. Changton Kunjara : Guitar

เสร็จซ้อม คอนเสิร์ต มาเรีย ชไนเดอร์ ก็ไปทานข้าวกัน

เสร็จซ้อม คอนเสิร์ต มาเรีย ชไนเดอร์ ก็ไปทานข้าวกัน

สำหรับการวางแนวเสียง หรือ เรียบเรียงเสียงประสาน ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในการทำเพลงให้กับ Jazz Orchestra จากวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน โดย ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ อาจแบ่งคร่าวๆ ดังนี้ คือ ในกลุ่มเครื่องทรัมเป็ตที่มีช่วงเสียงไม่กว้างมาก ก็จะวางเสียงประสานแบบปิด (Closed Vocing) ในขณะที่ทรอมโบนแม้จะช่วงเสียงเท่าทรัมเป็ต แต่มีเบสทรอมโบนที่ต่ำกว่า และเสียงสูงของทรอมโบนก็ไม่บาดหูเท่า ทำให้การวางเสียงประสานแบบเปิด (Open Voicing) สามารถทำให้ได้เสียงสวยงาม อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ ทั้งทรัมเป็ต และทรอมโบน อาจวางเสียงแบบปิด หรือเปิดก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของ Composer ครับ นอกจากนี้ยังมีอีก 2-3 เทคนิค คือ การวางแนวเสียงแบบ ดรอป 2 และ ดรอป 2&4 ที่จะให้เสียงหลัก หรือ Melody และเสียงเบส ฟังได้ง่ายขึ้นและชัดเจนนขึ้น การวางแนวเสียงประสานคู่สี่เรียงซ้อน (Quartal Voicing) ที่แต่ละแนวเสียงจะห่างกันเป็นระยะคู่ 4 โดยประมาณ หรือ การวางเนวเสียงประสานแบบระยะกว้าง Spread Voicingที่โน้ตเบสเป็น Root และอยู่ห่างจากโน้ตบนสุดมากกว่า 2 ช่วงคู่แปด (Octave) ที่ให้เสียงแบบ Background แต่มีข้อเสียคือ มีแนวโน้มทำให้เพลงช้าลงได้

สำหรับแซกโซโฟน ซึ่งมี 5 ตัว เกินกว่าตัวที่เป็นคอร์ด ก็ใช้เทคนิคต่างๆ ได้ เช่น การวางแนวเสียง 5 แนวดับเบิ้ลลีด (Five-Part Double-Lead Voicing) โดยโน้ตของอัลโต 1 หรือโน้ตบนสุด ปรับลงมาอีก 1 ช่วงคู่แปดให้บาริโทน เป็นคนเล่น โดยอาจเรียกการวางแนวเสียงแบบนี้ว่า Super Sax นอกจากนี้ยังมี Independent Five-Part Voicing, Spread Voicing, Upper Structure Triad อีกด้วย

คลิปซ้อม ดนตรี คอนเสิร์ต มาเรีย ชไนเดอร์

อย่าลืมนะครับ นักดนตรีไม่ควรพลาด วันอังคารหน้า 21 – 24 กับ Workshop จาก มาเรีย ชไนเดอร์ และ คอนเสิร์ต ในวันที่ 25 ก.ย. 2553 นี้ครับ

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar