ตามข่าว วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล ในวันที่ไม่มีสุกรี เจริญสุข

หลักสูตรดนตรี ดุริยางคศาสตร์บัณฑิต มหิดล ไม่ผ่านรับรอง สกอ. ทางอาจารย์ รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข แสดงความรับผิดชอบลาออก ดราม่าจึงตามมาว่าไม่ได้มาตรฐานได้อย่างไร?

'รศ.ดร. สุกรี เจริญสุข' คณบดีดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล

'รศ.ดร. สุกรี เจริญสุข' คณบดีดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล

6 ปีกับความพยายามเปลี่ยนชื่อปริญญาจาก ศิลปศาสตร์บัณฑิต เป็น ดุริยางคศาสตร์บัณฑิต ทำให้ไม่ผ่านรับรองหลักสูตรจาก สกอ. ทางรศ.ดร.สุกรี เจริญสุข แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก ดราม่าจึงตามมาว่า หลักสูตรดนตรี ม.มหิดล ที่ได้มาตรฐานดีสุดแห่งหนึ่งในอาเซียน กลับไม่ได้มาตรฐานได้อย่างไร งานนี้ต้องฟังเหตุผลจากทั้งสองฝ่ายและควรจะจบลงที่การเจรจาเพื่อประโยชน์กับตัวนักเรียนนักศึกษาครับ

ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์

คนไทยส่วนใหญ่ชอบดราม่าครับ แปลง่ายๆ ว่า “รู้นะ ชอบดูคนตีกัน” (จากเวบดราม่า) ในหน้าหนังสือพิมพ์ก็จะปรากฎข่าวต่างๆ ในแนวนี้มากมาย แล้วทำไมเราต้องเสพข่าวดราม่าล่ะ?? จ่าพิชิตเคยบอกครับ เพราะเราต้องการหาความจริงและใช้วิจารณญาณในการอ่านข่าว และไม่ได้เชื่อ แต่ฟังเพื่อปรับปรุงครับ และต้องฟังทั้งสองด้านด้วย ว่าแล้วก็เลยมาดูกันครับว่าจะตามข่าวที่ไหน

จากข่าวคมชัดลึก ‘สุกรี’ไขก๊อกดุริยางคศิลป์เซ่นสกอ. ฟังสัมภาษณ์กันดูครับ

คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล กล่าวอีกว่า หลักสูตรดังกล่าวได้ยื่นไปที่ สกอ.มาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน รวม 6 ปี มีการตรวจสอบเอกสารไปมาระหว่างมหาวิทยาลัย และ สกอ. ซึ่งเป็นที่น่ากังขาว่าในเมื่อมหาวิทยาลัยแยกออกมาเป็นอิสระ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสามารถออกแบบหลักสูตรเองได้ทำไมจึงต้องรอให้ สกอ.เป็นผู้อนุมัติหลักสูตรการเรียนการสอน การที่ลาออกจากตำแหน่งครั้งนี้เพื่อที่จะกระตุ้นสังคมให้ช่วยหันกลับมามองใน เรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้รายการในช่อง TPBS ยังเสนอข่าวในเชิงลึกเข้าไปถึงวิทยาลัยเลยทีเดียว มีหลายตอน ลองหาดูครับ แต่ตอนที่ผมจะนำมาลงเนี่ย เป็นบทสัมภาษณ์อ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ ตัดสลับกับ รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข เลยแอบไปถามอ.เด่นก็ทราบว่า นักข่าวสัมภาษณ์เฉยๆ แต่ไม่ได้บอกว่าจะไปตัดสลับกัน เรียกว่าถ้าวันนั้นอ.เด่น พลาดไปจะเป็นการเสี้ยมทันที จริงๆ สถาบันการศึกษาด้านดนตรี ในเมืองไทยก็ไม่ได้เยอะและรู้จักกันหมดครับ Conflict ต่างๆ ก็มีทุกที่ ก็ไม่น่าที่สื่อจะทำให้เป็นดราม่ากัน ฟังโดยใช้วิจารณญาณครับ

Social Media กับการศึกษา

บทบาทของโซเชียลมีเดีย มีผลมากทีเดียวครับกับคราวนี้ ถ้าใครจำได้ ช่วงก่อนจะมีดราม่าดนตรีของคอนดักเตอร์ชื่อดังในเมืองไทย ซึ่งก็มาจากเฟซบุ๊คส์ของคอนดักเตอร์ไทยอีกท่านนึงนั่นเอง สำหรับคราวนี้ เรียกได้ว่าเฟซบุ๊คส์ซึ่งเป็น โซเชียลมีเดีย ที่มีคนไทยนิยมใช้มากที่สุดมีบทบาทมากทีเดียว เริ่มจาก

บทความ: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ในวันที่ไม่มีสุกรี เจริญสุข

ติดตามได้ที่ Note: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ในวันที่ไม่มีสุกรี เจริญสุข ครับ เป็นบทความที่รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในวิทยาลัย และเป็นบทความที่เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงในหน้าหนังสือพิมพ์ ถึงตอนนี้ facebook เองเรียกได้ว่านำหน้าสื่ออื่นๆ ไปแล้วครับ แต่ก็นั่นแหละ การอ่านข่าวควรใช้วิจารณญาณของแต่ละคนครับ

“ ปริญญานี่คู่กับความรู้ความสามารถ ครูมาอยู่ที่นี่เพื่อสร้างคนใหม่ ตั้งแต่สามขวบขึ้นมา จนวันนี้เรามีเมล็ดพันธุ์ใหม่ ครูคิดว่าต้องสร้างงานใหม่โดยคนที่มีความรู้ความสามารถจะต้องเป็นคนดี คนเก่งของไทยมักจะโกง คนดีของไทยมักจะซื่อบื้อ แต่เราจะสร้างคนดนตรีให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ฉะนั้นเราจะมัวแต่ร้องไห้ไม่ได้หรอก” … รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข

นอกจากนี้ในหน้า Pages ของวิทยาลัยยังมีให้ร่วมลงนามคัดค้าน และรูปกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยครับ ของ Search เข้าไปใน College of Music, Mahidol University ครับ

ภาพบรรยากาศในวิทยาลัย จากเฟซบุ๊คส์ College of Music, Mahidol University

ภาพบรรยากาศในวิทยาลัย จากเฟซบุ๊คส์ College of Music, Mahidol University

บทความโดยอาจารย์ในวิทยาลัย

และยังมีบทความต่างๆ ซึ่งเขียนโดยอาจารย์ในวิทยาลัยด้วย ซึ่งเป็นความเห็นหรืออาจเรียกว่าจดหมายเปิดผนึกก็ได้ครับ อย่างเช่น เฟซบุ๊คของ อ. Joseph Bowman

…. I am just one man, and one limited example, but I believe my story, experiences, and success here dispute this argument to some degree. I am surrounded by quality faculty, who are likewise producing successful students. I know that the Mahidol university senate has approved our curriculum, ….. That quality is worth fighting for – and I hope that you, our representatives and “voice” at the national level, can recognize this quality, and help us fight the good fight.

ความคิดเห็นจากอ.ท่านอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีความเห็นในวงนอก ซึ่งก็เป็นอาจารย์ดนตรีเช่นกัน อยากทราบว่าถึงเหตุผลเพื่อนำไปปรับปรุงหลักสูตรเช่นกัน เพราะปัญหาเรื่องการรับรองนี้เคยเกิดกับม.อัสสัมชัญ (ABAC) มาแล้ว และเท่าที่ทราบก็จบลงที่คืนค่าหน่วยกิตนิสิตและให้กลับมาเรียนใหม่หรือย้ายไปเรียนที่อื่นครับ ส่วนหลักสูตรก็ปรับปรุงใหม่ครับ (นึกถึงที่เคยฟังผู้ใหญ่ท่านนึงพูดไว้…บ้านเราตีข่าวขึ้นมา แต่พอหาสาเหตุหรือถามว่าทำไม เมื่อเวลาผ่านไปก็เงียบหายเหมือนข่าวเฮลิคอปเตอร์ -_-“)

ความเห็นบนเฟซบุ๊คส์

ความเห็นบนเฟซบุ๊คส์

.. สื่อก็เอาความเห็นของ อ สุกรีมาเผย แต่ทำไมไม่ไปถาม สกอ ถึงเหตุผลจริงๆ… ถ้ามันไม่เป็นตามนั้นจริง จะได้ช่วยประท้วงด้วย หรือถ้าเป็นจริงตามนั้น ก็ควรปรับปรุงตาม .. การไม่ให้ผ่านครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้ผ่านตลอดไป ..จะบอกว่า สกอ ไม่มีผู้รู้ดนตรีคงไม่ได้ อ ณัชชา อ ปัญญา เป็นผู้มีความรู้ด้านดนตรีสูง ..อาจารย์อาจไม่รู้ลึกถึงด้านธุรกิจดนตรี และเทคโนโลยีดนตรี แต่เรื่องการวางหลักสูตร ผมว่าท่านสองคน มีมุมมองแบบนักวิชาการการศึกษาด้านดนตรีไม่แพ้ใครในประเทศนี้แน่นอน .. อาจารย์เองก็คุมคุณภาพสองหลักสูตรนี้ทั้งของ ม รังสิต กับ ม ศิลปากรด้วย… บางครั้งท่านเองก็คอยท้วงติงของมีประโยชน์ที่เรามองข้ามให้เราไปปรับปรุงด้วย… มีสื่อไหนไหมครับที่ไปถาม สกอ ในฐานะที่ผมดูแลหลักสูตร ป ตรี ด้วย อยากทราบเหตุผลจริงๆ

คำถามที่รอคำตอบ

ในวงการการศึกษาดนตรี คงต้องติดตามกันต่อไปครับว่าจะเป็นอย่างไร แต่ทั้งนี้การฟังข้อมูลต้องฟังรอบด้าน และในแนวทางสร้างสรรค์ครับ ไม่ใช่เพื่อตีหรือทะเลาะกัน แต่เพื่อประโยชน์จะตกอยู่กับเด็ก ซึ่งมีความหวังที่จะเข้ามาเรียนรู้วิชา และจบออกมามีงานดีๆ ทำเพื่อสร้างสรรค์สังคมครับ

มี 4 ความคิดเห็น สำหรับ “ตามข่าว วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล ในวันที่ไม่มีสุกรี เจริญสุข”

  1. ม.ล. ธีรธวัช ศรีธวัช

    ไม่เข้าใจ สกอ เหมือนกัน คำว่าผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ทราบว่าเอาอะไรมาวัด ไม่ได้เข้าข้าง อาจารย์สุกรีนะครับ แต่การที่ให้คนบางกลุ่มหรือบางคนเป็นผู้วัดเกณฑ์อาจจะมี biasก็ได้ ตัวบ่งชี้ การวัดว่ามีคุณภาพหรือไม่ เอาอะไรวัด สกอ หาผู้ทรงคุณวุฒิอย่างไรก็ไม่ทราบเพราะ เพียงการ revise หลักสูตรก็เช่นเดียวกัน มีหนังสือเวียนมาว่า หลักสูตรนานาชาติ เขียนหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ ให้เขียนเป็นภาษาไทยกำกับเพราะอะไรครับ ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านภาษาอังกฤษไม่ออกหรือครับ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่สมควรให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เขียนกลับไปกลับมา พวกเราเป็นอาจารย์สอนหนังสือเหนื่อยนะครับเคยคิดใหมครับ สกอชอบประชุมเปลี่ยนกฏเกณฑ์ แต่คนที่ทำงานจริงคือครูทุกคนซึ่งมีหน้าที่สอนให้คนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ นักเรียนนักศึกษาเป็นคน มีชีวิต ไม่ได้อยู่เป็นเพียงตัวอักษรอยู่บนกระดาษ ครูต้องทำทุกอย่างแบบสากกะเบือยังเรือรบ ครูก็เป็นคนสร้างคนให้เป็นคนดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ครูเหนื่อยเป็นนะครับ ผมเข้าใจอาจารย์สุกรีครับไม่ใช้เคยพบ หรือเข้าข้างใครหรือเพราะทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดลเหมือนอาจารย์ และเรื่อง Talent กับวิชาการ เอาอะไรมาวัดครับ ถึงใครจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิผมไม่สนหรอกครับ แต่ใช้ความคิดง่ายๆว่าอย่าเอากล้วยมาเปรียบเทียบกับส้มครับ มันคนละชนิดกัน นี่หละครับ สกอ ทำงานแบบนี้ไม่ทราบว่าจะทำให้ครูอยากที่จะทำงานหรือไม่ครับ สลด

  2. ม.ล. ธีรธวัช ศรีธวัช

    ถ้า สกอ แน่จริงก็เชิญมาสอนให้ทุกหลักสูตรเองใหมครับ เซลล์สมองคงจะฉลาดกว่าพวกเราที่วิ่งวุ่นกับนักเรียนที่ไม่ฟัง บอกแล้วให้ทำการบ้านส่งก็แล้ว เรียกมาดุก็แล้ว ลูกตัวเองก็ไม่ใช่ แต่จะทำงัย ในเมื่อเป็นหน้าที่ก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ครูจะบ่นกับใคร ก็อดทน เด็กมีปัญหาทำงัย สกอมาดูหรือไม่ ลูกศิษย์ไม่สบายใจใครรับฟังและพยายามแก้ปัญหาให้เด็กครับ พวกเราที่เป็นครู หรือ สกอ ไม่อยู่ในหลักสูตรแต่ก็ต้องทำ แล้วงัย สกอ เคยดูตัวเองและเห็นใจพวกครูซิครับ อย่ามาตัดสินเรื่องไร้สาระ ถ้าไม่ชอบแล้วไปว่าหลักสูตรคนอื่นก็กรุณามาแสดงความเก่งของผู้ทรงคุณวุฒิเชิญมาสอนเองให้หมด ถ่ายเอกสาร ตรวจข้อสอบ อ่าน report อ่าน Thesis ทำวิจัยเองให้หมดซิครับ+++ อยากดูเหมือนกันว่าทรงคุณวุฒิขนาดไหน จะได้ยกมือไหว้โดยไม่ต้องติดใจ แต่ถ้่าคุณทำไม่ได้ก็ไม่ต้องออกความเห็น จะขอบคุณเป็นอย่างสูง

  3. ม.ล. ธีรธวัช ศรีธวัช

    ครูเป็นคนนะครับ ไม่ใช่ผู้วิเศษ เสกไม่ได้ แต่ก็ยินดีและชื่นชมเมื่อเห็นลูกศิษย์ประสบความสำเร็จ ครูมีความรู้สึกนะครับ โกรธเป็น เสียใจเป็น ยินดีเป็น หิวเป็น อิ่มเป็น เป็นคนเหมือนกันไม่ใช่สิ่งของ ไม่ใช่เทพ ไม่ใช้คนรับใช้ สกอเชิญมาปฎิบัติให้ดูหน่อยซิครับ

  4. admin

    ผมก็ตามข่าวอยู่ครับ สองฝ่ายเหมือนคุยกันคนละเรื่องครับ

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar