Clifford Brown: Joy Spring Transcription มาแกะเพลงกัน

หลายๆ ครั้งที่เราฟังนักดนตรีเทพๆ มีลูกเด็ดๆ อยากเอามาโซโล เขาทำโดยการแกะเพลงไลน์โซโล หรือ Transcription เรามาแกะเพลง Clifford Brown: Joy Spring กันครับ ตอนที่สามของ Clifford Brown: คลิฟฟอร์ด บราวน์ อัจฉริยะผู้จากไปก่อนวัย

Joy Spring - Clifford Brown

Joy Spring - Clifford Brown

“Joy Spring” Transcription

บทเพลงเรียบเรียง (Transcription) เพลง Joy Spring ของ คลิฟฟอร์ด บราวน์

Joy Spring ปรากฏอยู่ในแทร็กที่ 4 ของอัลบั้ม Jordu: EmArcy EP 1-6075, Trip TLP 5540 (1954) การด้นสดเริ่มจาก ฮาร์โรลด์ แลนด์ (Harold Land) (1928-2001) นักเทเนอร์แซกโซโฟนด้นสดก่อน 32 ห้อง (1 คอรัส) แล้วจึงเป็น คลิฟฟอร์ด บราวน์ ด้นสดด้วยทรัมเป็ตแจ๊ส 64 ห้อง (2 คอรัส) ตามมาด้วยด้นสดเปียนโน โดย ริชชี่ พาวเวล 32 ห้อง (1 คอรัส) และทำการด้นสดสลับกับกลอง (Trade Four) ที่เล่นโดย แมกซ์​โรช ก่อนจะเป็นกลองด้นสด 32 ห้อง (1 คอรัส) และย้อนกลับไปเล่นช่วงนำอีก 8 ห้อง และตามด้วยทำนองหลัก​ซึ่งถือเป็นลักษณะการเล่นแบบแซนด์วิช (Sandwich Approach) ที่นิยมในสมัยนั้น

Joy Spring - Transcription 1

Joy Spring - Transcription 1


Joy Spring - Transcription 2

Joy Spring - Transcription 2

Improvisation Analysis:Articulation

วิเคราะห์แนวอิมโพรไวส์ของ คลิฟฟอร์ด บราวน์ ในด้านการควบคุมลักษณะเสียง (Articulation)

นั่งแกะไลน์โซโล แล้วก็ลองหัดเล่น หัดเล่นแล้วก็ลองวิเคราะห์ดูว่าเขาคิดอะไรในการด้นสดบ้าง จะเห็นว่า คลิฟฟอร์ด บราวน์​ นี่อัจฉริยะมากครับ ไลน์ทุกไลน์ เล่นเนียนกิ๊ก แถมมีเหตุมีผล จะเสนออันไหนก็เล่นซะสองครั้งด้วย เรามาลองดูคร่าวๆ สักด้านนึงก่อนครับ

แนวอิมโพรไวส์ของ คลิฟฟอร์ด บราวน์ มีลักษณะเด่นของเสียงทรัมเป็ตแจ๊ส คือ การวิบราโต (Vibrato), การควบคุมลักษณะเสียงด้วยการบังคับลิ้น (Tonguing) สลับกับการเชื่อมเสียง​(Slur) หรือ ทำให้เสียงเรียบ (Legato), แนวอิมโพรไวส์มีเนื้อดนตรี (Texture) หนาแน่นปานกลาง โดยมีอัตราจังหวะดับเบิล (Double Time) ที่ช่วง B ของรอบแรก, ช่วงเสียงเฉลี่ยอยู่ในช่วงกลาง (Middle Tessitura) โดยมีโน้ตต่ำสุดที่โน้ต Ab3 ของทรัมเป็ต และสูงสุดที่โน้ต E6 ของทรัมเป็ต ช่วงเสียงประมาณ 2.5 ช่วงคู่แปด….ลองฟังกันดูนะครับ ทรัมเป็ตแจ๊ส โซโล เริ่มที่นาที 1:46

[1] ณัชชา พันธุ์เจริญ. พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกศกะรัต, 2552.

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar