เรียนดนตรี

Blues บลูส์คืออะไร เล่นยังไง หาฟังได้ที่ไหน

8 December 2009

วันนี้ผมมาชวนฟังเพลงบลูส์ มาดูประวัติ ดูภาพยนตร์ หัดเล่นเพลงบลูส์กันครับ ความหมายของ บลูส์ Blues จริงๆ แล้วคำว่า บลูส์ (Blues) เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก แต่ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจครับ โดยบลูส์ อาจจะมีความหมายต่างๆ ดังนี้ครับ 1. ดนตรีบลูส์ ซึ่งมักจะมี 12 Bar หรือมีจำนวนห้องมากน้อยกว่านี้ เริ่มเล่นในหมู่คนผิวดำ แอฟริกัน-อเมริกัน โดยมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งสามารถหาฟังได้ โดยเริ่มแรกเพลงบลูส์ นิยมร้องในหมู่ทาสเพื่อเป็นการปลดปล่อย และประเล้าประโลมจิตใจ ปัจจุบัน ดนตรีบลูส์​ ถือเป็นดนตรีประจำชาติแบบนึง และเป็นที่นิยมเล่นกันทั่วโลก 2. 12-Bar Blues Progression เวลานักดนตรีจะเรียกเพลงก็มักเรียกเพลงบลูส์ในคีย์ต่างๆ ซึ่งก็เป็นที่รู้กันว่าจะต้องเล่น 12 Bars โดยฟอร์ม 12 Bars นี้ จะเล่นวนกันไปเรื่อยๆ ในแต่ละรอบจะเรียกว่า คอรัส ครับ เล่นไปได้ไม่จำกัดคอรัส ซึ่งก็จะมีคอร์ดต่างๆ อยู่ มักเป็น 1,4,5 (I7, […]

Eric Marienthal แซกโซโฟน ฟิวชั่น ขั้นเทพ

7 December 2009

อย่างแรกเลย อีริค ไม่ใช่ Mr.Fusion เข้ามาดู แห่งโลกพันทิบ ครับ แต่เป็นมือแซกฉกาจฉกรรจ์คนนึงทีเดียว และปัจจุบันฝีมือก็ยังจัดอยู่ครับ ลองฟังเพลงที่เขาเล่นกับ Lee Ritneour เพลงนี้ดูครับ หลายๆ คนคงเคยได้ยิน และสงสัยว่า Kenny G หรือเปล่า เอ๊ะ หรือว่า David Sanborn เคยมีผู้บอกไว้ และเจ้าตัว Kenny G ก็บอกเองครับ ว่าเขาไม่ได้เป็นแจ๊ส แต่เป็นป๊อปที่มีกลิ่นอายของ Jazz มากกว่า ถ้าลองฟังเพลงของเขาจะพบว่า ไม่ค่อยมีโซโล่ แต่จะเป็นการเล่นในทางป๊อปมากกว่า ไม่ได้เลือกโน้ตแปลกๆ … แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่เก่งนะครับ ถ้าเล่นป๊อปกันจริงๆ แล้ว ยังไง Kenny G ก็กินขาดครับ ความหวานและไพเราะของเขาไม่เป็นรองใคร แจ๊สเองก็มีหลายแบบครับ Fusion Jazz ที่แปลว่าหลอมรวมก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง ของแจ๊สครับ ในหนังสือ “Jazz อิสรภาพทางดนตรีของมนุษยชาติ” ของพี่รัก อนันต์ […]

History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส

6 December 2009

Gregorian chant, Plainsong, Plain chant สามคำนี้เหมือนกันคือ เพลงสวดเกรกอเรียน เพลงสวดแนวเดียว (Monophony) ของโบสถ์โรมันคาทอลิค เป็นทำนองเพลงที่พบในคริสต์ศตวรรษที่ 11-13 ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์คาดว่า น่าจะเกิดตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8 ทำนองเพลงสวดเหล่านี้กลายเป็นวัตถุดิบสำคัญในดนตรียุคกลาง เป็นทำนองที่มีช่วงเอื้อน (Melismatic) และมีการขยับขึ้นลงอยู่ในช่วงแคบๆ

History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จัก Guido d’Arezzo กัน

5 December 2009

Guido ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโน้ตดนตรีแบบสัญลักษณ์บรรทัดเส้น (Staff notation) สมัยใหม่ ซึ่งใช้แทนระบบการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรกรีก (Neumatic notation) ของเดิม งานเขียนของเขาที่ชื่อ Micrologus มีอิทธิพลเป็นอย่างสูงต่อการพัฒนาการประสานเสียงหลายเสียง (Polyphony) จังหวะที่เป็นอิสระ (Rhythmic independence) ที่ประสานเข้ากับท่วงทำนองที่เป็นอิสระ (Melodic independence) และผนวกเสียงร้องหลายแนวตั้งแต่ 2 ทำนองหรือมากกว่าในทำนองเพลงเดิมๆ ที่เรียบง่าย

Why we JAM?

4 December 2009

การแจมนั้นผมได้ในดนตรีทั่วๆ ไป ไม่เฉพาะแต่ Jazz นะครับ ใน Pop หรือแม้แต่วง Orchestra หรือ Symphonic Band หรือดนตรีไทยก็ตาม เราจะพบการแจมเสมอๆ ถ้าจำภาพยนต์เรื่อง โหมโรง ได้ จะมีฉากที่พระเอก เล่นเพลงสนุกๆ ในวงเหล้า กับเพื่อนนักดนตรีจากที่อื่น เล่นในบ้านเพื่อนอะไรอย่างนั้น

การทำงานของสมอง-บล๊อก-และหัดเล่นดนตรี

3 December 2009

สมองมีการทำงานสองส่วนครับ คือ เทมโพรัล ซึ่งเก็บความจำชั่วคราว และพัฒนาไปสู่ความจำที่นานหรือลึกขึ้น ซึ่งวิธีให้เราจำง่ายๆ ก็คือ การทำซ้ำครับ เพราะสมองจะไม่จำถ้าไม่เกิดการ repeat ขึ้นครับ นอกจากนี้ การขยับตัวง่ายๆ ก็ช่วยให้จิตใต้สำนึกเรา (ในหนังสือจะบอกว่าเป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่มาก) ช่วยจำครับ เช่น การขยับปากกา ดีดนิ้ว หรืออะไรก็ได้

It’s A Grand Night For Singing The Broadway Concert

15 October 2009

Suruj Predarat, Teeranai na Nongkai and Walapat Suwannakrit
together with Rangsit Philharmonic Orchestra
conducted by Denny Euprasert

Proceeds go to Friends in Need (of “Pa) Volunteers Foundation, Thai Red Cross

Cherokee – Clifford Brown เล่นได้ให้พันนึงครับ

4 October 2009

วันนี้มาลองฟังเพลงครูเพลงนี้กันครับ Cherokee เป็นเพลงที่ใช้ทำนองจากเพลงอินเดียนแดงครับ เพลงนี้ถูกนำมาทำขึ้นเป็นเพลงบีบ๊อพ ด้วยความเร็วสูงสุดที่พึงจะมี (Cherokee ไม่ใช่ยี่ห้อรถนะครับ) จากที่ลองจับดูนะครับ ด้วย metronome รุ่นที่มี tap นับ ผมกดไม่ทันครับ อิอิ ได้แค่ ตัวขาว=180 (หนึ่งนาทีมีตัวขาว 180 ตัว หรือวินาทีละสามตัวครับ) นั่นคือ จังหวะจริงอยู่แถว 360 ครับ

RSU Brass Quintet

5 September 2009

พาทุกท่านมาสู่โลกเพลงคลาสสิคบ้างครับ ที่คณะที่ผมเรียน วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต คณะเล็กๆ น้องใหม่คณะนึง กับเด็กซนๆ ซ่าๆ เดินไปมา ด้วยความที่คนน้อยเลยหาวงใหญ่ไม่ค่อยสะดวก เด็กๆ ก็กระจัดกระจายกัน หนึ่งในข้อเสนอทุนของผม คือ ให้จัดให้เด็กมีวงเล็กๆ เล่นกันครับ

Benny Golson,Denny, Joris กับ ทุนเรียนดนตรี เนเธอร์แลนด์ (ตอนที่ 1)

31 August 2009

อืม เป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ในชีวิตเหมือนกัน จะเรียกว่า Turning Point ก็ได้ครับ…… . . ปีนี้ ทาง บริษัท Platinum จัดคอนเสิร์ตระดับ World-class มาโดยเชิญ คุณ Benny Golson มือเทนเนอร์แซกโซโฟน ระดับตำนานมา เอ ทำไมตำนานหว่า ก็ต้องบอกว่าแก นาน จริงๆ ครับ เป็นเพื่อนสนิท John Coltrane ได้เล่นกับไมลส์ เดวิส, ดิซซี่ กิลเลสปี ฯลฯ เขียนเพลงเพราะๆ อย่าง Killer Joe, Stablemate, I remember Clifford, Whisper Not