History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส

วันนี้วันอาทิตย์ ผมจะไปโบสถ์เพื่อร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า ที่เรียกว่า Sunday Worship Service และสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกาย โรมันคาทอลิก ก็จะไป วัดคริสตัง ในวันเสาร์ โดยเพลงที่เราร้องกัน มีทั้งเพลงที่เขียนขึ้นมาใหม่ซึ่งก็จะมีกลิ่นอายของเพลงยุคปัจจุบัน แต่บางเพลงก็จะเป็น Hymn ซึ่งก็มีคือ เพลงสรรเสริญที่เขียนมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมักลงท้ายด้วยคำว่า อาเมน หรือ อาแมน (Amen) หากแต่ ถ้าเราย้อนไปเรื่อยๆ เราจะพบว่า เพลงเหล่านี้ต้นกำเนิดมาจากไหนนะ เราจะพบว่า เพลงที่ใช้ในศาสนาคริสต์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่ยุคต้นของศาสนาคริสต์ คือในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือช่วง 100 ปีแรกนับแต่พระเยชูคริสต์เสด็จลงมาบนโลก

การนับคริสต์ศักราช นับจากวันประสูติพระเยซู และที่เรียก A.D. นั้น หมายถึึง Amno Domini ในภาษาละติน แปลว่า in the year of our Lord หรือ in the year of Christian era since the birth of Christ

ดนตรีในศาสนาคริสต์ หรือ เพลงโบสถ์ มายังไง? ไปยังไง?

ที่ว่ามาไง ไปไง หมายถึงว่า แรกเริ่มเดิมทีมีลักษณะอย่างไร และพัฒนาต่อเป็นอะไรบ้างครับ ผมจะพยายามอธิบายศัพท์ก่อนนะครับ เวลาไปอ่านต่อจะได้ไม่งงมาก ถ้าเราลองค้นใน ศ.ดร. ณัชชา พันธุ์เจริญ “พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์” ให้คำอธิบายว่า

Plainchant [plainsong]

Gregorian chant, Plainsong, Plain chant สามคำนี้เหมือนกันคือ เพลงสวดเกรกอเรียน เพลงสวดแนวเดียว (Monophony) ของโบสถ์โรมันคาทอลิค เป็นทำนองเพลงที่พบในคริสต์ศตวรรษที่ 11-13 ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์คาดว่า น่าจะเกิดตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8 ทำนองเพลงสวดเหล่านี้กลายเป็นวัตถุดิบสำคัญในดนตรียุคกลาง เป็นทำนองที่มีช่วงเอื้อน (Melismatic) และมีการขยับขึ้นลงอยู่ในช่วงแคบๆ

จริงที่ว่า เรามักใช้สามคำนี้รวมๆ กัน แต่ถ้าเราลองค้นหาต่อไปว่า เอ๊ะแล้วสามคำนี้แตกต่างกันอย่างไร เราจะพบว่า เหมือนกับที่เราเรียก “ผงซักฟอก” ว่า “แฟ๊บ” นั่นเอง คือ เกรกอเรียน เป็นหน่วยย่อย(subset) ของ แชนต์ อีกทีหนึ่ง ใน Glove Dictionary of Music อธิบายไว้ดังนี้ครับ

Plainchant [plainsong]
(from Lat. cantus planus; Fr. plainchant; Ger. Choral; It. canto plano).

The official monophonic unison chant (originally unaccompanied) of the Christian liturgies. The term, though general, is used to refer particularly to the chant repertories with Latin texts – that is, those of the five major Western Christian liturgies – or in a more restricted sense to the repertory of Franco-Roman chant (Gregorian chant). A third meaning refers to a style of measured ecclesiastical music, often accompanied by a bassoon, serpent or organ, cultivated in Roman Catholic France during the 17th to 19th centuries (see Plain-chant musical). This article is concerned with the chant of the Roman and derived rites considered historically, including its place within Christian chant as a whole and its relationship to the liturgy that it serves.

หมายถึง
1. การร้องเพลงสวด (Chant) โดยไม่มีดนตรีประกอบ (unaccompanied) โดยร้องเป็นโน้ตเดียวกัน (unison) และมีเพียงแนวดนตรีแนวเดียว (monophony)
2. อาจหมายถึง เพลงสวดทั่วไปที่เป็นภาษาละติน ซึ่ง ยังแบ่งออกเป็น Five Major Western Christian Liturgies (พิธีสวดในศาสนาคริสต์ของประเทศตะวันตกห้าประเภทใหญ่, ตะวันตกในที่นี้ คือ ยุโรปตะวันตก ในปัจจุบัน) แต่ก็มักหมายถึงเพลงสวดหนึ่งในห้าที่มีอิทธิพลเป็นตัวหลัก ในภาษาโรมัน-ฝรั่งเศส คือ Gregorian Chant นั่นเอง
3. สไตล์ของเพลงในศาสนาคริสต์ ทีใช้ accomp ด้วยบาสซูน และออแกน และเป็นที่นิยมใช้ในนิกายโรมันคาทอลิคของฝรั่งเศส ในช่วง c.17-19 (ขออนุญาตย่อ c. = คริสต์ศตวรรษ นะครับ)

เรื่องของเรื่องเริ่มจากว่า ในช่วงแรก ศาสนาคริสต์ ไม่เป็นที่ยอมรับเลยของคนยิว คนโรมัน คนกรีก เกิดการต่อต้าน พวกคริสต์คือพวกนอกกฎหมาย ต่อมา เมื่อคริสต์เป็นที่ยอมรับ (ในทางศาสนศาสตร์ ถือว่า คริสต์ มิใช่ศาสนา แต่เป็น ความเชื่อที่มีต่อพระเยซูคริสต์ .. ผู้แปล) คริสตศาสนิกชน หรือที่เราเรียกว่า คริสเตียน/คริสตัง ซึ่งก็คือ คำๆเดียวกัน แต่ใช้ในคนละบริบท สามารถร้องเพลงได้ ก็ทำให้เกิดเพลงสวดขึ้น ซึ่งก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่นั้นๆ โดยศูนย์กลาง มีสามเมืองสำคัญ คือ

1. กรุงเยรูซาเล็ม (อิสราเอล ในปัจจุบัน)
2. เมืองอันติโอเกีย (Antioch ใกล้กับตุรกี ในปัจจุบัน) และโรม (อิตาลี ในปัจจุบัน)
3. กรุงคอนแสตนติโนเปิล (ตุรกี ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็น เมืองหลวงฝั่งตะวันออกของโรม)

ดูแผนที่ประกอบนะครับ

แผนที่ยุคแรก แสดง อาณาจักรไบแซนไทน์ อาณาจักรโรมัน ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากอาหรับ (ก่อน ค.ศ. 700)

แผนที่ยุคแรก แสดง อาณาจักรไบแซนไทน์ อาณาจักรโรมัน ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากอาหรับ (ก่อน ค.ศ. 700)

ในช่วงแรกยังไม่มีการบันทึกโน้ต จนเริ่มมีหนังสือการบันทึกในช่วง c.9-11 ฝั่งทางตะวันออกคือ Greek rite of Constantinople หรือที่เรียกว่า Byzantine Chant ซึ่งใช้องค์ประกอบทางดนตรีจากชาวอันติโอเกียและชาวปาเลสไตน์ และได้รับอิทธิพลจากโรมันด้วย นอกจากนี้ยังมีเพลงย่อยๆ อีก เช่น Syrian church music, Coptic church music ในขณะที่ฝั่งตะวันตกก็จะมี Gregorian Chant ซึ่งใช้คนละระบบการบันทึกกัน ต่อมาเมื่อการบันทึกเจริญรุ่งเรืองขึ้น เพลงสวดที่ยังคงอยู่ มีสามแบบ คือ Gregorian chant (ปัจจุบันยังใช้ในวัดคาทอลิคอยู่), Old Roman chant, และ Ambrosian chant และยังมีการผสมผสานวัตถุดิบต่างๆ เรียกว่า Mozaraibic chant ต่อมาถูกอิทธิพลของอาหรับเข้ามา จึงเริ่มเสื่อมลง และยังมีเพลงสวดอีกแบบที่ได้สูญหายไปแล้ว คือ Celtic chant

ตารางต่อไปนี้ เปรียบเทียบ เพลงสวดสามแบบหลักๆ คือ Mozarabic, Roman, และ Ambrosian Mass
Table presents a comparative synopsis of the principal chants of the Mozarabic, Roman and Ambrosian Masses (items in parentheses are sung infrequently)

 Mozarabic, Roman and Ambrosian Masses

Mozarabic, Roman and Ambrosian Masses

Ambrosian Chant

Sant'Ambrogio Basilica

Sant'Ambrogio Basilica

ฟัง Ambrosian chant – Ecce apertum est Templum tabernaculi กันครับ

Ambrosian chant – Tecum principium in die virtutis tue

บทความอื่นๆ

http://www.oknation.net/blog/tarrega/2009/11/08/entry-1
http://nantpeephutt.blogspot.com/2009/11/ambrosian-chant-milanese-chant.html
http://dizziz88.blogspot.com/2009/11/byzantine-chant.html
http://blossssw.multiply.com/journal/item/1/Byzantine_Chant
http://mayfonpa.blogspot.com/2009/11/syrian-church-music.html

Biblography

Glove Opera, Dictionary of Music
Wikipedia.com
Hoppin, Richard H., MEDIEVAL MUSIC, ww. Norton & company, 1978.
ศ.ดร. ณัชชา พันธุ์เจริญ “พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์”

Credit

blog นี้ เป็นส่วนหนึ่ง ของ วิชา MUS602 MUSIC SINCE 1900 ดนตรีก่อน ค.ศ. 1900 ซึ่ง ครอบคลุม ตั้งแต่ดนตรีในยุคกลาง (Medieval), เรเนซอง (Renaissance), บาโรค (Baroque), คลาสสิก (Classic), โรแมนติก (Romantic) แต่ไม่รวมถึง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 (Twenty century music) นะครับ วิชานี้ สอนโดย อ.หง่าว บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์

Blog ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส
History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จัก Guido d’Arezzo กัน
Histroy 3: Zarlino, Gioseffo
History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” (G: Ein’ feste Burg ist unser Gott)
History 5: Chaconne, Passacaglia
History 6: Alessandro Scarlatti
History 7: ประวัติและผลงาน Richard Wagner
History 8: ประวัติและวรรณกรมดนตรีก่อนปี ค.ศ. 1900

มี 4 ความคิดเห็น สำหรับ “History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส”

  1. kejuliso

    อยากไปฟังเพลงในโบสถ์บ้างง่ะ
    ชอบมาจากหนังเรื่อง Sister Act วันหลังไปฟังด้วยนะจ๊ะ

  2. History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จัก Guido d’Arezzo กัน | Plajazz

    […] History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอั… 2. History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง […]

  3. อุปรากร Les Huguenots & Grand Opera ของ Giacomo Meyerbeer | Plajazz

    […] History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอั… History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จัก Guido d’Arezzo กัน Histroy 3: Zarlino, Gioseffo History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” (G: Ein’ feste Burg ist unser Gott) History 5: Chaconne, Passacaglia History 6: Alessandro Scarlatti History 7: ประวัติและผลงาน Richard Wagner History 8: ประวัติและวรรณกรมดนตรีก่อนปี ค.ศ. 1900 History 9: อุปรากร Les Huguenots & Grand Opera ของ Giacomo Meyerbeer […]

  4. chanel glasses

    happen to be continuously available released chanel dresses with commodity for your more popular merchandise

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar