History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จัก Guido d’Arezzo กัน

วันนี้ขอวิชาการสักวันนะครับ เป็นการบ้านวิชาประวัติศาสตร์ดนตรีในยุคกลาง…

กว่าจะมาเป็น Guido d’Arezzo

ถ้าตอนนี้ใครไปที่วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต จะได้ยินเสียงเพลงประหลาดๆ มี๊-หล่าเร ซ้อน-มี-หล่า-ที ไม่ก็ หล่า-ที-โด-ที-ลา-หมี่ ฟรี-ซี-ลา-ที๊-สี่-มี๊ … อ๊ะ เค้าทำอะไรกันนะ

เขากำลังหัดร้องเพลงตามระบบซอล-ฟา อยู่ครับ โดยจะเปลี่ยนคีย์หรือไม่ก็แล้วแต่ เอ๊ะ..แล้วระบบพวกนี้มาจากไหนนะ เมื่อก่อนก็เคยได้ยินในละครเขาร้องกัน “โด๊เรหมี่ ซ่อนหล่า .. หนูขอเวลา สักสามนาที” ไม่ก็รุ่นพ่อแม่เลย “Dol- A Dear a female deer” จากหนังเรื่อง The Sound of Music ซึ่งพอมาถึงไทยก็กลายเป็น “โด่-อาการที่ยืนไม่ล้ม เหล่-คือตาที่มันเหล่เข หมี่-ก็คือก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก” จริงๆ แล้วมันเริ่มมาจากดนตรียุคกลางครับ ใครว่าประวัติศาสตร์ไม่สำคัญ จริงๆ แล้ว ของเก่าเอามาขัดสีฉวีวรรณใหม่ก็น่าสนใจนะครับ เพราะมันทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นในดนตรี

มันเริ่มมาจากเจ้านี่ครับ มือวิเศษ Guido’s Hand (ขอเป็นเวอร์ชั่น ปลาทองแฮนด์ นะครับ)

การแทนโน้ตบนตำแหน่งต่างๆ ของน้ิวมือในระบบ Guidonian Hand

การแทนโน้ตบนตำแหน่งต่างๆ ของน้ิวมือในระบบ Guidonian Hand

เขาแทนตำแหน่งต่างๆ บนน้ิวมือดังรูปข้างต้นครับ โดยจะมีโน้ตแค่ 6 ตัว คือ ut re me fa sol la หรือ โด เร มี ฟา ซอล ลา หรือ C D E F G A ไม่มีตัว ที (B) เนื่องจากสมัยนั้นเป็นเสียงกระด้าง ไม่ได้ใช้ในเพลง คราวนี้ก็มีการทบเข้าไป โดยตัว fa เท่ากับตัว ut เรียกว่า fa-ut (ดูโคนนิ้วชี้ซ้ายผมที่เป็นสีดำ-เขียว) เวลาอ่านโน้ตระบบนี้ให้อ่านเริ่มจากปลายน้ิวโป้งเป็นโน้ตต่ำสุด วนก้นหอยในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา จะมาจบที่ข้อกลางของนิ้วกลาง (la-sol) ลองอ่านเพิ่มเติมที่ wikipedia ครับ

อันนี้มือที่ว่าครับ พร้อมตารางการอ่าน (อ่านจากล่างขึ้นบนนะครับ ล่างสุดคือโน้ตตำ่สุด)

Guidonian Hand

Guidonian Hand

ตารางเทียบเสียงในระบบ Guidonian Hand

ตารางเทียบเสียงในระบบ Guidonian Hand

เวลาใช้งานจริง ครูก็จะชี้ไปที่ตำแหน่งบนมือนักเรียน แล้วให้ร้องตามครับ เด็กหรือพระลูกวัดที่ต้องร้องเพลงก็จะทำการ map ภาพตำแหน่งบนน้ิวเข้ากับเสียง ทำให้จำโน้ตและเสียงเพลงได้ง่ายขึ้นครับ ง่ายจริงๆ นะ ลองทำดู … ต่อมา ก็เลยเป็นที่มาของการสอนดนตรีเด็กจะต้องให้เด็กทำสัญลักษณ์มือประกอบด้วย ผมเองเคยสอนวิชาตรีโกณมิติ ก็ให้เด็กใช้มือช่วยในการจำ ค่า sin30 cos45 เช่นกันครับ พบว่าเด็กส่วนใหญ่จะจำได้หมด (รายละเอียดขอละไว้ละกันครับ เพราะเป็นเรื่องคณิตศาสตร์ สงสัยถามได้)

ใครคือ Guido D’ Arezzo

ถ้าเราค้นต่อโดยใช้ google ดูจะพบ บทความของคุณปาล์ม (ซึ่งก็แปลว่า “ฝ่ามือ” ) ลองคลิกไปอ่านดูนะครับ ขออนุญาตดึงบางส่วนมา…

Guido of Arezzo, Guido Aretinus, Guido da Arezzo, Guido Monaco หรือ Guido D’Arezzo นักบวชและนักทฤษฎีดนตรีในยุคกลาง (Medieval era) เขาเกิดเมื่อปี ค.ศ. 991/992 – ถึงแก่กรรมหลังปี ค.ศ. 1033

Guido ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโน้ตดนตรีแบบสัญลักษณ์บรรทัดเส้น (Staff notation) สมัยใหม่ ซึ่งใช้แทนระบบการบันทึกโน้ตแบบตัวอักษรกรีก (Neumatic notation) ของเดิม งานเขียนของเขาที่ชื่อ Micrologus มีอิทธิพลเป็นอย่างสูงต่อการพัฒนาการประสานเสียงหลายเสียง (Polyphony) จังหวะที่เป็นอิสระ (Rhythmic independence) ที่ประสานเข้ากับท่วงทำนองที่เป็นอิสระ (Melodic independence) และผนวกเสียงร้องหลายแนวตั้งแต่ 2 ทำนองหรือมากกว่าในทำนองเพลงเดิมๆ ที่เรียบง่าย นับเป็นทฤษฎีทางดนตรีชิ้นที่สองซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดชิ้นหนึ่งในยุค กลาง ถัดจากงานเขียนของ Boethius (ค.ศ. 480–524 หรือ 525) นักปรัชญาชาวโรมในยุคกลางในศตวรรษที่ 6

เสร็จแล้วเพื่อไม่ให้น่าเบื่อจนเกินไปในส่วนนี้ ผมจะพาไปดูสารคดีต้นกำเนิด การเขียนโน้ต โด-เร-มี นั่นเอง ในสมัยนั้นจะเรียกว่า ut re me fa sol la นะครับ ไปดูกันเรยยย~~

ฟังเพลินๆ แปลไม่ออกไม่เป็นไรครับ มาเล่าให้ฟังดีกว่า ท่านนี้เขาชื่อ Guido อยู่เมือง Arezzo คำว่า Guido ในปัจจุบันเราจะเจอเป็นคำแสลงหมายถึง ดนตรีแบบอิตาเลียน นะครับ แต่ในที่นี้เราจะหมายถึงคน และระบบการบันทึกโน้ต เขาว่าเมื่อพันกว่าปีก่อน ดนตรีในยุคแรก คือ เพลงโบสถ์ เขาจะร้องกันในวัดคริสตัง ยังเขียนด้วยระบบ shorthand คือโน้ตสั้นๆ ว่าสูงต่ำเท่าไหร่ เหมือนกับโน้ตคอร์ดกีตาร์ที่ขายในปัจจุบันล่ะมั้ง เนื้อหาสำคัญอยู่ที่นาทีที่ 1.37 ครับ เพลงที่โด่งดังของท่าน Guido D’Arezzo คือ Ut Queant Laxis (Hymn to St.John the Baptist) หรือเพลงสรรเสริญแด่ยอห์นผู้ให้บัพติศมา (นักบุญยอห์น เป็นผู้ให้บัพติศมาพระเยซู …ผู้เขียน) แต่จริงๆ ก็ไม่แน่ว่าท่านเป็นผู้คิดระบบมือนี้หรือเปล่า แต่ท่านเป็นผู้ที่นำชื่อโน้ตแรกมาสร้างเป็นเพลงดังกล่าวครับ และได้พัฒนาต่อมาเป็นระบบที่เราร้องกันในปัจจุบัน ซึ่งเปรียบได้กับบิ๊กแบงในทางฟิสิกส์เลยทีเดียวครับ

Solmizatio System of Guido D’Arezo

เรื่องนี้ผมแปลสรุปมาจากหนังสือ Richard H.Hoppin, “MEDIEVAL MUSIC” นะครับ หน้า 63-64

….เดี๋ยวกลับมาเขียนต่อนะครับ…..

หาอ่านบทความนี้ต่อได้ที่ไหน

เนื่องจากเรื่องนี้ทำกันหลายคน ผมเลยรวมลิงก์ของเพื่อนๆ ที่เรียนโท ที่วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต มาไว้ ณ โอกาสนี้ครับ และขอขอบคุณ อ.บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ ด้วยครับ

Blossss’ Site: Guido D’Arezzo

Nant [Affro Thailand Composer]:Guido of Arezzo
MINKKY: Guido D Arezzo
Kookiat Patramaneekana เอี๋ยว

และเวบอ้างอิงคุณปาล์มครับ

Reference

  • ^ Claude V. Palisca: “Guido of Arezzo.” in Grove Music Online (subscription required)
  • ^ Andrew Hughes and Edith Gerson-Kiwi: “Solmization.” in Grove Music Online (subscription required)
  • Credit

    blog นี้ เป็นส่วนหนึ่ง ของ วิชา MUS602 MUSIC SINCE 1900 ดนตรีก่อน ค.ศ. 1900 ซึ่ง ครอบคลุม ตั้งแต่ดนตรีในยุคกลาง (Medieval), เรเนซอง (Renaissance), บาโรค (Baroque), คลาสสิก (Classic), โรแมนติก (Romantic) แต่ไม่รวมถึง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 (Twenty century music) นะครับ วิชานี้ สอนโดย อ.หง่าว บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์

    Blog ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

    History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส
    History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จัก Guido d’Arezzo กัน
    Histroy 3: Zarlino, Gioseffo
    History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” (G: Ein’ feste Burg ist unser Gott)
    History 5: Chaconne, Passacaglia
    History 6: Alessandro Scarlatti
    History 7: ประวัติและผลงาน Richard Wagner
    History 8: ประวัติและวรรณกรมดนตรีก่อนปี ค.ศ. 1900

    มี 8 ความคิดเห็น สำหรับ “History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จัก Guido d’Arezzo กัน”

    1. MuzikBank

      555 เยี่ยมๆ เห็นแล้วนึกถึงสมัยเรียนอยู่จริงๆ หนึ่งในวิชา Music History ที่เรียนเกือบเอาตัวไม่รอด 😛

    2. kejuliso

      กรี๊ดดด! มันดูจริงจังมาก มะใช่พี่ปลาทองที่แก้วรู้จัก!

    3. History 1: Ambrosian Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส | Plajazz

      […] Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จั… Histroy 3: Zarlino, Gioseffo History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” […]

    4. History 6: Alessandro Scarlatti | Plajazz

      […] Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จั… Histroy 3: Zarlino, Gioseffo History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” […]

    5. History 5: Chaconne, Passacaglia | Plajazz

      […] Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จั… Histroy 3: Zarlino, Gioseffo History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” […]

    6. History 7: ประวัติและผลงาน Richard Wagner | Plajazz

      […] Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จั… Histroy 3: Zarlino, Gioseffo History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” […]

    7. อุปรากร Les Huguenots & Grand Opera ของ Giacomo Meyerbeer | Plajazz

      […] Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จั… Histroy 3: Zarlino, Gioseffo History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” […]

    8. History 8: ประวัติและวรรณกรรมดนตรีก่อนปี ค.ศ. 1900 | Plajazz

      […] Chant เพลงโบสถ์ยุคกลาง นักบุญอัมโบรส History 2: โด๊-เร-หมี่ ซ่อนหล่า มาไง มารู้จั… Histroy 3: Zarlino, Gioseffo History 4: Martin Luther’s hymns, A Mighty Fortress Is Our God” […]

    ทักทาย

    หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar