ประวัติแจ๊ส Classic Jazz: A Personal View

ตอนต่อของบล็อกนี้ ครับ
Jazz Timeline และเชิญชม Jazz Concert จาก ม.รังสิต

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา MUS 651 Jazz Styles and Analysis โดย อ.ดร. เด่น อยู่ประเสริฐ ครับ ลักษณะของวิชานี้ คล้ายๆ กับสัมนาครับ จะมีการ Discuss ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแจ๊ส ทั้งการเล่น การโซโล่ การประพันธ์เพลง และ เรื่องที่เราจะพูดกันวันนี้ครับ History of Jazz โดยกลุ่มผมก็จะมี ผม @plajazz, อ.กุ๊ก มือแซกวงทีโบน, อ.ตั้ม กลัวไม่เช้า (โปรดิวเซอร์ เพลงเช้าไม่กลัว และเจ้าของเวบไซต์ด้านการทำเพลง MUSICMAKERMAG ( http://musicmakermag.com/index.php ), และน้องหมา มือกลองบัณฑิตจากม.พายัพ และเคยเล่น Backup ให้กับ พี่ช้างต้น, พี่โต๊งเหน่ง, อ.เด่น ครับ

History of Jazz

ถ้าแบ่งตาม Timeline คร่าวๆ ก็ตามบล็อกเดิมครับ อ่าน Jazz Timeline และเชิญชม Jazz Concert จาก ม.รังสิต

JAZZ Timeline

คราวนี้ ถ้าเรามาลองหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์แจ๊ส จะพบว่ามีมากมาย และแต่ละเล่มก็มีวิธีเขียนและแบ่งกลุ่มต่างกันครับ ในส่วนของกลุ่มผมก็ได้หัวข้อหนังสือ CLASSIC JAZZ :A Personal View of the Music and Musicians ของ Floyd Levin ครับ เพราะตัวผู้เขียนเอง เป็นกูรูด้านประวัติศาสตร์แจ๊ส และได้รับการยอมรับในวงกว้าง มีงานเขียนบทความ มากมาย และบทความเหล่านั้น ได้รับการอ้างถึง ครับ

หาอ่านได้จากห้องสมุด หรือ Google Book ครับ
Classic Jazz: A Personal View of the Music and the Musicians
โดย Floyd Levin,Benny Carter

CLASSIC JAZZ: A Personal View of the Music and Musicians

Bibliography ข้อมูลบรรณานุกรมห้องสมุด:
Levin, Floyd. CLASSIC JAZZ: A Personal View of the Music and Musicians. Berkeley: University of California, 2000.

ปกนี้ครับ เล่ม Paperback ปกแข็งครับ ไม่ใหญ่มาก อ่านง่าย

ปกนี้ครับ เล่ม Paperback ปกแข็งครับ ไม่ใหญ่มาก อ่านง่าย

จุดประสงค์ของบทความนี้เพื่อทำ Citation คือ วิจารณ์งานเขียนชิ้นนี้ครับ โดยจะตอบเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ

1. Bibliography ข้อมูลบรรณานุกรมห้องสมุด

Levin, Floyd. CLASSIC JAZZ: A Personal View of the Music and Musicians. Berkeley: University of California, 2000.

หนังสือนี้เขียนคำนิยม (Foreword) โดย Benny Carter และโปรยไว้บริเวณปกในหนังสือ คัดมาบางส่วน ดังนี้ครับ

Floyd Levin, an award-winning jazz writer, … This Book is a treasury of information on a rich segment of American popular music.

…this collection of articles with Levin’s first published piece..Kid Ory’s early recordings and ending with a newly about the campaign to put up a monument to Louis Armstrong in New Orleans…

…ilustrated with unpublished photograps from Levin’s personal collection…

…FLOYD LEVIN has been published in many magazines, including Down Beat, Jazz Journal International, and American Rag. He has received several awards for his work, most recently the Leonard Feather Communicator Award, by Los Angeles Jazz Society. and he was voted Number One Jazz Journalist in the Mississippi Rag.

ฟลอยด์ เลวิน , นักเขียนบทความแจ๊สมือรางวัล..หนังสือเล่มนี้ เป็นสมบัติล้ำค่าที่บรรจุข้อมูลของดนตรีป๊อบอเมริกัน …เขาเริ่มจากบทความของเขาตั้งแต่สมัยเรียนปี 2 วง Kid Ory และไปจบที่บทความเกี่ยวกับการรณรงค์เพื่อจัดตั้งอนุสาวรีย์ ให้กับ หลุยส์ อาร์มสตรอง ในเมืองนิวออลีนส์….เขาเขียนหนังสือและบทความลงในนิตยสารมากมาย เช่น ดาวน์บีท, แจ๊ส เจอนัล อินเตอร์เนชั่นแนล และ อเมริกัน แร๊ก เขาได้รับรางวัลมากมายในงานของเชา และล่าสุด รางวัล ลีโอนาร์ด เฟเธอร์ คอมมูนิเคเตอร์ โดย สมาคมแจ๊ส แห่งเมือง ลอส แองเจิลลิส และ ได้รับการโหวตให้เป็น นักหนังสือพิมพ์ จากนิตยสาร Mississippi Rag

FLOYD LEVIN

FLOYD LEVIN

จาก Wikipedia จะพบว่า เขามีชื่อเสียงจากการรวมรวมบทความมาเขียนเป็นหนังสือเล่มนี้ครับ

Floyd Levin (September 24, 1922 – January 29, 2007) was a jazz historian and writer who has been published in many magazines, including Down Beat, Jazz Journal International and American Rag. He has received several awards for his work, including the Leonard Feather Communicator Award, given annually by the Los Angeles Jazz Society. He is the author of Classic Jazz : A Personal View of the Music and the Musicians which chronicles his first-hand encounters with many jazz musicians such as: Benny Carter, Barney Bigard, Artie Shaw,James P. Johnson and Louis Armstrong.

รูปที่เขาถ่ายคู่กับ Louis Armstrong (จาก Wikipedia)

2. Author’s Perspective

Author’s Perspective หรือ มุมมองของ Floyd คือ เป็นการรวมรวมบทความเก่าๆ ที่เขาเขียนไว้ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยวิจารณ์เป็นรายบุคคล หรือเป็นวง หรือเป็นอัลบั้ม และ แบ่งกลุ่มของบุคคลเหล่านั้น ตาม Generation และ สถานที่ที่เขาเหล่านั้นอยู่

คนที่เขาพูดถึงนั้น เป็นคนที่เขาได้เข้าไปสัมผัสจริงๆ โดยตรง เป็นข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งถ้าเป็นเราเอง เราคงยากที่จะไปสัมผัสกับคนเหล่านั้น และแน่นอน บางท่านก็ได้จากโลกนี้ไปแล้ว ดังนั้น ข้อเขียนชิ้นนี้จึงมีความสำคัญ ในแง่ของ การเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แจ๊ส ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน และมีผลอย่างไรกับวงการแจ๊สในปัจจุบัน

ในหน้าคำนำ Preface เขากล่าวว่า “Art become Never Obsolete” หรือ ศิลปะไม่เคยตกยุค เช่น เราจะเห็นสถาปัตยกรรมฟลอเรนซ์ ในงานสถาปัตยกรรมปัจจุบัน ซึ่งต่างกับวิทยาศาสตร์ ที่ของใหม่ย่อมดีกว่าของเก่า “Science: Lates = Best”

รายชื่อนักดนตรีที่ Floyd กล่าวถึง เช่น บทความ Jelly Roll Morton’s Brilliant piano solo, บทความ “Dippermouth Blues,” Joe Oliver, บทความEllington’s memorable เป็นต้น

ในประเด็นต่อมา คือ ชื่อหนังสือ เล่มนี้ ให้อะไรที่มากกว่า “ประวัติศาสตร์แจ๊ส” หรือไม่?
คำตอบของคำถามนี้ ถ้าเราลองดูชื่อหนังสือ CLASSIC JAZZ :A Personal View of the Music and Musicians แล้วลองดูทีละคำเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผู้เขียนบอกไว้ในคำนำ จะพบว่า

CLASSIC: Of the highest class or rank. Serving as a standard. Something regarded as nearly perfect. An enduring example or Model.

…New Webster’s Dictionary of the English language

คลาสสิก หมายถึง จุดสูงสุด หรือความบริบูรณ์ สมบูรณ์แบบที่สุด ที่นำมาใช้เป็นมาตรฐานของสิ่งนั้นๆ…จากพจนานุกรมนิว เวบสเตอร์

จากชื่อหนังสือ หมายถึง ผู้เขียนต้องการสื่อถึง ยุคสมัยที่รุ่งเรืองของดนตรีแจ๊ส สิ่งที่มากกว่าความเป็นประวัติศาสตร์ คือ มีมุมมองของบุคคล (Personal View) เพิ่มเข้ามา ดังที่ Floyd บอกไว้ในคำนำว่า เขาไม่ชอบที่จะเขียน History แบบ Pattern คือ Origin of Jazz กำเนิดแจ๊ส, Style and period ช่วงเวลา, ผู้นำในแต่ละ Style, เพลงที่จะแนะนำ, รีวิวอัลบั้มต่างๆ

แต่สิ่งที่ชื่อหนังสือบอกคือ หนังสือเล่มนี้จะไม่เหมือนใคร ตรงที่ ราวกับว่าคุณจะได้เข้าไปสัมผัส กับนักดนตรีคนนั้น จริง ๆ ได้เข้าไปนั่งฟังในบรรยากาศ ของผับ หรือคอนเสิร์ตฮอลล์ นั้นจริงๆ

3. Chronological order or NOT?

ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้ เรียงตามลำดับเวลานะครับ แต่จะเรียงตามบุคคล สังเกตจากสารบัญ บทแรกจะพูดถึง Kid Ory’s Creole Jazz Band ทุกๆ คน Creole คือการรวมชาติพันธุ์ หลายๆ ชาติเข้าไว้ด้วยกัน มักหมายถึง ลูกครึ่งผิวดำ ครับ ส่วน Kid Ory คือ มือทรอมโบน ในยุค Ragtime คือ นอกจากเขาจะพูดถึงวงนี้ แล้ว เขายังพูดถึง นักดนตรีทุกคนในวงนี้ด้วยครับ

Kid Ory มือทรอมโบน และหัวหน้าวง ในยุค Ragtime

ลองฟังเพลงของเขาดูกันครับ http://www.youtube.com/watch?v=2H6gLk7J7A0

Kid Ory 7 - I Wish I Could Shimmy Like My Sister Kate

Kid Ory 7 - I Wish I Could Shimmy Like My Sister Kate

จากนี้เราพอจะจับจุดได้ว่า เขาจะหยิบยกเอาที่เรียกว่าเป็น “คลาสสิก” คือ สิ่งที่เขาเห็นว่ามีความน่าสนใจ แล้วเอามาอธิบาย เช่น วง Kid Ory ก็จะพูดถึง เพลง I Wish I Could Shimmy Like My Sister Kate ข้างต้นนั้น เขายกย่องว่า ไม่เพียงแต่เป็นนักดนตรีที่ดีเท่านั้น แต่นักดนตรีเหล่านั้นยังมีนิสัยดี และจากที่เขาได้สัมผัสกับทุกคนในวงนั้น เขาบอกว่า สมาชิกในวง Kid Ory นั้นเป็น “Great People” หรือบุคคลยิ่งใหญ่ที่ควรกล่าวถึง

ต่อมาเขาก็พูดถึง Lieutenant Jim, EUROPE BAND ว่าเป็นวงที่ริเริ่มเอาเพลงมาเล่นแบบ American Ragtime ซึ่งเป็นวงแรกที่เอามาอัดแผ่น และทำให้เพลงสไตล์อเมริกันแร๊กไทม์นี้ เข้าไปยังทวีปยุโรป ในช่วงสมัย สงครามโลกครั้งที่ 1 และถือเป็น record ที่มีคุณค่าและหายากแผ่นนึงเลย มีการเอามา re-master ด้วยครับ จะเห็นว่าต่างกับของไทย ที่ว่า อเมริกัน เขาให้คุณค่ากับสิ่งที่เขาถือว่าเป็นมรดกแห่งชาติ (ดนตรีแจ๊ส ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกแห่งชาติ National American Treasure ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1987)

Jim Europe’s 369th Infantry “Hellfighters” Band

James Reese Europe could hardly have been more aptly named. As the leader of the 369th Infantry Jazz Band, also known as the “Hellfighters,” he introduced the sounds of American ragtime to Europeans during the World War I. Although his career was brief, he profoundly influenced the course of popular music, not just in the United States but throughout the world. Yet his name probably would not arouse much of a response among jazz fans.

Jim Europe's 369th Infantry "Hellfighters" Band

เขารวบรวมอย่างตั้งใจ อย่างเช่น โปสเตอร์ของวงนี้ จากหนังสือเล่มนี้ครับ

Poster ของ Jim Europe

Poster ของ Jim Europe

สรุปว่า หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้เรียงตามลำดับเวลาเป๊ะๆ แต่เป็นการพูดถึง คนและผลงาน เหล่านี้ ผ่านอะไรมาบ้างและ พวกเขาเหล่านี้ทำอะไรกันในช่วงเวลานั้นๆ อย่าง Kid Ory ทำอะไรในช่วงนี้และช่วงต่อมา พอเข้ามาอีกเรื่องนึง เช่น Jim Europe เขาทำอะไรบ้าง ซึ่งอาจเป็นช่วงเดียวกับ Kid Ory หรืออาจก่อน/หลัง ก็ได้ครับ

หรืออย่าง Louis Armstrong ซึ่งมีถึงสองบท ในบทสุดท้าย เขาพูดถึงการสร้างอนุสาวรีย์ ให้กับ หลุยส์ อาร์มสตรอง ที่เมืองนิวออลีนส์ เหมือนกับว่า เขาพูดย้อนเวลาในยุครุ่งเรืองของนิวออลีนส์ แต่จริงๆ แล้ว เขากำลังบอกถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าในช่วง 7 ปี แห่งการก่อสร้างอนุสาวรีย์นั้น มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และการปั้นรูปหลุยส์ นั้น ให้ความสำคัญในด้านงานศิลปะ อย่างไร

สารบัญ จาก Google Book ครับ

Classic Jazz: A Personal View of the Music and the Musicians
โดย Floyd Levin,Benny Carter

Kid Ory and Reviaval Era

Kid Ory and Reviaval Era

Personal View of Music จะพูดถึง Recording

Personal View of Music จะพูดถึง Classic Recording

Personal View of Musician จะพูดถึง คนๆ นั้น เช่น Benny Carter ถึง  1968 World Greatest Jazz Band

Personal View of Musician จะพูดถึง คนๆ นั้น เช่น Benny Carter ถึง 1968 World Greatest Jazz Band

Influence of New Orleans Musicians on Classic Jazz

Influence of New Orleans Musicians on Classic Jazz

Louis Armstrong, West Coast Jazz

Louis Armstrong, West Coast Jazz

Unsung Hero, 7 Year to complete Louis Amstrong Statue

Unsung Hero, 7 Year to complete Louis Amstrong Statue

4. Categories to Organize the Subject

หมายถึงว่า ผู้เขียน Floyd ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่งหัวเรื่องในแต่ละบท เช่น ช่วงทศวรรษ หรืออาจจะเป็น สไตล์ เมืองที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆ บุคคล ขนาดของวง creative process ( composition + improvisation )

ให้สังเกตที่สารบัญ​จะเห็นหัวข้อใหญ่ ขึ้นต้นด้วย ตัวเลขในวงกลม จะมี 8 วงกลม ซึ่งแบ่งตามความสนใจของผู้เขียน โดยกลุ่มแรก คือ Ory ซึ่งเป็นตัวแทนของ ragtime, กลุ่มสอง คือ Recording ที่ Floyd เห็นว่า Classic, กลุ่มสามและสี่ คือ บุคคลที่ถือว่าเป็น Classic ในแจ๊ส, กลุ่มห้า คือ Louis Armstrong ผู้ที่เปิดประตูให้แจ๊สดังไปทั่วโลก, กลุ่มหก คือ เวสต์โคสต์แจ๊ส และ Los Angeles, กลุ่มเจ็ด คือ บุคคลที่โลกไม่รู้จัก (Unsung Heroes) , กลุ่มแปด คือ การสร้างอนุสาวรีย์หลุยส์ อาร์มสตรอง

จากนั้น สังเกตที่หัวข้อย่อย ในบทใหญ่ที่ 1, 3, 4, 7 จะพูดเป็นคนๆ หรือวงๆ ไป แต่ในบทที่ 2 จะพูดถึงเพลง เป็นเพลงๆ ไป บทที่ 6 จะพูดทั้งคนและบทเพลง ส่วนบทที่ 5, 8 จะพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราจะรู้ว่าทำไม Louis ถึงดังขนาดนั้น จากเหตุการณ์ที่เขาเล่า

จากที่กล่าวมาพอจะเอาสารบัญมาสรุปเป็น timeline ได้ดังนี้ครับ

**Time Period**
Revival Era (1)
New Orleans Era (1,4)
Bigband Era (5)
West Coast (6)
**Style**
Ragtime (1,2,3)
New Orleans (4)
Bigband (5)
Cool Jazz (6)
**Regional**
New Orleans (4)
Los Angeles (6)
**Historical Process**
Fragmentation of Time Period and individual artist

ตัวเลขในวงเล็บ คือ หัวข้อใหญ่ ครับ จะเห็นว่า เขาพูดถึงแต่ไม่เน้น Time period นะครับ ยิ่งถ้าดูหัวข้อย่อย จะพบว่า แบ่งตามคนๆ นึง หรือผลงานช้ินหนึ่งๆ คล้ายๆ กับหนังสือ 100 อัลบั้มเพลงแจ๊สระดับโลกของพี่รัก อนันต์ ลือประดิษฐ์ แต่มีสไตล์การเขียนในลักษณะของบทความมากกว่าที่จะเป็นการรีวิวอัลบั้ม หรือรีวิวบุคคล

4. Author Consistent

หมายถึง Floyd ใช้เทคนิคการเขียนอย่างไร และเขาดำเนินเรื่องเรียงตามเวลาหรือไม่ ถ้าไม่ เขาใช้เทคนิคอะไร ในการเปลี่ยนจากบทหนึ่งไปอีกบทหนึ่ง

จะเห็นว่า ในแต่ละบทอาจไม่เกี่ยวข้องกัน เขาไม่ได้เรียงตาม Period และไม่ได้เรียงตามเวลา หากแต่ เขาใช้ เหตุการณ์ เช่น ในบทที่ 1 เขาเล่าถึง Kid Ory และลูกวงเช่น Papa Mutt Carey แต่ในบทที่ 2 กลับไปพูดถึง Recording แทน โดยมีตัวเชื่อม คือ บริษัท Nordskog Recording และ บริษัท Sunshine Recordings และพอถึงบทที่ 3 เขาเล่นคำ โดยมองในเรื่องของ Music (Recording) แล้วลองมามองในเรื่องของ Classic Musician บ้าง จะเห็นว่า ชื่อเรื่องคล้ายๆ กัน

จากบทที่ 3 เขาพูดถึงนักดนตรีแล้วก็จะมาเชื่อมสู่บทที่ 4 ซึ่งเป็นนักดนตรีเหมือนกัน แต่อยู่ในเมืองนิวออลีนส์ และอิทธิพลของนักดนตรีในนิวออลีนส์

จะพบว่าเขาเรียงตามความน่าสนใจของแต่ละเรื่อง อย่างในบทที่ 7 ก็ไม่เกี่ยวข้องกับบทใดเลย แต่เป็นบทที่ขาดเสียมิได้ เพราะเรื่องของท่านเหล่านั้น ไม่ค่อยได้รับการเผยแพร่ แต่ Floyd ให้ความสำคัญกับเขาเหล่านั้น

6. List of Style in Table of Content in appearance Order

ถ้าเราดึงหัวข้อออกมาจากสารบัญจะได้ดังนี้ครับ

1. Ragtime
2. New Orleans
3. Big Band (Louis Armstrong)
4. Cool Jazz (West Coast)

7. นำหัวข้อในข้อ 6 มาเปรียบเทียบกับ list ของ Scott Deveaux

ลองอ่านบทความใน http://jazzstudiesonline.org/?q=node/525 ครับ เรื่อง Constructing the Jazz Tradition (PDF File)

บทความ Constructing the Jazz Tradition ที่มีชื่อเสียงของ Scott Deveaux

บทความ Constructing the Jazz Tradition ที่มีชื่อเสียงของ Scott Deveaux

Scott Deveaux เป็นนักดนตรีชาติพันธุ์ ที่มีชื่อเสียงมากครับ เขาเล่าถึงว่า หนังสือแจ๊สทั่วไปมักกล่าวถึง
1. African Origin
2. Style in each Period เช่น Bebop 40s, Free Jazz 60s
3. ผู้นำในแต่ละ Style
4. เพลงที่ควรแนะนำกับผู้อ่าน

Scott DeVeaux specializes in jazz and American music, with secondary interests in ethnomusicology (Africa), popular music, and music and war.

จาก
http://artsandsciences.virginia.edu/music/people/faculty/academic/ScottDeVeaux.html

ถ้าเราเข้าไปค้นหา Table of Content ของ หนังสือที่ Scott เขียนจะพบว่า หนังสือของ Floyd นี้เรียงเหมือนกันเลยครับ ลองดูจากหนังสือ เรื่อง Jazz ~ Gary Giddins (Author), Scott DeVeaux (Author) ครับ

Jazz (Hardcover) ~ Gary Giddins (Author), Scott DeVeaux (Author)

Jazz (Hardcover) ~ Gary Giddins (Author), Scott DeVeaux (Author)

Table of Content

สารบัญ ของ Scott Devaux หน้าตาคล้ายกับของ Floyd Levin

สารบัญ ของ Scott Devaux หน้าตาคล้ายกับของ Floyd Levin

พูดถึง Louis Armstrong เหมือนกัน

พูดถึง Louis Armstrong เหมือนกัน

8. After Bebop. Problem of presenting the history of post-bop jazz

หมายถึง Scott Deveaux บอกว่า หลังยุค Bebop สไตล์ของเพลงไม่สามารถแย่งได้ว่า อะไรเกิดก่อนอะไรเกิดหลัง เกิดขึ้นเยอะไปหมด แล้วหนังสือเล่มนี้จัดการอย่างไร

คำตอบคือ หนังสือเล่มนี้ ไม่มีส่วนของ Post-Bop

9. ปี 1991 Scott Deveaux กล่าวว่า มีดนตรี 3 สไตล์ คือ Fusion, Avant-garde, Neoclassicists ถูกกล่าวว่าจะเป็นอนาคตของดนตรีแจ๊ส นั้น ในหนังสือของ Floyd มีพูดถึงหรือไม่

Fusion เกิดจากการหลอมรวมของ Jazz และ Rock แม้ว่าตัว Rock เองก็มาจากแจ๊ส แต่สุดท้ายก็กลับมารวมกัน นอกจากนี้ ยังมีดนตรี Soul, Funk เข้ามาร่วมด้วย ทั้งนี้มีเรื่องของคนฟัง และ Commercial เข้ามาทำให้ดนตรีชนิดนี้เป็นที่ถูกใจของคนในยุคนี้

Avant-Garde
คือ ทางแยกของ Fusion แม้ว่าฟิวชั่นจะมีเรื่องของธุรกิจ แต่ Avant-Garde จะเน้นเรื่องของ ART มากกว่า

Neoclassicists คือ การนำของเก่ามาสร้างอีกครั้งหนึ่ง เช่น การที่ Wynton Marsalis สร้าง Neo-New Orleans ขึ้นมาให้เป็นที่นิยมกันอีกครั้งหนึ่ง เราจะเห็นวีดีโอ ทีเล่นนิวออร์ลีนส์ ในแบบใหม่มากขึ้น เช่น

ในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้พูดถึงสามแนวดังกล่าวข้างต้นครับ

10. Deveaux claim two pervasive themes in defining Jazz: African-American Ethnicity, Jazz to Capitalism?

ตรงนี้ ถามว่า Scott Deveaux เขาบอกว่า ในการนิยามคำว่า “แจ๊ส” นั้น มีสองส่วน คือ การบอกถึงชาติพันธุ์ของแอฟริกัน-อเมริกัน และ การที่แจ๊สเดินไปคู่กับทุนนิยม (แจ๊สเชิงพาณิชย์)

จากหนังสือของ Floyd ในบทที่ 1 พูดถึงดนตรีของคนที่เป็น Creole หรือเป็นลูกครึ่งระหว่างคนผิวขาว และคนผิวดำ ซึ่งบอกถึงความเป็นชาติพันธุ์ ดังกล่าว

ในส่วนของทุนนิยม ในบทที่ 2 บอกถึง Recording หรือการบันทึกเสียง ซึ่งทำให้ผลงานของ Lieutenant Jim แพร่ไปทั่วยุโรป เพราะลักษณะของเศรษฐกิจในอเมริกา เป็น Capitalism (ทุนนิยม)คือ การส่งออกดนตรีแจ๊ส เป็นแผ่นบันทึกเสียง ส่งออกไปยังทั่วโลก หรือกล่าวได้ว่า ทุนนิยม นี้เอง ที่เป็นตัวพา Jazz ไปสู่คนทั่วโลก

บทที่ กล่าวถึง Louis Armstrong ซึ่งมีรายได้มากมายจากการขายแผ่นเสียงของเขา และ Black Artist ได้รับการยอมรับมากขึ้น จากบทความในบล็อกเดิม Jazz Timeline กล่าวว่า “Jazz breech race barrier” หรือดนตรีแจ๊สได้ทลายกำแพงที่แบ่งแยกคนขาวและคนดำในอเมริกา จึงเป็นความจริง

จากหน้า 16 Reb Spikes เจ้าของค่าย Sunshine Label เปิดร้านขายแผ่นเสียงของคนดำ และได้รับความนิยม และมีคนยินดีที่จะซื้อแผ่นของศิลปินคนดำ (ในสมัยนั้น คนดำ ไม่ได้รับการยอมรับในด้านใดๆ เลย) นอกจากนี้ ที่เมือง L.A. คนร่ำรวยที่อยู่ใน Hollywood ก็จะขับรถลีมูซีน มาเพื่อจะซื้อ “Dirty Record” (ดนตรีคนดำ) จะเห็นว่าเหยียดผิวสุดๆ แต่คนรวยพวกนี้ก็ยังซื้อไปฟัง…

Reference

เอกสารประกอบการสอน วิชา MUS 651 Jazz Studies and Analysis, สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย รังสิต หน้า 18-19.
Levin, Floyd. CLASSIC JAZZ: A Personal View of the Music and Musicians. Berkeley: University of California, 2000.

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar