“INSPIRATION” Lecture from Narong Prangchareon, World Composer

Date: 5 January 2010 Category: เรียนดนตรี

Lecture Note from Narong Prangchareon, World Composer

พี่ใหญ่ อ.ณรงค์ ปรางค์เจริญ นักแต่งเพลงคลาสสิกระดับโลก

วันนี้ได้เข้าฟัง บรรยายพิเศษ กับพี่ใหญ่ อ.ณรงค์ ปรางค์เจริญ ที่วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต ครับ เลยเก็บตกมาฝากกันครับ อ.ณรงค์ เป็น นักประพันธ์เพลง หรือ นักแต่งเพลง รุ่นใหม่ซึ่งดังมากครับ จากการที่ได้รางวัลชนะเลิศ จากการแต่งเพลงให้กับเมือง Anapolis ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะมาเป็น Washington DC ถ้าเทียบกับเมืองไทย อ.ว่าคือ อยุธยา เมืองเก่าของเราแต่ก่อน นั่นเอง รางวัลนี้นอกจากจะต้องแข่งขันสูงมาก และแข่งกับเจ้าถิ่นแล้ว รางวัลนี้ยังเป็นรางวัลในระดับเดียวกับ Corelli (ครบ 100 ปี) และ Beethoven (ครบ 200 ปี) ในปีนี้ครบ 300 ปีครับ

Annapolis CHARTER 300, Narong Prangcharoen

Annapolis CHARTER 300, Narong Prangcharoen

Annapolis Charter 300 Young Composers Competition

จาก http://www.ryt9.com/s/prg/372029

         นาย R. Lee Streby ประธาน Annapolis Symphony Orchestra(ASO) สหรัฐอเมริกา ได้แถลงผลการประกวดการแต่งเพลงคลาสสิคระดับโลก ANNAPOLIS CHARTER 300 YOUNG COMPOSER’S COMPETITION ซึ่งณรงค์ ปรางค์เจริญ ได้รับการคัดเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ 6 เสียงจาก 7 เสียง ให้เป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันครั้งนี้ ตัดสินโดยคณะกรรมการนานาชาติผู้ทรงคุณวุฒิถึง 5 คน อีกทั้งเป็นผู้ชนะเลิศคะแนนเสียงยอดนิยมสูงสุดจากผู้ชมและจากนักดนตรี ทั้งหมดของวง Annapolis Symphony Orchestra

         เพลงที่ทำให้ณรงค์คว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลกมาได้นี้ มีชื่อเป็นไทยๆว่า “ไตรศตวรรษ” ซึ่งใช้เวลากว่า 6 เดือนในการประพันธ์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความตั้งใจที่จะแต่งบทเพลงนี้ให้เป็นของขวัญจาก ประเทศไทยให้กับเมือง Annapolis สหรัฐอเมริกา เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 300 ปีของเมือง Annapolis
ณรงค์ตั้งความหวังที่จะเป็นผู้ชนะเลิศ เพราะตระหนักดีถึงรางวัลอันทรงเกียรติที่จะได้เป็น นักประพันธ์เพลงประจำปี 2008 ในการนำบทเพลงชนะเลิศบันทึกเสียงลงอัลบั้ม Charter 300 Commemorative Recording ควบคู่กับเพลงคลาสสิคระดับโลกที่เป็นอมตะตลอดกาลของ Arcangelo Corelli ปี 1708 Ludwig van Beethoven ปี 1808 Joseph-Maurice Ravel ปี 1908 และ ณรงค์ ปรางค์เจริญ สำหรับปี 2008 ณรงค์ทำได้สำเร็จตามความตั้งใจของตน อีกทั้งเป็นความสำเร็จของประเทศไทยด้วย

สำหรับภาษาอังกฤษ ด้านนี้ครับ http://www.annapolissymphony.org/pressroom/viewarticle.asp?id=20062156

ANNAPOLIS, MD – Under the title Three Symphonic Centuries, the Annapolis Symphony Orchestra will celebrate the signing of Annapolis’ historic city charter with dual concerts on November 7 and 8, the same weekend the charter was signed in 1708. The performances will take place at Maryland Hall for the Creative Arts at 8 p.m. The concerts mark the conclusion of the “Annapolis Charter 300 Young Composers’ Competition” with an encore performance of the competition winner Tri-Sattawat by the young Thai composer Narong Prangcharoen.

In addition, Music Director José-Luis Novo will conduct the orchestra in Corelli’s Concerto Grosso Op. 6 No. 9 (1708), Beethoven’s Symphony No. 5 in C minor (1808), and Ravel’s Rapsodie Espagnole (1908). To further commemorate the anniversary of the historic signing, the ASO will produce its first professional living recording. The design of the CD was donated by Judi Herrmann of Herrmann Designs, and the cover will feature a painting by local artist Lee Boynton entitled “Annapolis 1890.”

รวมคลิปเสียง Lecture อ.ณรงค์

01/05 Narong Prangcharoen ณรงค์ ปรางค์เจริญ Lecture
02/05 Narong Prangcharoen ณรงค์ ปรางค์เจริญ Lecture
03/05 ณรงค์ ปรางค์เจริญ World Composer
04/05 ณรงค์ ปรางค์เจริญ World Composer
05/05 ณรงค์ ปรางค์เจริญ World Composer

“INSPIRATION” แรงบันดาลใจของ นักแต่งเพลง นักประพันธ์เพลง

ผมพยายามสรุปๆ มานะครับ ถ้าอยากฟัง Lecture ให้คลิกฟังไฟล์เสียงได้เลยนะครับ
01/05 Narong Prangcharoen ณรงค์ ปรางค์เจริญ Lecture

INSPIRATION มาจากไหน? ยังไง?

อ.เปิดด้วยมุกครับ ว่ามาจาก “Deadline” หรือถึงเวลางานต้องส่งนั่นเอง แต่การแต่งเพลงที่ต้องแข่งกับเวลานั้น นักแต่งเพลง ก็ต้องหยิบจากส่ิงที่ใกล้ตัว ที่สังเกตได้ในชีวิตประจำวันนั่นเอง แล้วก็เปิดเพลง Minimalist music ซึ่งดูเหมือนไม่มี inspiration แต่ก็ต้องมีเหตุผลต่างๆ กันไป เช่น

      ได้จากธรรมชาติ จากสิ่งที่เราเห็น เปลี่ยนเป็นเสียงดนตรี
      พลังจิตใต้สำนึก (sub-concious) อารมณ์ เศร้า เสียใจ สูญเสียคนรัก
      การเมือง สังคม
      เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเราเอง
      จากเพลงอื่นๆ เช่น เราได้ฟังเพลงบ่อยๆ จนเข้ามาอยู่ในเราโดยไม่รู้ตัว

ตัวอย่างเพลง

ยังไม่บอกว่าเพลงไหนก่อนเพลงไหนหลังนะครับ แต่เปรียบเทียบ “Romeo Juliette” ของ Berlioz กับ “Tristan and Isolde” ของ Wagner อันนี้จะได้ยินเสียง อ.อาร์ต เราจะเห็นความเหมือนและความต่างของสองเพลงนี้ และสังเกตว่า เป็นเพลงเกี่ยวกับ ความรักที่ไม่สมหวัง เหมือนกัน

HECTOR BERLIOZ – Romeo et Juliette, op. 17 (1) Introduction

Wagner: Tristan und Isolde – Prelude

ตัวอย่างที่ 2 Inspiration จากตัวเอง

อ.ณรงค์ เรียกว่า การ copy ตัวเองนั่นเอง โดยให้ลองฟังจากเพลงของ Stravinsky และอีกเพลงซึ่งคล้ายกันมาก เมื่อฟังจาก Rhythm จะคล้ายกันให้ลองสังเกตดู เพลงแรกคือ Rite of Spring และเพลงสองคือ John Adam – EARBOX

The Rite of Spring – Salonen/LA Phil (I)

John Adams: Slonimsky’s Earbox (1996)

ดูหนัง ดูละคร แล้วย้อนฟังเพลง

ฟังกันต่อนะครับ อย่าเพิ่งเบื่อ ยังไม่ถึง Climax ของเรื่องครับ..
02/05 Narong Prangcharoen ณรงค์ ปรางค์เจริญ Lecture

ถ้าลองฟัง Score เพลงประกอบภาพยนตร์ แล้วลองสังเกตดู จะพบ Inspiration มากมายครับ ลองดูหนังใหญ่อย่าง Matrix, The Last Emperor หรือแม้แต่หนังวัยรุ่น ที่อ.ผมเอง อ.หง่าว บุญรัตน์ เขียนให้กับหนังไทย Season Change, After School

ในส่วนของอ.ณรงค์ ให้ฟังเพลงเปรียบเทียบกับ Beethoven Symphony No.7 ท่อนที่ 2 เพลงนี้เป็นของ John Corigliano ซึ่งได้รางวัลมากมายทั้ง Grammy และอื่นๆ เขาทำ Score ให้กับหนังอย่าง Red Violin

John Corigliano – Fantasia on an Ostinato

Beethoven, Symphony No 7, II – Karajan, Berliner Phil

หลังจากนั้นให้ลองกลับไปฟังเพลงจากภาพยนต์เรื่อง The Last Emperor ชื่อเพลง Rain กันเอง แล้วเปรียบเทียบกับงานของทันดุน the Blanket ซึ่งเมืองไทยเราก็หยิบมาโฆษณา สิงห์กอล์ฟ นั่นไงครับ

The Banquet – Tan Dun and Lang Lang

The Last Emperor OST – 06 Rain (I Want a Divorce)

นั่นคือ เพลงที่เราได้ยินนั้น ตัว Composer อาจลอกหรือไม่ลอก หรือใช้แรงบันดาลใจ หรือใช้บางส่วนได้ อืม ในความเห็นผม (@plajazz) มันต่างกับการลอกงานตรงๆ ครับ เพราะ อ.ณรงค์ อธิบายว่า ถึงแม้ว่า เราจะรู้ว่า หรือรู้สึกว่า Composer ลอกงานของคนโน้นคนนี้ แต่ถ้า Identity หรือ Fingerprint เอกลักษณ์ที่เราเห็น ได้ฟัง และบอกได้ว่า นี่แหละ เพลงของคนนี้ ก็เรียกว่าเป็น Inspiration นั่นเองครับ ในด้าน Jazz การ Improvisation ก็อาจจะมาจากเพลงอื่นๆ ที่เรียกว่า Quote หรือ Lick นั่นเอง

Inspiration ของ อ.ณรงค์

03/05 ณรงค์ ปรางค์เจริญ World Composer
ในส่วนตัวของพี่ใหญ่ พี่ใหญ่บอกว่า เพลงของเขา มาจาก 2 Inspiration
1.ภัยธรรมชาติ เช่น เพลงที่เขียนเนื่องจากพายุนากีส
2.จิตวิญญาณ เช่น เพลงนมัสการ-สาธุการ-อวตาร(ไม่ใช่หนังนะครับ)

Inspiration in “Whispering – Narong Prangcharoen”

Whispering เพลงที่เขียนให้กับพายุนากีส แบ่งเป็นสามท่อน

    1. Call from the Earth คือ เสียงจากธรรมชาติที่เตือนภัยมนุษย์ แม้จะ whisper (กระซิบ) แต่ธรรมชาติ เสียงย่อมยิ่งใหญ่
    2. Conversation Heaven and Earth คือ เสียงของลูกชายที่สูญเสียแม่แทนด้วย Soprano Sax และแม่ที่อยู่บนสวรรค์ แทนด้วย Bass Clarinet
    3. Play from Mankind คือ การเต้นรำของมนุษยชาติเพื่อขอให้ธรรมชาติเมตตา

จากเพลงพม่า ที่มีลักษณะของ Hocket หรือการสะอึก การหยุดเพลง อ.เลือกเพลงพม่า เพราะ เพลงไทยทำโดยคนไทย มันก็ไม่น่าสนใจเท่ามุมมองที่เรามองพม่า พี่ใหญ่เอาเพลงพม่ามารวมกับเพลงจีน และเพลงอีสาน แต่เลือกให้ Texture หลักมาจากพม่า เขียนให้กับ Soprano Sax, Bass Clarinet, Piano, Percussion นอกจากนี้ ยังใช้สเกลพม่า โดยให้ Soprano Saxophone ใช้น้ิวแทน (น้ิวผี) หรือ Quarter Tone ให้เพี้ยนออกไปจากสเกลสากลปกติ เพื่อให้เกิด Sound Effect ตามที่ Composer ต้องการ

แล้ว Inspiration มาจากไหน ยังไง? อ.เล่าว่า ตราบใดที่เราเป็นตัวของตัวเองอยู่ การลอกเพลงก็ไม่ได้มาหมด แต่จะต่างจากต้นฉบับ โดยมาก เพลงของ Composer มักจะคล้ายๆ เดิมตลอดครับ

กราฟของเพลง และ “ไตรศตวรรษ” ชนะเลิศประกวด 300 ปี เมือง Annapolis

04/05 ณรงค์ ปรางค์เจริญ World Composer

ในส่วนของเทคนิคการแต่งเพลง ก็คล้ายกับการวาดภาพ หลังจากได้แรงบันดาลใจแล้ว ก็จะทำการขึ้นโครง โดยคิด Motif หลัก และวางโครงสร้างเป็นกราฟ ว่า เบา-ดังรูปไหน หน้าตา Melody ขึ้นลงอย่างไร นาทีนี้มีอะไรเกิดขึ้น แล้วก็ลงมาในส่วนเทคนิค

พี่ใหญ่ยกตัวอย่าง Stravinsky – Rite of Spring ซึ่งพี่ใหญ่ใช้ Motif คล้ายกัน และใช้ Bassoon เล่นเหมือนกัน โน้ตก็คล้ายๆ กัน เพลงของพี่ใหญ่ เพลงนี้ คือ “ไตรทศวรรษ” ซึ่งเป็นเพลงที่ได้รางวัล Annapolis Charter 300 นั่นเองครับ อ.ก็เล่าความเป็นมาด้วย และจริงๆ งานนี้เราเสียเปรียบเจ้าถิ่น เพราะ เราเองก็ไม่รู้ประวัติศาสตร์ของอเมริกามากมายนัก เราไม่ได้อยู่ในสังคมของเขา ไม่ได้เห็นสงครามกลางเมือง ต่างๆ แต่ก็ใช้จินตนาการเอา และค้นคว้าจากรูปภาพ จากประวัติ จาก Google ฯลฯ

ในความเห็นผม จากการฟังงานของพี่ใหญ่แล้ว เขาเลือกใช้ สีสัน หรือ Tone Color และ Effect ได้พอเหมาะลงตัวมาก สมกับที่ได้รับยกย่องจาก LA Times ว่าเป็น “นักประพันธ์เพลงที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสีสัน สำหรับวงออเคสตร้า” (จาก http://www.narongmusic.com/Biography/th/)

Thai composer, Narong Prangcharoen has been called by the LA Times a “composer with a gift for creating orchestral color.”

พี่ใหญ่ใช้บางส่วนจาก “Rite of Spring” คือเอาการจัดวางของ Stravinsky มาใช้ เนื่องจากพี่ใหญ่ชอบสตราวินสกีมาก เลยเปรียบเทียบตัวเองกับครู ให้สตราฯ​ 10 เราทำได้เท่าไหร่แล้ว 3,4,ถ้าได้ 7 คะแนน แปลว่า เราโอเคแล้ว

เพลงไหนดี เพลงไหนไม่ดี?

05/05 ณรงค์ ปรางค์เจริญ World Composer

แต่งเพลงก็เป็น Skill อย่างนึง ยิ่งแต่งก็ยิ่งง่ายขึ้นๆ คล่องขึ้น และทำได้เร็วขึ้น ขั้นต่อไป หลังจาก Inspiration และ ใช้เทคนิคแต่งเพลงแล้ว ถ้าถามต่อว่า เพลงเราดีหรือไม่ดี?

พี่ใหญ่ตอบกำปั้นทุบดินเลยว่า ถ้าเราชอบ ฟังแล้วเพราะ ไม่จำเป็นต้องมีเทคนิคหรูหรา ก็ถือว่าดีแล้วครับ

ในส่วนของการประกวด ก็จะคล้ายกับการเล่นกีฬา อย่าง เทนนิส กอล์ฟ หรือ สนุ๊กเกอร์ คือ Skill หรือที่เรียกว่า Academic เป็นสิ่งที่คณะกรรมการ ซึ่งก็เป็น Professor ทั้งนั้น จะมองว่า เราใช้เทคนิคนั้นๆ ได้เหมาะสมหรือไม่ แต่สุดท้ายแล้ว ก็เน้นที่ “เสียงที่ออกมา” นั่นเอง

Concept VS เสียง :Sound Design

ในความเห็นของพี่ใหญ่ “เสียง” ย่อมสำคัญกว่า ถ้าเราลองฟังเพลงชื่อ “จักรา” ที่พี่ใหญ่แต่ง ฟังปุ๊บ เราบอกได้ว่ามีความดัง ความดุ และอื่นๆ ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องทราบ Concept แต่ถ้าจะอธิบายกันจริงๆ ก็อย่างใน Lecture ครับ คือ พี่ใหญ่ Organize pitch ให้ไม่มีโน้ต C แล้ววิ่งไปหาโน้ต C แต่ไม่มีโน้ต C จริงๆ แต่คนฟังไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องนี้ แต่ “ชิ้นงาน” หรือ “เพลง” หรือ “เสียง” ที่ออกมาก นั่นเอง

John Corigliano – Circa Snapshot 1909

นักแต่งเพลง John Corigliano คนเดียวกับที่แต่ง Fantasia on Ostinato และ Red Violin นั่นเอง เพลงเพราะมากครับ ลองฟังในคลิปเสียงดูครับ ผมหา youtube ไม่เจอ เป็นเพลงที่เขียนถึง พ่อ และ ลุง ซึ่งถ่ายรูปไว้ด้วยกันครับ รูปนี้แหละ

Corigliano - Circa Snapshot 1909

Corigliano - Circa Snapshot 1909

เพลงนี้เริ่มที่เรนจ์กลาง แสดงถึงตอนเด็กที่คุณพ่อเพิ่งหัดเล่น จนยากขึ้นๆ โตขึ้นตามวัยจนคุณพ่อเป็น Concert Master

Chen Yi และ Ju Long

Chen Yi นิสัยคล้าย Mozart ทำงานไวมาก ในขณะที่ Ju Long เหมือน Beethoven ทำแล้วลบๆ ตอนนี้ทำ Opera นางพญางูขาว อยู่ ได้ค่าแต่ง 1M$ เลยล่ะครับ

เสร็จแล้วก็เป็นคำถามจากผมนะครับ คือ อยากรู้ว่า Composer จะรู้เทคนิคของแต่ละเครื่องได้อย่างไร? อ.ก็ใช้ความเป็นไทย ชวนนักดนตรีต่างๆ มาบ้านพี่ใหญ่ ทำผัดไทยเลี้ยง แล้วก็หลอกถามว่า เพลงนี้ ตรงนี้ เวิร์กไหม เขาก็จะบอกให้ครับ เรียกว่า “เอาอาหารไปล่อ” นั่นเอง อิอิอิ เพราะถ้าเราแต่งแล้วไม่ Practical เราจะไม่มีโอกาสแก้ตัวครับ ต้องพยายามทำให้ออกมาดี

และฝากกันสำหรับปีการศึกษาหน้า ทางวิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต จะเป็นเจ้าภาพในการจัด Composition Festival ครับ ซึ่งปีที่ผ่านมาจัดที่ ม.ศิลปากร ผมได้เล่นเพลงอ.หง่าว เพลงนึงครับ Safron ซึ่งเขียนให้กับเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองในพม่า ที่มีการกวาดล้าง พระในประเทศพม่าครับ

BibloGraphy ข่าวที่เกี่ยวข้อง

http://www.ryt9.com/s/prg/372029
http://composersforum.org/member_profile.cfm?oid=5091
http://composersforum.org/member_profile.cfm?oid=5091
http://www.narongmusic.com/Biography/th/
http://hilight.kapook.com/view/25116
http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=21A2104F5E9EC5B5D01A2C42DA087BC7&sec=&query=Q0hBUlRFUg==
http://www.annapolissymphony.org/pressroom/viewarticle.asp?id=20062156

และบทสัมภาษณ์นี้น่าสนใจครับ ขออนุญาติ Quote บางส่วนซึ่งเป็นเรื่องที่พี่ใหญ่เคยเล่าให้ฟังเมื่อ Lecture เทอมที่แล้วในคาบเรียน อ.เด่น อยู่ประเสริฐ ครับ

จาก http://www.voanews.com/thai/archive/2007-09/2007-09-09-voa1.cfm?moddate=2007-09-09

อาจารย์ณรงค์เริ่มสนใจดนตรีมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อมาเรียนต่อชั้นมัธยมที่กรุงเทพฯ ได้เข้าร่วมวงโยธวาธิตของโรงเรียน และรู้สึกว่า ดนตรี เป็นเรื่องสนุกและได้ผ่อนคลาย

พอหลังจากที่ จบโรงเรียนมัธยม อาจารย์ณรงค์ ไปเรียนต่อ เป็นดนตรีศึกษาที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ พอจบก็เริ่มสนใจด้านการประพันธ์เพลง เพราะว่า เมื่อก่อนอยากเป็นนักเปียโน แต่นักเปียโนต้องซ้อมเยอะมาก ก็เลยรู้สึกเบื่อและอยากทำกิจกรรมอย่างอื่น แล้วอาจารย์ Kit Young เป็นผู้ชี้นำว่า ให้ลองเรียน การประพันธ์เพลง จากอาจารย์ดร. ณรงค์ฤทธิ์ พอเรียนจบจากอาจารย์ดร. ณรงค์ฤทธิ์ เรียนได้ประมาณสองปี ก็ได้ทุนให้มาเรียนต่อปริญญาโทที่ Illinois State University พอจบโทก็ได้ทุนอีก ให้มาเรียนปริญญาเอกที่ University of Missouri at Kansas City ตอนนี้ อาจารย์ที่เป็นอาจารย์ที่สำคัญที่สุดในการเรียนการประพันธ์เพลง คือ อาจารย์ Dr. Chen Yi ซึ่งเป็นคนจีน

คีตกวีที่เป็นแรงบันดาลใจ ของอาจารย์ณรงค์ มีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่า อย่างเช่น Beethoven, Stravinsky หรือว่า รุ่นใหม่ เช่น John Corigliano แต่ว่า บุคคลที่ให้แรงบันดาลใจ และช่วยเหลือทางด้านดนตรี มีอยู่ไม่กี่ท่าน ท่านแรกคือ คือ คุณแม่บุญธรรม ดร. วิภา คงคากุล อาจารย์ Kit Young และอาจารย์ Bennett Lerner ซึ่งเป็นผู้ช่วยชี้นำเรื่องดนตรีสมัยใหม่ และท่านสุดท้ายคือ ดร. ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ซึ่งเป็นอาจารย์สอนการประพันธ์เพลงคนแรก

ในขณะที่กำลังทำปริญญาเอก อยู่นี้ อาจารย์ณรงค์ ยังเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนที่คณะด้วย ระหว่างที่ทั้งเรียนทั้งสอนอยู่นี้ อาจารย์ณรงค์ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนักศึกษาไทยและต่างชาติว่า การเรียนการสอน มีทั้งส่วนเหมือนและส่วนต่าง คือเด็กๆ ยังไงก็ยังเป็นเด็กอยู่ดี เพราะฉะนั้น ในด้านความตั้งใจเรียน เด็กไทยบางครั้งจะมากกว่าด้วยซ้ำ แต่เด็กไทยอาจจะขาดในด้านการกล้าแสดงออก หรือการกล้าถามคำถาม เพราะฉะนั้น เวลาที่เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน composition เป็นเรื่องของอะไรที่อยู่ข้างในตัวของเราเอง เพราะฉะนั้น ถ้าเขาไม่กล้าคืด ไม่กล้าแสดงออก หรือถามคำถาม ลองผิดลองถูก อาจจะทำให้การศึกษาทางด้านการประพันธ์เพลง เป็นไปได้ช้าลง

ถ้ามี Open Lecture เกี่ยวกับการ Composition, New Music หรือ อ.ณรงค์ ปรางค์เจริญ จะรีบบอกใน blog นี้เลยครับ หรือตามผมได้ที่ twitter @plajazz และ www.facebook.com/plajazz ครับ

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar