Jazz and Music Social Network

จริงๆ ตั้งใจว่าจะ blog เรื่องสังคมคนแจ๊ส ทั้งคนฟังและคนเล่นครับ เริ่มจากมีน้องคนนึงมาขอสัมภาษณ์ทำรายงาน วิชาของพี่รักษ์​ อนันต์​ ลือประดิษฐ์ แห่ง “จุดประกาย” แต่ผมขยายมาเป็นสำหรับคนดนตรีด้วย ว่าเรามารู้จักกันได้ไง คนที่ชอบดนตรีเขารวมกลุ่มกันอย่างไร

ลองฟังสัมภาษณ์บางช่วงดูครับ เบาเสียงก็ดีครับ เพราะผมหัวเราะดังมากๆ 555

สัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ กับน้องนัท French Horn ม.มหิดล ตอนที่ 1

[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/02/Interview-1.mp3|titles=Interview 1]

สัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ กับน้องนัท French Horn ม.มหิดล ตอนที่ 2

[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/02/Interview-2.mp3|titles=Interview 2]

ในตอนแรกที่ผมเริ่มรู้จักกับแจ๊ส ประมาณปี 2538 คือ ตอนที่ผมได้เข้ามาที่ C.U. Band นั่นเองครับ คำว่า Swing ก็เข้ามาอยู่ในหัว หลังจากนั้น ก็มี เทศกาลที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Bangkok Jazz Festival ก็ได้ครับ คือ งาน แจ๊สเฉลิมพระเกียรติ จัดที่สวนอัมพร ขณะนั้นผมได้มีโอกาสเข้าไปงานด้วยครับ จริงๆ ไม่ทราบข่าว แต่ได้ อ.สันทัด ตัณฑนันท์ แนะนำและพาเข้าไปครับ งานตื่นตาตื่นใจมาก มีวงเล่นกันสดๆ ทุกหัวมุมในบริเวณ สวนอัมพร แม้เสียงจะตีกันไปบ้าง แต่สนุกจริงๆ ครับ

งานนั้นเสียดาย ที่เราเสียบุคลากรดีๆ ไป คือ อ.น้อย อานนท์​ ที่เป็นผู้่ก่อตั้ง Arnon Jazz Band พร้อมกับ Art Porter นั่นแหละครับ ปัจจุบัน วงลูกศิษย์ก็ยังเล่นกันอยู่นะครับ ที่ร้านแซกโซโฟน ผับ ทุกวันจันทร์-อังคาร

จุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ # 18
ตอน Bangkok Jazz All-Star tribute to ARNON
รำลึกถึง อานนท์ ศิริสมบัติวัฒนา

ชื่อ “อานนท์ ศิริสมบัติวัฒนา” อาจจะไม่เป็นที่รู้จักสำหรับผู้คนวงกว้าง แต่ในแวดวงดนตรีแจ๊สบ้านเราแล้ว “อานนท์” หรือที่เพื่อนสนิทมิตรสหาย รวมถึงบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายต่างเรียกหาอย่างรักใคร่ว่า “อาจารย์น้อย” นั้น คือ บุคคลสำคัญคนหนึ่งซึ่งมีส่วนสำคัญ ในการพลิกโฉมหน้าวงการดนตรีบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างบุคลากรทางดนตรี อานนท์ หรือ อาจารย์น้อย ของลูกศิษย์ เป็นผู้นำความรู้ และประสบการณ์มาถ่ายทอดจนเกิดเป็น “โรงเรียนอานนท์การดนตรี” ซึ่งสามารถตอบสนอง ความต้องการของนักศึกษาดนตรีรุ่นใหม่ ที่สนใจในดนตรีแขนงนี้ เพราะในห้วงเวลานั้น ยังไม่มีสถาบันระดับอุดมศึกษาของไทยแห่งใด ที่เปิดสอนหลักสูตรดนตรีแจ๊สเป็นเรื่องเป็นราว เหมือนเช่นทุกวันนี้ ไม่เพียงงานด้านการสอน อานนท์ ยังทำวงดนตรีเปิดแสดงเป็นประจำในนามของ “อานนท์ แจ๊ส แบนด์” โดยมีบ้านหลักอยู่ที่ แซ็กโซโฟน ผับ ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

น่าเสียดายว่า ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่วงการแจ๊สไทยกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ กระทั่งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันดนตรีที่เปิดสอนวิชาเอกดนตรีแจ๊ส และงานด้านวัฒนธรรม เช่นการจัดเทศกาลดนตรีแจ๊สประจำปีอย่างกว้างขวาง แต่ อานนท์ ศิริสมบัติวัฒนา พร้อมด้วยภริยา กลับไม่มีโอกาสมีชีวิตอยู่เพื่อชื่นชมพัฒนาการ ทางด้านนี้ที่กำลังผลิบานขึ้นในสังคมไทย หลังจากเทศกาลดนตรีแจ๊สที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สวนอัมพร เมื่อ 1 ทศวรรษก่อน อานนท์ และภริยา พร้อมด้วยเพื่อนสนิทซึ่ง ณ เวลานั้น นับเป็นมือแซ็กโซโฟนดาวรุ่งของวงการ นาม อาร์ต พอร์เทอร์ ได้จบชีวิตลงด้วยอุบัติเหตุทางน้ำที่จังหวัดกาญจนบุรี การจากไปของ อานนท์ ศิริสมบัติวัฒนา เป็นการสูญเสียครั้งสำคัญของวงการแจ๊สไทย !

แต่ในเวลาเดียวกัน พืชพันธุ์ทางด้านดนตรีที่ อานนท์ มีส่วนในการบ่มเพาะขึ้นมา ในวันนี้ได้เติบโตและแพร่กระจายออกไปอย่างเต็มที่ ปัจจุบันวงดนตรี “อานนท์ แจ๊ส แบนด์” โดยคนรุ่นใหม่ ยังบรรเลงอย่างต่อเนื่อง ทุกค่ำคืนวันจันทร์-อังคารที่ แซ็กโซโฟน ผับ เหล่าศิลปินกว่า 20 ชีวิต ซึ่งเป็นทั้งผองเพื่อน และบรรดาลูกศิษย์ของ อานนท์ ศิริสมบัติวัฒนา จะรวมตัวกันเล่นดนตรี เพื่อระลึกถึงครบรอบ 1 ทศวรรษการเสียชีวิตของนักกีตาร์แจ๊ส ที่มีหัวใจในการผลักดันงานดนตรีดีๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย เพราะเขาเป็นทั้งนักดนตรี นักการศึกษา และนักกิจกรรมวัฒนธรรม

ติดตามภาพในคอนเสิร์ตจุดประกาย ได้ที่ Blog คุณเอ๋ ผกานะครับ

สำหรับคอนเสิร์ตในงานแจ๊สที่สวนอัมพร สัญญาว่าจะหามาให้นะครับ มีพี่ที่รู้จักอัดเก็บไว้ และมีอีกงานที่บางคนยังไม่รู้ คือ แจ๊สที่จัดที่สวนตรงข้าม สวนเจ้าเชษฐ์ ครับ ไว้มีโอกาสจะอัพให้ดูกันครับ

สังคมแจ๊ส เอง ในส่วนที่ผมได้สัมผัส มีทั้ง Online และ Offline นะครับ สำหรับ Online ลองอ่านใน hitmanjazz ฮิตแมนแจ๊ส ตอนที่ 1 Marketing Strategy ผมมาเพิ่มรูปให้ดูกันนะครับ

ในสังคมออนไลน์ เมื่อสักสิบกว่าปีก่อน ก็ได้สื่อออนไลน์ อย่าง พันทิบ pantip.com ซึ่งก็เริ่มจากเวบบอร์ดของห้องเฉลิมไทย สำหรับกลุ่ม Niche อย่าง แจ๊ส และคลาสสิก ในที่สุด จากกระแสของคอนเสิร์ต รวมทั้งการรวมกลุ่มกันทั้งเพื่อสังสรรค์​และบัตรฟรี (อิอิ) และการมาของ Bangkok Jazz Festival รวมถึงอีเวนต์ต่างๆ ของห้องเฉลิมไทยเอง ก็ทำให้ แจ๊สคลับ พันทิบ เกิดขึ้นมา ลองเข้าไปดู http://jazzclub.pantipmember.com/ นะครับ ผมเองก็ได้ทำหน้าที่ในฐานะ “กล่องดำ” คือ ช่องทางสื่อสาร ระหว่างสมาชิกครับ

ตอนนั้นพวกเราเองก็สนุกกันมากครับ แต่ตอนหลังก็ซาไป ด้วยกระแสแจ๊สที่เริ่มซา คนที่ชอบเองก็มี ego ประมาณนึง และทุกคนเริ่มยุ่ง รวมทั้งการเกิดของ web 2.0 ที่แต่ละคนก็มักมีเวบไซต์ของตัวเอง (เวบผมเอง www.plajazz.com ก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ)

Christian Music

อีกกลุ่มนึงที่ผมได้สัมผัสและใช้ชีวิตด้วย คือ กลุ่มคริสเตียนครับ ซึ่งใช้เพลงในการสรรเสริญพระเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเพลงแบบใด Pop, Jazz, Country ก็สามารถนำมาใช้ในการนมัสการได้ทั้งนั้นครับ และมักจะแต่งใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ พระคัมภีร์ที่ว่า

“จงร้องเพลงบทใหม่ถวายพระเจ้า แผ่นดินโลกทั้งสิ้นจงร้องเพลงถวายพระเจ้า” สดด.96:1

อ่านเรื่อง ความสำคัญของดนตรี

และคริสเตียนไทยเองก็เคยมีคอนเสิร์ตแจ๊สด้วย เช่น Jazz in Church ซึ่งนำโดยทีมอนุชน คริสตจักรอิมมานูเอล และน้องซัน รัตนะ วงศ์สรรเสริญ ชื่องาน “Sunrise in the Darkness” by Rattana Wongsansern

สำหรับเพลง ผมนำมาให้ดูกันสองช่วงนะครับ เป็น Event ที่น้องๆ มามอบดอกไม้ให้กับคุณพอ่คุณแม่ เนื่องในวันวาเลนไทน์ และช่วง Doxology หรือ สรรเสริญพระเจ้าผู้อำนวยพร

สังคมชาวคริสเตียน กับการร้องสรรเสริญพระเจ้า

สรรเสริญพระเจ้าผู้อำนวยพร

iHear at #Wawee

สังคมออนไลน์ ในปัจจุบัน นอกจากพันทิบ และเวบอื่นๆ เช่น siambass, easydrum, guitarthai ซึ่งก็ยังได้รับความนิยมอยู่นะครับ แต่เรามีช่องทางใหม่ คือ Social Network ในไทยเราเริ่มจาก Multiply, hi5 จนมาบูมเอาในช่วงที่ Twitter, Facebook ดัง ตรงนี้ก็เริ่มมีสังคมออนไลน์รุ่นใหม่เกิดขึ้น วง iHear นับเป็นหนึ่งในนั้นครับ มาดู Event วันวาเลนไทน์ กันครับ

Valentine Day: #LoveFail Camp

เป็นอีกวันที่คุณพัด @iPattt ไม่ว่าง แต่เราก็เล่นกันได้ แถมผมเองก็ยุ่ง และติดงานสอนทำให้เล่นได้ไม่ถนัด แจมแค่เพลงสองเพลงเองครับ ได้ @iChattt @iPoup2e @iNattt ก็เอาอยู่แล้วครับ

Just the two of us

ฉันรักผัวเขา

อันนี้ฮามากมายครับ ได้เพลง Cherry Pink มาผสมกับ เอื้ออาทรฉันที ก็เป็นอย่างที่เห็นครับ

Theme งาน เพลงสำหรับคนอกหัก

ส่วนใหญ่ คนที่มีคู่ก็จะไปที่อื่นๆ เราเลยมีร้านกาแฟสำหรับคนอกหัก ก็ต้องมีเพลงอกหัก อย่าง “ดนตรีนั้นเล่นอยู่ ฟังฉันฟังอยู่…” ของ Groove Rider ในเพลง Song for the Past Love

รถไฟฟ้า มาหานะเธอ

แล้วก็เพลงยอดนิยม อย่าง “โปรดส่งใครมารักฉันที”

Retro: คนไม่มีแฟน

สำหรับคอเพลงเก่าก็ต้องพี่เบิร์ดครับ

ดีเกินไป

เพลงนี้ทุกคนช่วยกันร้อง ได้อารมณ์ร่วมดีมากๆ

Jam Session

สำหรับสังคมออฟไลน์ เป็นกลุ่มนักดนตรีอาชีพ ที่เล่นในโรงแรม หรือผับครับ ก็จะรวมกลุ่มกันเหมือนใน 52nd Street ของเมืองฮาเร็ม ลองอ่านใน Jazz in the School: Bebop and Modernism นะครับ ผับแจ๊สที่ดังๆ ก็มี Saxophone Pub, Brown Sugar, Witch Travern ครับ เมื่อก่อนก็มีอีกหลายแห่งครับ แต่ก็ทยอยล้มหายตายจากไปบ้าง

Saxohpone Pub

เดี๋ยวนี้ก็ปรับให้สนุกขึ้นครับ อย่างของ JRP Little Bigband เองก็กลัวน้อยหน้าวง iHear ก็เลยมีการจับกันเป็นรถไฟ เดินแห่กันรอบร้าน แบบ New Orleans Jazz เลยครับ

Brown Sugar

ทางวง ZZD: Zao-za-dung Band หรือวง “สาวสะดุ้ง” เองก็ไม่น้อยหน้าครับ เพลงก็สนุกสนานเพลิดเพลิน กัน ส่วนช่วงหัวค่ำ ที่ไม่เชิงเป็นช่วงแจม แต่ก็สามารถเข้าไปแจมด้วยได้ครับ วันนั้นผมได้เจอ คุณ Peter ซึ่งพูดไทยชัดแจ๋ว แถมเขียนอ่านภาษาไทยได้ด้วยครับ เป็น Host ที่น่ารักมากๆ คุณปีเตอร์เองเกษียณแล้ว แต่ก็ยังหา Gig เล่นอยู่เช่นกันครับ คนดนตรี ยังไงก็เลิกเล่นไม่ได้

เจ๊ขวัญ แจมเพลง How high the Moon

นักร้องฟิลิปปินส์ ที่ Brown Sugar

Witch Travern

แม่มด เป็นชื่อเล่นของผับ Witch Travern ครับ ซึ่งปกติก็จะเป็นแนวอื่นๆ แต่ด้วยความชอบของเจ้าของร้าน ก็เลยจัดให้วันอาทิตย์เป็น Jazz Jam Session ซึ่งก็เล่นกันมาจะ 20 ปีแล้วครับ บรรยากาศสนุกสนานเป็นกันเอง วันที่ผมแจมเป็นวาเลนไทน์ ยิ่งมีคนดูก็ยิ่งสนุกครับ

iHear งานแต่งงาน

แถมท้ายกับวง iHear ครับ คราวนี้เรา Jam กับแขกเจ้าบ่าว เป็นชาวอินเดีย ครับ สนุกดี ถ้าใครโหลด facebook ไม่ขึ้น อดใจรอนะครับ เดี๋ยวอัพ youtube ให้ครับ

JAM SESSION INDIA STYLE

JAM SESSION INDIA STYLE

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar