ทุนเรียนดนตรี เนเธอร์แลนด์ (ตอนที่ 2) Prince Claus

Prince Claus Conservatoire – Hanzehogeschool Groningen

blog นี้เป็นตอนต่อจาก Benny Golson,Denny, Joris กับ ทุนเรียนดนตรี เนเธอร์แลนด์ (ตอนที่ 1) นะครับ ผมใช้เวลาในการดำเนินเรื่องหลายขั้นตอนทีเดียวครับ เลยอยากจะแชร์บ้าง ทั้งขั้นตอนการดำเนินการ และหลายๆ จุดที่ผมพลาดไปครับ

ระบบการศึกษาระดับปริญญาในเนเธอร์แลนด์

จาก ระบบการศึกษาระดับปริญญาในเนเธอร์แลนด์

[บทความโดย พี่กวาง Apiradee Poungjit]

การเรียนระดับปริญญาที่เนเธอร์แลนด์นั้น จะแบ่งสถานศึกษาออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. โฮคเคอะสโคล (hogeschool หรือ การศึกษาระดับฮาเบโอ HBO-Hoger beroepsonderwijs) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตัวอักษรคือ โรงเรียนฝึกวิชาชีพขั้นสูง แต่ความหมายโดยรวมแล้วน่าจะราวๆ “วิทยาลัย” เพราะการเรียนจะง่ายกว่าระดับมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์ การเรียนในโฮคสโคลจะเรียน 4 ปีแล้วได้รับปริญญาตรี การเรียนในโฮคสโคลจะเน้นภาคปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี

2. มหาวิทยาลัย (universiteit-อูนิเแฟร์ซิไต๋ทฺ หรือ การศึกษาระดับเวโอ WO- Wetenschappelijk onderwijs = scientific education) การเรียนในมหาวิทยาลัยระบบดัชต์สมัยก่อน สาขาวิชาส่วนใหญ่จะใช้เวลาเรียน 4 ปี โดยนักศึกษาต้องสอบให้ผ่านปีแรก (propedeuse-โพรเพอะเด๊าเสอะ) ถึงจะมีสิทธิได้เรียนต่อในปีต่อไป และบัณฑิตที่จบออกมาจะได้คำนำหน้าชื่อว่า drs. ย่อมาจากภาษาละตินว่า doctorandus (ด็อกเตอะรันดึส) แปลประมาณว่า “ผู้ที่พร้อมเรียนต่อปริญญาเอก” หลักสูตรปริญญานี้เทียบเท่ากับเรียนจบขั้นปริญญาโท (โดยที่ไม่ได้แบ่งแยกปริญญาตรีและปริญญาโทออกจากกัน) [บางสาขาวิชา จะมีคำนำหน้าชื่อบัณฑิตที่แตกต่างออกไปจาก drs. เช่น mr. สำหรับสาขานิติศาสตร์, ir. สำหรับสาขาวิศวกรรมศาสตร์]

ส่วนมหาวิทยาลัยที่ผมไปนั้นชื่อ แฮนเซ เป็นแบบแรกครับ ชื่อ Hanzehogeschool อยู่ที่เมือง Groningen อยู่เหนือสุดของเนเธอร์แลนด์ ด้านตะวันออกติดประเทศเยอรมัน ส่วนวิทยาลัยดนตรีที่ไปเรียนชื่อ ปริ้นซ์คลอซ Prince Claus Conservatoire ครับ (เดิมชื่อว่า North-Netherlands Conservatoire ส่วนในภาษาดัตซ์ก็จะเขียนว่า Prins Claus Conservatorium) โครงการที่ไปชื่อว่า NEW YORK COMES TO GRONINGEN ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2001

Netherlands map

Netherlands map

NEW YORK COMES TO GRONINGEN

Prince Claus Conservatoire – Hanzehogeschool Groningen

จาก Prins Claus Conservatorium, Bachelor Programmes

The Jazz Department of the Prince Claus Conservatoire is like no other jazz school. ‘New York Comes to Groningen’ is the name of this program: a program that gives students the opportunity to learn the values of tradition and exploration that are associated with musicians on the New York Jazz scene.

โครงการนี้มีความแตกต่างจากโครงการอื่น คืือ มีการเชิญนักดนตรีจากนิวยอร์กมาสอนด้วยครับ

In addition to ongoing weekly instruction from a world class Dutch faculty, each student receives lessons from our visiting New York jazz faculty which features Joris Teepe (bass and head of the jazz department), Don Braden (sax), Ralph Peterson (drums), Alex Sipiagin (trumpet), Dena DeRose (vocals), David Berkman (piano), Mark Gross (sax) and Freddie Bryant (guitar).

คณาจารย์ผู้สอนนำโดย ยอริส เทปเป้ มือเบสและหัวหน้าสาขาวิชาแจ๊สครับ คนที่มาเล่นกับ Benny Golson ที่เมืองไทย และเจอกับผมนั่นเองครับ

These New York musicians each teach for one week as part of a rotating system, each teacher returning every 2 months or so for the duration of the school year. Each guest teacher teaches private lessons for the students who play the guest teacher’s instrument, but guest teachers also teach history, listening sessions, theory, ensembles and master classes, covering subjects that concern every student.

ระบบการเรียนการสอน จะมีการวนโดยอาจารย์ที่เชิญมาจะสอนทั้งเครื่องมือดนตรี, ประวัติศาสตร์, การฟัง, ทฤษฎี, รวมวง และมาสเตอร์คลาส ในกรณีของแจ๊ส แม้เครื่องดนตรีคนละชนิดกันก็สามารถถ่ายทอดแนวคิดและแนวทางการเล่นได้ครับ

คลิกฟังเสียงสัมภาษณ์คณาจารย์ครับ

ข้อมูลทั่วไปประเทศเนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Nederland ; อังกฤษ: the Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ “ฮอลันดา”มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Kingdom of the Netherlands) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Neder” หรือ “ต่ำ” เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เนเธอร์แลนด์ได้ปรับพื้นที่โดยการสูบน้ำออกจากทะเลสาบและทางน้ำต่าง ๆ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ เนเธอร์แลนด์จึงมี เขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศประสบภาวะอุทกภัย เนเธอร์แลนด์จึงมีสิ่งก่อสร้างด้านวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

การศึกษาต่อในเนเธอร์แลนด์

โหลดไฟล์ PDF ได้เลยครับ
การศึกษาต่อในเนเธอร์แลนด์.PDF

ขั้นตอนการสมัครและยื่นขอวีซ่า

ด้วยความที่ผมเองก็ไม่เคยเดินทางไปไหนไกลเลย และเป็นคนแรกของวิทยาลัยดนตรี ก็มึนๆ เล็กน้อย และมีจุดพลาดหลายจุดเลยครับ

เอกสารกับทาง Groningen

จุดที่สำคัญและเป็นจุดที่ทำให้ผมพลาด ไปช้ากว่าถึงหนึ่งเดือน คือ การกรอก Application ครับ เขียนอีเมล์ตอบไปมา เรื่องลงทะเบียนที่งงๆ ด้วย แต่ไม่ได้ Follow up ปรากฏว่าทางโน้นได้รับแล้วแต่เปิดไฟล์ไม่ได้ เขาก็ไม่ได้บอกมา ทำให้ Process ไปไม่ได้ เลยกลายเป็นว่าไม่ได้สมัครจนเข้าช่วงคริสตมาส เลยไม่ได้ทำอะไรกันต่อครับ มารู้กันอีกทีก็สัปดาห์ที่สองของมกราคมแล้ว ในขณะที่ Semester เปิดกุมภาพันธ์ ก็เลยต้องมาวิ่งกันสุดๆ

ส่วนอีกเอกสารนึงที่สำคัญมากๆ คือ Acceptance Letter ที่ระบุวันเปิด-ปิดภาคเรียนอย่างชัดเจน ซึ่งมีผลกับการขอวีซ่าอย่างมากครับ ตรงนี้้ต้องขอให้เร็วเพื่อนำมาใช้ Process ต่อครับ

เอกสารจากทาง ม.รังสิต

จุดแรก คือ MOU ของคณะ ซึ่งเป็นข้อตกลงความร่วมมือของทั้งสองวิทยาลัย ระหว่าง Prins Claus Conservatorium และ Rangsit Conservatory จริงๆ แล้ว เอกสารฉบับนี้จะเป็นตัวบอกครับว่าไปทำอะไรยังไง แต่ผมได้อันนี้มาท้ายสุด

สอง คือ จดหมายตอบรับจากทางม.รังสิต ในลักษณะ Acknowledge จดหมายจาก Groningen

อีกสองอย่างที่ควรมีไว้ คือ หนังสือรับรองจากทางมหาวิทยาลัย(ภาษาอังกฤษ) ทรานสคริปต์ภาษาอังกฤษ

การติดต่อกันระหว่างมหาวิทยาลัย และสถานทูต

ตรงนี้จะมีฝ่ายทีเรียกว่า ISO หรือ International Student Organization หรือที่เรียกว่า วิเทศสัมพันธ์ นั่นเองครับ จะเป็นหน่วยงานที่อยู่ทุกมหาวิทยาลัย ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ เคยส่งเด็กไปเรียนแล้ว เขาจะช่วยได้มากๆ ครับ ผมเองพอติดปัญหามากๆ และได้อาจารย์เด่น อยู่ประเสริฐ และอาจารย์สิทธิกุล บุญอิต แนะนำให้รู้จักกับทั้งพี่อ้อ และพี่ไทย ซึ่งอยู่ฝ่าย ISO เขาก็ช่วยเต็มที่ครับ แม้ว่าเคสผมที่เข้ามาจะแย่มากแล้ว คือ ทำยังไงก็ไปไม่ทัน แต่ทางนี้ก็ช่วยสุดขาดใจครับ และเรื่องจองตั๋วและประกันที่จะต้องมี ทาง RSU Travel ซึ่งเป็น Agency ก็ช่วยจองเป็นอย่างดี และรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างผมด้วย (ผมต้องเปลี่ยนตั๋ว และเปลี่ยนวันประกัน ก็ยังทำได้ครับ)

นอกจากนี้ ทาง ISO ของ Hanze เองก็ช่วยมากครับ ทั้งให้คำปรึกษา ในเรื่องการสมัคร หาที่พัก จองบ้าน ทำ Insurance ไปจนถึงขอวีซ่า และการเดินทางทุกขั้นตอน เขาเต็มใจช่วยจริงๆ ครับ ขอแค่เราคุยกับเขาบ่อยๆ คุยกับเขาตรงๆ เขายินดีช่วยเต็มที่ อย่างกรณีผม มีปัญหา Acceptance Letter ไม่เรียบร้อย เขายังช่วยได้เลยครับ (ในจดหมายระบุชื่อผม เป็น Dear Platong ครับ ^^)

จุดที่ยังงงๆ อยู่คือ การขอวีซ่า ครับ ทางเราเองก็ทำประกันไป (เกือบๆ 3,000 บาท) ปรากฏว่าทาง Neder เองก็ทำให้เหมือนกัน เลยซ้ำซ้อนกัน ต้องไปยกเลิกครับ

VISA

ในกลุ่มประเทศยุโรปจะใช้ เช็งเก้น วีซ่า Schengen Visa ซึ่งขอได้ไม่เกิน 90 วัน โดยขอได้ที่ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ ซอยต้นสน ชิดลม (มีเรื่องตลกร้าย คือ วันที่ผมไปยื่นวันแรก แท็กซี่ไปผิด ไปสีลม ซะงั้น)

สำหรับการเดินทางไปเรียนในประเทศอื่น อาจไปขอเปลี่ยนเป็น วีซ่า ระยะยาว หรือ MVV ในภายหลัง แต่ที่เนเธอร์แลนด์ ทำไม่ได้ครับ ต้องกลับมาประเทศไทย เพราะเขาถือว่า ขอแบบไหนต้องกลับแบบนั้นครับ เขาตรงมากๆ ทางสถานทูตเองไม่รับเอกสารผมแต่แรกด้วยเหตุผลดังกล่าว

พอติดต่อไปทาง ISO ของทาง Hanze ก็ได้รับคำตอบเดียวกัน คือต้องเลือกระหว่างไปสามเดือน (90 วัน) หรือไปเรียนสายหน่อย แต่ได้ 4-5 เดือน ก็เลยเลือกอย่างหลัง โดยให้ทาง ISO ที่ Hanze เป็นคนดำเนินการติดต่อกับอีกหน่วยงานที่ชื่อ IND ซึ่งถือว่า ตัดสินใจถูก เพราะเร็วมากๆ ครับ ทางคนเนเธอร์แลนด์เองพอคุยภาษาเดียวกัน ทุกอย่างพร้อม การดำเนินเรื่องเร็วมาก จากที่เขา Commit ว่าใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือน นับจากวันยื่น (ตอนนั้นปลายเดือนมกราคมแล้ว) ก็เสร็จในช่วงแค่อาทิตย์กว่าๆ ครับ ผมสามารถไปยื่นเอกสารได้ วันท่ี่ 9 กุมภาพันธ์ เลย ^^

จากนั้นสถานการณ์พลิกเลยครับ จากที่ตอนแรกสถานทูตไม่รับเอกสารเรา คราวนี้เขามาง้อเลย ส่งอีเมล์แจ้งว่า ทางสถานทูตได้รับ Positive Feedback จากทาง IND ขอให้ทางผมรีบไปนัดวัน โดยเตรียมหลักฐาน 1,2,3 และอย่าลืมติ๊กเลือกเงื่อนไข (ซึ่งก็คือ Multiple Entry และสามารถเข้าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มได้ นั่นเอง ติ๊กเลือก C+D) และให้เลขเอกสารกำกับมาด้วย พอไปที่สถานทูต แม้แต่ค่าธรรมเนียมพันกว่าบาท ก็ไม่ต้องเสียสักแดง เสร็จแล้วอีก 1-2 วันทำการ จะโทรไปแจ้งให้มารับ Passport คืนได้

สิ่งที่ต้องทำขนานกันไปด้วยคือการจองบ้านผ่านเวบ http://www.housingoffice.nl/ คือ โอนเงินค่าบ้านโดยแบ่งเป็นค่าจองและค่าประกันรวมกัน 625 Euro และต้องมีค่า Swift อีกพันกว่าบาท ใส่รหัสให้ถูกต้องด้วยนะ ส่วนที่สองคือ เงินที่เอาไว้ใช้จ่าย วันละ 30 Euro ผมขอไว้ 5 เดือน คูณสามสิบวัน คูณสามสิบยูโร ก็ได้ 4,500 Euro สองแสนกว่าโน่นแน่ะครับ มือสั่นเลย

RECEIPT ค่าบ้าน ค่าใช้จ่าย

RECEIPT ค่าบ้าน ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่าย

นอกจากค่าจองบ้าน และค่าเช่าบ้านอีกเดือนละ 325 Euro รวมถึงเงินฝากที่ต้องมี อีกวันละ 30 Euro

ค่าประกันการเดินทางอีก 2,895.00 บาท ตั๋วเครื่องบิน ได้ RSU Travel หาได้ถูกสุด รวมภาษีแล้ว ประมาณ 31,000 บาท ราคาแปรผันตามค่าเชื้อเพลิงครับ

แล้วก็ต้องมีค่าใช้จ่ายสำรองไว้ด้วยครับ ผมว่ามีสักสามแสนบาท จะอุ่นใจกว่าครับ แต่ก็มีหลายๆ คนที่ใช้น้อยกว่านี้ครับ

สำหรับคนที่สนใจจะไป ผมแนะนำว่า เริ่มจากหามหาวิทยาลัย หาข่าวสารทุน ปรึกษา ISO และคณะที่ท่านเรียน แล้วเริ่มเขียนจดหมายคุยกับมหาวิทยาลัยที่เราจะไปแต่เนิ่นๆ ครับ ไม่ต้องเกรงใจเขา เขาเองก็อยากให้มีคนมาเรียนเช่นกันครับ

โดยส่วนตัวผมถือว่าได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี และพระเจ้าจัดเตรียม เพราะไม่มีสักคนนึงเลยที่ผมติดต่อแล้วจะเกิดปัญหาขึ้น ทุกๆ คนคอยช่วยเหลือผมอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังได้การสนับสนุนที่ไม่คาดคิดจากลูกค้าเก่าผม ซึ่งผมนับถือเสมือนญาติผู้ใหญ่ เพราะคอยแนะนำผม หาคอนเสิร์ตดีๆ ให้ดู หางานตั้งแต่ที่โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ให้ทำ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาในครั้งนี้ด้วย อีกสามหมื่นกว่าบาท ขอขอบคุณ คุณเดวิด นาร์โดน มา ณ โอกาสนี้ครับ

Scholarship from Mr. David Nardone

Scholarship from Mr. David Nardone

ขอขอบพระคุณ

ผมเองนั้น ได้รับการช่วยเหลืออย่างไม่คาดฝัน และเป็นจังหวะหนึ่งของชีวิตครับ อย่างแรกเลยต้องขอบคุณผู้ที่รู้แผนการในชีวิตและจัดเตรียมทุกส่ิงสำหรับผม คือ พระเยซูคริสต์​ พระเจ้า พระบิดาของผม ที่เตรียมให้ชีวิตของผมเป็นทางที่กำหนดไว้เฉพาะแล้ว

ขอบคุณพี่หมู อ.สมภพ พึ่งปรีดา สำหรับคำแนะนำดีๆ มากมาย ทั้งการใช้ชีวิต การเล่นทรัมเป็ต และงาน Workshop ต่างๆ รวมทั้งการชักนำให้เข้ามาเป็นคริสเตียน และเล่นดนตรี

ขอบคุณ ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ ที่ให้โอกาสผมที่ไม่ได้เรียนจบมาทางด้านดนตรีได้มาเรียนที่วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต แห่งนี้ และยังเปิดโอกาสให้ผมมีโอกาสขอทุนการศึกษาจากไทยเบฟเวอเรจ อีกแม้ว่าจะเปิดเทอมเรียนไปแล้ว

ขอบคุณพี่บอย อ.สิทธิกุล บุญอิต สำหรับการประสานงาน และการติดต่อ และ MOU ระหว่าง ม.รังสิต และม. Hanze ที่ทำให้มีโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่/อาจารย์ ISO ม.รังสิต และ RSU Travel ที่ช่วยเหลือมาตลอดครับ

ขอบคุณ คณาจารย์ ที่ม.รังสิต ทุกท่านครับ ที่ประสาทวิชาให้กับผม และอดทนสอนผมตลอดมา

ขอบคุณคุณพ่อคุณแม่ ที่แม้ว่าจะบ่นตลอด เพราะกลัวลูกไม่มีจะกิน ถ้ามัวแต่เล่นดนตรี (นี่ก็กินซะตัวเบ้อเริ่มขนาดนี้แล้ว) แต่ก็ไม่ได้ห้ามแต่อย่างใด ที่ผมจะเข้ามาเรียนดนตรี และยึดมันเป็นอาชีพ

Thank you to Mr. David Nardone, Who like my father. Thanks for your suggestion for studying and working as musician. I appreciate your support and your scholarship.

ขอบคุณเพื่อนๆ พี่น้องนักดนตรีทุกท่าน ที่บางครั้งผมเองก็ไม่ได้เล่นดนตรีอย่างที่มันควรเป็น บางครั้งผมก็เล่นแบบที่เรียกว่า Superstar หรือ Show Off มากแต่พวกท่านๆ ก็ยังคอยแนะนำ และสนับสนุนผมมาตลอด

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคน ทั้งที่วิศวกรรมศาตร์ จุฬาฯ, ซียู แบนด์, JRP Little Bigband, เพื่อนๆ ป.โท ที่วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต ทุกท่าน

ขอบคุณเพื่อนๆ ในสังคมโลกไซเบอร์ ตั้งแต่สมัยห้องเฉลิมไทย ห้องแจ๊สเฉลิมกรุง พันทิบ รวมถึง Social Network วง #iHear ด้วยที่ทำให้ผมรู้จัก กับ Music Community

แล้วพบกันที่กรุงเทพฯ อีกห้าเดือนข้างหน้าครับ ผมออกเดินทาง คืนวันที่ 3 มีนาคม 2010 หรือ วันที่ 4 เวลา 02.30 ครับ

มี 4 ความคิดเห็น สำหรับ “ทุนเรียนดนตรี เนเธอร์แลนด์ (ตอนที่ 2) Prince Claus”

  1. @imattpop

    จ๊าบมากพี่ ยินดีอย่างรุนแรงนะครับ

  2. Note

    ยินดีด้วยนะคะพี่ปลาทอง
    หวังว่าพี่ปลาทองจะชอบเนเธอร์แลนด์ โน๊ตจะไปที่นั่นช่วงซัมเมอร์ค่ะ (แฟนโน๊ตเป็นคนดัชท์ก็เลยต้องไปหา)
    ว่าแต่ว่าไม่ลองแวะมาฮาวายบ้างเหรอคะ 🙂
    โน๊ตคิดถึง Saxophone นะเนี่ย แล้วใครจะเป่าทรัมเป็ตแทนพี่ปลาทองล่ะคะ

  3. looksorn

    congratulations!! i love to c ur show ah, so emotional haha ^^ it’s like u r so into it!!

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar