ตารางเรียน Schedule at Prins Claus, Jam Session (1)

ทาง Prins Claus Conservatorium จัดหลักสูตร New York Comes Groningen ก็เป็นอะไรที่ใหม่สำหรับที่นี่เหมือนกัน ได้คุยกับ Director Joris ก็บอกว่า อาจารย์บางท่านก็ชอบ แต่อาจารย์บางท่านก็เกลียดเอามากๆ พอผมได้เรียนสักสัปดาห์ก็พอนึกออกแล้วครับ ว่าทำไม..

สำหรับตารางเรียนของผม จะมีวิชาบังคับอยู่ แล้วก็วิชา Sit in แต่ยังไงก็ไม่เก็บหน่วยกิต ก็เลยเขาไปนั่งหลายวิชา แต่บางวิชาพวกทฤษฎี กับเทคนิคทรัมเป็ตคลาสสิก ทางบ้านเราเข้มข้นกว่าครับ ทางนี้เขาสอนแบบปล่อยๆ เช็กชื่อบ้าง แต่ก็ไม่เท่าไหร่ ส่วนใหญ่มานั่งอภิปรายกันในห้องเรียนมากกว่า ทั้งวิชาทฤษฎีและ Lab Band ไม่มีผิดถูก แต่เป็นแนวคิด ไอเดียซะเยอะครับ

ที่ผมชอบคือ วิชา Theory ส่วนใหญ่จะมี Lab ตามมาทันที อย่างเช่น เรียน Composition กับอ.จาก USA เสร็จก็เอาเพลงที่แต่งมาเล่นในคาบถัดมากับอ.อีกท่าน หรือ เรียนเรื่องการฟังเสร็จก็มาลองเล่นดูจริงๆ เลย ทำให้เราไม่ลืม และเชื่อมโยงวิชาเข้ากันได้ง่าย และมีการ rotate ให้อ.สองท่านสอนวิชาเดียวกันด้วย ทำให้ได้มุมมองต่างกันมากขึ้น

บรรยากาศการเรียนก็ดีครับ ไม่ค่อยมี Ego กันมากมาย ส่วนใหญ่จะช่วยกัน โดยเฉพาะรวมวง ถ้าเล่นแล้วหลง Form ส่วนใหญ่ จะพากันกลับมาได้ไม่มั่ว แล้วก็มี Jam Session ทั้งในโรงเรียน เรียกว่า Stage Experience หรือ Student concert at Grand cafe หรือก็คือ Canteen โรงอาหารโรงเรียนตอนบ่ายโมงนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีแจมกัน นอกห้องเรียนตาม Pub ด้วย ทำให้รู้สึกสดชื่น สดใหม่ตลอด ส่วน Masterclass ก็เป็นการเปิดหูเปิดตา ได้แลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ ตลอดครับ

ตารางเรียน

จะเรียงอย่างนี้นะครับ ขี้เกียจทำตาราง วิชา/ห้องเรียน(AE=Audiorium) /เวลา/อาจารย์ (USA=รับเชิญ)

วิชาที่มีดอกจัน * แปลว่า วิชาพิเศษในโครงการ NY comes Groningen

Monday
Stage Experience
Grand Cafe 13:00-13:45

*Concert Masterclass
AE 14:00-15:45 USA

*Jazz Composition
3-15 16.30-17.30 USA

Jazz Composition Ensemble
3-15 17:30-18:30 Steve Altenberg

Tuesday
Transcription Ensemble
3-13 Winfron 10:45-11:45

*Transcription Class
3-13 USA 11:45-12:45

Stage Experience
Grand Cafe 13:00-13:45

*Master Class for level C and higher group I
3-9 16:00-17:00 USA

Standard Ensemble
3-13 18:00-19:00 Jan Voogd

Wednesday
*Jazz Analysis
AE 10:00-11:00 USA

Jazz Analysis Ensemble
AE 11:00-12:00 Steve Altenberg

Private Lesson
1-6 12:00-13:00 Kurt Weiss

Stage Experience
Grand Cafe 13:00-13:45

Theory A
2-13 15:15-16:15 Kurt Weiss

*Theory A in Practice
2-13 16:15-17:15 USA

Thursday
Private Lesson: Technique
3-9 10:30-11:00 Peter Van Soest

Bigband Trumpet Section Rehearsal
3-9 11:00-12:00 Peter Van Soest

Stage Experience
Grand Cafe 13:00-13:45

Bigband Rehearsal
AE 14:15-15:45 Kurt Weiss

*Bigband
AE 16:00-17:00 USA

Arranging D
2-13 17:15-18:15 Kurt Weiss

Friday

*Jam Session (สำหรับรุ่นเล็ก)
USA RS 10:30-11:45

Stage Experience
Grand Cafe 13:00-13:45

*Jam Session level C or higher gr. II (สำหรับรุ่นใหญ่)
3-15 14:00-15:00 USA

David Beckman หนึ่งในทีม Masterclass จาก NY

David Beckman หนึ่งในทีม Masterclass จาก NY

Master Class

จริงๆ ก็ลงไว้เยอะเหมือนกันครับ แต่ก็เลือกๆ พวกที่เป็นปฏิบัติเยอะหน่อย สำหรับ Masterclass ที่มีลักษณะเป็น Workshop ผมอัดมาไว้บางส่วนเอามาให้ดูกันนะครับ

David Beckman: Eartrain-Chords-Progression

บทเรียนนี้สอนการแกะคอร์ดครับ โดยแกะจาก Quality และ เบส จากนั้นจึงแกะ Tension ว่าเป็นตัวที่เท่าไหร่ของคอร์ด

[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/03/20100309-David-Beckman-Eartrain-Chors-Progression.mp3|titles=20100309 David Beckman – Eartrain Chords Progression]

สำหรับเฉลยตัวอย่างนี้ อยู่ตอนท้ายคลิปนะครับ อย่าเพิ่งดูเฉลย เดี๋ยวคืนนี้ผมมาเฉลยให้ดูครับ

เฉลย แบบฝึกหัด แกะคอร์ด Chord Progression

.
.
.
เฉลย ผมเองก็แกะภาษาอังกฤษมาอีกทีครับ มีห้าคอร์ดดังนี้

Dbmaj7 #11 โน้ตเมโลดี้ (Top) = G ทำหน้าที่ #11
G7sus 9 13 โน้ตเมโลดี้ (Top) = E ทำหน้าที่ 13
Cm6/9 no 7 โน้ตเมโลดี้ (Top) = D ทำหน้าที่ 9
A 13 #9 #11 โน้ตเมโลดี้ (Top) = A ทำหน้าที่ root
D7 sus 11 13 โน้ตเมโลดี้ (Top) = D ทำหน้าที่ root

สำหรับไอเดียที่เราต้องแกะคอร์ดและโน้ตนั้น เพื่อให้รู้ว่า คอร์ดนั้นๆ มีสีสันอย่างไร และมี Function อย่างไร ในคลาสสิก อาจมีแค่คอร์ด Seventh Chord แต่ในแจ๊ส นั้นมีมากกว่านั้นครับ มีคอร์ด b9 b13 มีคอร์ด HM5 หรือ mode 5 ของ Minor Harmonic ฯลฯ อยู่ที่เราจะเลือกใช้ครับ

จุดประสงค์ในการแกะคอร์ดนั้นใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคอร์ดหนึ่งไปอีกคอร์ดหนึ่งครับ โดยเราอาจไปนั่งหน้าเปียนโน แล้วลองวิธีต่างๆ ดังนี้

1. Triad/Bb

เช่น F over Bb (F/Bb) Eb/Bb G/Bb C/Bb D/ Bb G/Bb

แน่นอนโน้ตเบสตัวเดียวกัน แต่เราลองฟัง Upper Structure ของมันที่หลอกหูเราอยู่ซิ ว่ามันคืออะไร ซึ่งคอร์ด on พวกนี้จะเอาไปใช้ในเพลงต่างๆ เวลาเราต้องการต่อคอร์ดนึงไปอีกคอร์ดนึง โดยมีจุดเชื่อมโยงเดียวกัน คือ โน้ตเบส

2. Quality/Bb

เช่น กลุ่ม Minor-Dominant Seventh chord: Bbm9 Bbm13 Bbm11 กลุ่มนี้เป็น Bbm ที่ให้สี หรือ color ของ chord ต่างกัน เวลาเราเล่น เราเห็นคอร์ด Bbm แต่เราเลือกใช้คอร์ดได้ต่างกันไป อันนี้ก็นั่งหน้าเปียนโนกดไปเรื่อยๆ เหมือนกัน หนังสืออ.เด่น ดนตรีแจ๊สและการวิเคราะห์ช่วยได้มากครับ เพราะมีตัวอย่างคอร์ดและการ Voicing ของเปียนโนอยู่ แต่ก็ลำบากคนเครื่องอื่นเหมือนกัน เพราะกดเปียนโนไม่ค่อยถนัด แต่อ.เดวิด เองก็ว่า มักมีปัญหาเหมือนกัน เวลาคนกีตาร์แกะเปียโน คนเปียโนแกะกีตาร์ ด้วย Range และ Character ของเสียงที่ต่างกัน ยิ่ง Single Line Instrument อย่างแซกโซโฟน ทรัมเป็ต ก็ยิ่งแล้วใหญ่ แต่ไงๆ ก็ต้องแกะเพื่อให้คุ้นเคยกับคอร์ดพวกนี้

ตัวอย่างที่เหลือในห้องเรียน
Major Seventh Chord: all-chord-tone, 9 #11, 13

Dominant Seventh chord:13 #11, #9 13, b9 #5, b13

Diminish chord: 7 9 #11. alt (b9 #9)

3. Progression

นิยมเอาเพลงที่มีจริงๆ ใน Realbook มาวางเลยครับ ถ้าใครจำได้ หรือเล่น Jazz Gig บ่อยก็ได้เปรียบ สาเหตุที่ใช้เพลงรู้จักเพราะว่า ถ้าเราเอาเพลงพวกนี้มา แล้วลอง Analyze ว่าโน้ต Melody เป็นตัวที่เท่าไหร่ของคอร์ด ก็จะรู้ว่า โน้ตนั้นทำหน้าที่อะไร ซึ่งจะง่ายขึ้นเวลา Transpose แม้ว่าเราไม่ค่อย Transpose บ่อยๆ นัก แต่ก็เป็นทักษะที่สำคัญโดยเฉพาะการเล่นโซโล่ หรือ อิมโพรไวส์ในแบบ Formulaic (การอิมโพรไวซ์ มีสามแนวทาง คือ Paraphrase, Formulaic, Motivic ผมยังไม่ได้เขียนถึงสักที รอก่อนนะครับ ไม่ก็หาอ่านใน Grove Jazz Dictionary ก่อน)

จริงๆ ก็จะเห็นว่า เนื้อหาที่สอนที่นี่ก็ไม่ต่างจากเมืองไทย อีกทั้งเมืองไทยอาจจะเรียบเรียงเป็นระเบียบกว่า (Systematic) ด้วยซ้ำ แต่ที่จะต่างอยู่บ้างคงเป็นสไตล์ที่ทางนี้จะออกแนว Master Class ถ้าใครหลุดก็หลุดไปเลย ใครขวนขวายก็จะได้ ในขณะที่บ้านเรา มักจัดสำรับมาให้เสร็จพร้อมใช้ได้เลย แต่ก็มักไม่ค่อยได้ขวนขวายกันเท่าใด (ผมด้วย…ที่นี่มีคำนึง โดนใจมาก Lazy like a DOG)

ไว้ต่อกันตอนสองครับ ว่าอ.ที่สอนประจำจะไม่ชอบเพราะอะไร ที่ Prins Claus Conservatorium, Jam Session (2)

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar