Prins Claus Conservatorium, Jam Session (2)

ความเดิมตอนที่แล้ว ตารางเรียน Schedule at Prins Claus, Jam Session (1)

มาต่อกันครับ มีอีกสองสามวิชาที่เหลือ

Theory

มีสองตอนๆ ละ 15 นาทีนะครับ (จริงๆ ยาวกว่านั้น แต่คัดมาบางส่วน)

ตอนที่ 1 David Berkman – Theory in Practice 1
[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/03/20100310-David-Beckman-Theory-in-Practice-1.mp3|titles=20100310 David Berkman – Theory in Practice 1]

ตอนที่ 2 David Berkman – Theory in Practice 2
[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/03/20100310-David-Beckman-Theory-in-Practice-2.mp3|titles=20100310 David Berkman – Theory in Practice 2]

อันนี้แหละครับ ที่ผมเข้าใจว่าอ.บางท่านก็ไม่ชอบ เพราะคาบแรก อ. Kurt Weiss กำลังสอนเด็กว่า พวกเมิงท่องไปเลย Deceptive Progression (DCP in Jazz) หนังสือ Berklee ว่าไว้ มี 16 แบบ ท่องไปให้หมด เพราะมันก็ใช้โน้ตคล้ายๆ กัน แต่เปลี่ยนเบสบ้าง นู่นบ้าง นี่บ้าง อะไรบ้าง…

อ.เดวิด เดินเข้ามาหักปากกาเซียนเฉยเลย บอกว่า พวกนี้ไม่มีใครเขาใช้กันหรอก(ว่ะ) สำหรับเดวิดเขามองเป็นสี พวก DCP มันก็คือ Dominant Chord ส่งไปหา ซึ่งก็มีหลายทฤษฎี อย่างเช่น John Coltrane ใน Giant Step ไปลองฟังกันดู หรือ Stablemate ของ Benny Golson (อ้าว ผมเพิ่งเล่นวิชา Transcription มาหยกๆ)

ยังงี้แหละ บางคนที่นี่เขาถึงไม่ชอบ เกลียดเอามากๆ Joris ว่างั้น คือ มันทำให้ Systematic หายไป (ในความเข้าใจผม) แต่ก็แลกมาด้วย ความ Practical มากขึ้นนะ ผมว่าก็มีดีมีเสีย อย่างเราโตแล้วก็พอแยกแยะได้บ้าง (แหละมั้ง)

Benny Golson:Three Little Words

Benny Golson:Three Little Words อัลบั้มที่มีเพลง Stablemate

เดวิดเขาวางคอนเซ็ปไว้ดังนี้ คือ เขามองคอร์ด Dominant เป็นสีต่างๆ จากสีเข้มไปสีอ่อน

สีเข้ม |||||| | | | | | | | | | | | | | | | สีอ่อน
[altered] [HM5] [H-W dim] .. [WT] [mix b6]..[lyd b7] [mix]

และแบ่งเป็นสามกลุ่ม ซ้ายสุด จะมีสีสันหรือ Dark กว่า ขวาสุดที่มีความชัดเจนว่าเป็น Dominant หรือ Bright กว่า ส่วนตรงกลางสองคอร์ดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม

วิธีการเลือกสเกลที่ใช้โซโล่ให้เหมาะคือ ถ้าคอร์ดนั้นเป็น V-I เป็น Tonal ที่ทุกคนรู้จัก มันอาจจะจืดชืดเพราะได้ยินกันบ่อยๆ ก็เลือกใช้กลุ่ม Dark ให้มีสีสัน

ถ้าคอร์ดนั้นเป็น DCP มันสวยของมันอยู่แล้ว ถ้าใส่ Dark คนฟังจะงง สู้ใส่ Bright ให้มัน plain ๆ จะดีกว่าครับ อันนี้ก็เป็นแนวทางนึง แต่ในทางปฏิบัติก็ใช้ความรู้สึกเป็นหลักครับ

ว่าแล้วมาฟัง Stablemate กันสักยก อันนี้ของ Benny Golson เจ้าตำรับ กับ Freddie Hubbard มือทรัมเป็ตตัวฉกาจ

แถมโน้ตมาให้ด้วย

Benny Golson - Stablemates

Benny Golson - Stablemates

มาดู Change กัน เพลงนี้เป็น A-B-A Form โดยท่อน A มี 10swing+4Latin Bar, ท่อน B มี 8 Bar swing

ท่อน A: Em7 A7|Ebm7 Ab7|Dbmaj |C7(b13) |Ab7 |Db7 |Gbmaj |Gm7 C7 |Fm7 |Bb |(Latin) Ebm7 |Ab7 |Dbmaj | % ||

จะเห็นว่า ห้อง 1-2 A7|Ebm7 เป็น DCP เพราะไม่ส่งไปหา E ดังนั้นเวลา Solo ตรง A7 อาจใส่สีสันเป็น mixo หรือ Lydian b7 ก็ได้เพราะแค่เล่นเป็น Dominant ตัว DCP จะชัดขึ้น

ในขณะที่ ห้อง 2-3 Ab7|Dbmaj เป็น V-I ปกติ เราควรใส่สีสันให้มันสักหน่อย โดยตรง Ab7 เราเล่นเป็น alt b9 #9 b13 หรือ dim ก็จะทำให้ V-I ของเราดูมีสีสันขึ้น เช่นเดียวกับ ห้อง 6-7 8-9 12-13 นะครับ เป็น tonal เราก็ใส่สีสันสักหน่อย

ท่อน B: Fm7 |Gb7 |G7 |C7 |B7 |Bb7 |A7|Ab7 ||

ห้อง 3-4 เป็น tonal ส่วน 4 bars ท้ายเป็น DCP แบบวิ่ง Chromatic ลงมาก็เล่น Sequence ไม่ก็เชื่อมกันด้วย Common Tone ก็ได้

ในบางสถานการณ์อย่าง Giant Step

John Coltrane - Giant steps

John Coltrane - Giant steps

เราพบว่า คอร์ดท่อน A มีคอร์ดที่อ่านไม่รู้เรื่องอยู่ จริงๆ แล้ว เริ่มจาก 3 bars ท้ายครับ

[Fm7 (Bb7 | Ebmaj7)] |(C#m7 F#7 || Bmaj) (D7 |Gmaj) [Bb7] | [Ebmaj]

[.] คือคอร์ดในภาพใหญ่ เป็น ii-V-I ของ Ebmaj
ส่วน (.) คือคอร์ดผ่านสองชุด ได้แก่ ii-V-I ของ Bmaj และ Gmaj

ในกรณีนี้ไม่ต้องไปคิดเรื่อง altered ให้เหนื่อยเลย เล่นตาม tonal นี่ล่ะ dorian-mixolidian-major หรือพูดง่ายๆ เล่นตามเสกลหรือคอร์ดที่เห็นนี่ละครับ เพราะแล้ว (แต่ก็ต้อง Analyze ก่อนอยู่ดี)

ในส่วนของทฤษฎีที่อ. Kurt โดนตอกหน้าไปนั้น จริงๆ มันก็ดีครับ เป็นคนละเรื่องเดียวกันที่ควรรู้ไว้ โดยคอร์ด Dominant หรือ V7 อาจตามด้วยแปดคอร์ด เรียกว่า DCP ดังนี้
IIImi VImi bIIma bIIIma bVIma bIIIma IVhalfdim IVmin (หนังสือของเบิร์กลี ใช้ระบบคอร์ดคนละระบบครับ)

ส่วน V7/X ซึ่งเป็น V of Something ก็แบ่งกลุ่มและใช้ DCP ได้อีก 16 วิธีครับ จำเป็นคีย์ C: ละกัน

V/II = A7 |Bhalfdim (VImi b5),
Bbmaj,
F#halfdim,
Fmaj,
Ebmaj

V/III = B7 |Cmaj,
Db7,
Dmi-D# (stella by starlight)

V/IV = C7 |Dmi

V/V = D7 |D7/C then Bhalfdim,
Ebmaj,
Emi

V/VI = E7 |Fmaj,
Gm-C7

sub V/II = Eb |Fmaj (Dm)
* sub V คือ substitution tri-tone

sub V/IV = Gb7 |Dm

Jazz Analysis: Tommy Flaningen on Confirmation

คลิปเสียงนี้ยาวหน่อยนะครับ ประมาณ 35 นาที (แต่จริงๆ ก็เป็นแค่บางส่วน)

Jazz Analysis: Tommy Flaningen on Confirmation 1
[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/03/20100310-Jazz-Analyze-11.mp3|titles=20100310 Jazz Analyze 1]

Jazz Analysis: Tommy Flaningen on Confirmation 2
[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/03/20100310-Jazz-Analyze-21.mp3|titles=20100310 Jazz Analyze 2]

วิชานี้อ. David ให้ไอเดียในการแกะเพลง ซึ่งอาจใช้เวลานาน แกะฟังกันเป็นร้อยรอบก็มี เมื่อเขียนโน้ตได้แล้วก็ให้ลอง Analyze ดู สำหรับเพลงที่เอามานี้คือ Confirmation เล่นโดย Tommy Flaningen, และมี sideman คือ George Mraz เบส และ Elvine Jones กลอง โดยหา Target Note และวิเคราะห์ว่า ตอนนี้เขากำลังใช้อะไรในการโซโล่

การอิมโพรไวส์ นั้นไม่ใช่ว่าดูคอร์ดแล้วก็เล่นเอาตัวรอดไป แต่เป็นการวางแผน และเลือกใช้ หรือสร้างวลี หรือกลอน โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น เลือกเอา Melody มาใช้ (ในวิชาที่ผมเรียนกับอ.เด่น เรียกว่า Paraphrase) แต่ก็มีบางทีเหมือนกัน ที่ไม่ได้วาง Melody ในตำแหน่งของมัน แต่เป็นการสร้าง Theme จาก Melody มาพัฒนา โดยอาจใช้ Motif หรือการทำ Sequence ผมจด Transcription มาไว้ด้วยนะครับ จะเอามาลงให้ดู
.
.
.
Confirmation นี้ของ Charlie Parker ครับ ฟังตัวจริงก่อน

เสร็จแล้วมาแกะโซโล่ของ Flanagan กันครับ

อันนี้เป็นบางส่วนนะครับ

Tommy Flanagan Solo on Confirmation

Tommy Flanagan Solo on Confirmation

หลังจากนั้นก็จะเป็นคาบ Lab ก็ให้ลองเล่น Confirmation ดู แต่ Solo ด้วย Theme Development เช่น ลองบังคับตัวเองให้ Solo ด้วยคู่เสียง M2 กับ P5 เท่านั้น ขึ้นหรือลงก็ได้ จะพบว่า เล่นยาก แต่ก็ได้เสียงที่น่าสนใจ แล้วก็ลองเปลี่ยนคู่เสียงดูก็จะพบวิธีใหม่ๆ

Listening Session

สำหรับคาบนี้เป็นการแนะนำเพลงครับ ลองฟังดูเลยดีกว่า

Listening 1
[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/03/20100311-David-Berkman-Listening-1.mp3|titles=20100311 David Berkman – Listening 1]

Listening 2
[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/03/20100311-David-Berkman-Listening-2.mp3|titles=20100311 David Berkman – Listening 2]

Bigband

คาบนี้ก็เป็นสองช่วงต่อกัน คือ ช่วง อ.ปกติ กับ Master Class สำหรับ Master Class ก็เป็นการทดลองอะไรแปลกๆ คล้ายๆ Free Jazz แต่กำหนดเงื่อนไขบางประการ ให้แต่ละคนผลัดกัน โซโล่ แล้วก็สร้างทีม Rhythm เล่นจังหวะกับ Groove ยืนพื้นไว้ และทีม Sax เล่น Groove นึง (ไม่กำหนดคีย์) ส่วนทีม Trumpet อีก Groove นึงคนละเรื่องกัน แล้ว David คอยสั่งการปิด/เปิด คือ เล่นกับหยุดเล่น ไม่เท่ากัน ผลเป็นไง ไปฟังเอาเองนะครับ

BIGBAND
20100311 David Berkman – Bigband

Master Class on Jam Session

ในส่วนของการ Jam Session เลือกเพลงของ Thelonius Monk เพลง Misterioso

แล้วก็ให้วงเล่นครับ
Jam Misterioso 1
[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/03/20100312-Jam-Session-1.mp3|titles=20100312 Jam Session 1]

Jam Misterioso 2
[audio:https://plajazz.com/wp-content/uploads/2010/03/20100312-Jam-Session-2.mp3|titles=20100312 Jam Session 2]

Jam Session at Peter Pan Cafe

ทุกคืนวันพุธ จะมีนักเรียนบางคนเล่นประจำอยู่ที่ผับใกล้ๆ กับวิทยาลัย เดินไปห้านาที พวกนี้ก็แบกกลองกับแอมป์ไปเล่น (มี Upright Piano อยู่แล้ว) พอเสร็จหลังเที่ยงคืน ก็จะเป็นช่วง Jam Session ให้ทุกคนได้สนุกกัน พอเสร็จก็ช่วยกันย้ายของมาเก็บในหอเพื่อน และอาจมีปาร์ตี้ กินพิซซ่า กันต่อ คุยเรื่อยเปื่อยจนดึก แล้วค่อยแยกย้ายกลับกันครับ ลองไปดูบรรยากาศกัน ถ่ายมานิดเดียว เพราะมัวแต่ไปแจมเองด้วยครับ สนุกดี แต่ละคนเก่งๆ กันทั้งนั้น มาลับฝีมือกันสนุกสนาน

ส่วนสัปดาห์ที่สองที่ Groningen จะเป็นอย่างไร ติดตามต่อไปครับ

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar