PrinsClaus Master Class: David Berkman

วันนี้พามาฟัง Master Class ของนักดนตรีชั้นนำจากนิวยอร์กกันครับ David Berkman

อย่างที่เคยบอกไว้ว่าที่ วิทยาลัยดนตรี ปริ้นซ์คลอส แห่งนี้มีโครงการที่ชื่อว่า Newyork comes Groningen โดย Director ของวิทยาลัย อาจารย์ยอริส เทปเป้ (Joris Teepe) เป็นมือเบสและนักการศึกษาดนตรีแจ๊สซึ่งเล่นอาชีพอยู่ที่นิวยอร์ก ก็จะชักชวนเพืื่อนนักดนตรีที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำ Master Class และสอน Private สลับกันไปในแต่ละสองสัปดาห์ โดยกำหนดให้ช่วง 14:00-16:00 น.ของวันจันทร์ เป็น Master Class สำหรับครั้งนี้คือคิวของมือเปียโน David Berkman

David Berkman

David Berkman: piano, ensemble jazz, theory and jazz analysis, listening session

Since moving to New York in 1985, David Berkman has been an important part of the jazz community. He is an award-winning composer/bandleader (2000 Doris Duke/Chamber Music America New Works Creation and Presentation Grant), a recording artist whose 4 Palmetto recordings have appeared on numerous best records of the year critic’s lists (the New York Times, the Village Voice, Downbeat, JazzIz, Jazz Times and others) and an award-winning jazz clinician who has performed and taught at numerous jazz camps, universities and conservatories around the United States, South America and Europe….

เดวิด เบิร์กแมน ย้ายเข้ามาที่นิวยอร์กในปี 1985 และมีบทบาทสำคัญในวงการแจ๊ส เขาได้รางวัล Doris Duke/Chamber Music America New Works Creation and Presentation Grant ในฐานะนักแต่งเพลงและผู้นำวงในปี 2000 และบันทึกเสียงกับค่าย Palmetto Records สี่อัลบั้ม ซึ่งทั้งสี่อัลบั้มนี้เป็นงานชั้นเยี่ยมที่ปรากฏอยู่ในนิตยสารดนตรีที่สำคัญอย่าง New York Times, Village Voice, Downbeat, JazzIz, Jazz Times เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลในฐานะผู้สอนดนตรี (Clinician) ซึ่งแสดงและจัดคลีนิคให้กับค่ายเรียนดนตรีแจ๊ส มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยดนตรี ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา, อเมริกาใต้, และยุโรป

รายละเอียดจากเวบไซต์ส่วนตัวของเขา David Berkman

ถ้าเราลองหาใน wiki ดูจะพบว่า โอ้ว เมพขิงๆ

David Berkman, born December 28, 1958 is a jazz pianist, composer, arranger and educator……..Berkman is an assistant professor in the Queens College Jazz Masters Program in New York and is a visiting professor at the Prince Claus Conservatory in Groningen, the Netherlands

จาก วิกีพีเดีย

ตัวอย่างผลงานของเขา

นอกจากที่เขาโพสต์ไว้ในเวบแล้ว ลองมาดูเพลงของเขากันครับ

ในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ
1. แสดงดนตรี (Master Class)
2. เสวนา (Lecture)
3. และเวิร์กช๊อปเรื่องการแต่งเพลง (Workshop on composition)

Master Class

ช่วงแรกจะเป็นการเล่นดนตรีและเปลี่ยนเอานักเรียนขึ้นมาเล่นทีละคน และท้ายสุดก็เล่นเพลงของอาจารย์เดวิด เอง โดยมือกีตาร์ ตรงนี้ผมอัดคลิปไว้สามคลิป ลองไปชมกันดู เสียดายไม่ได้นั่งที่นั่งหน้า อาจจะมีโดนบังกันไปบ้างอะไรบ้างนะครับ

PrinsClaus Master Class: David Berkman: Piano Trio

PrinsClaus Master Class: David Berkman: w Drum Student

PrinsClaus Master Class: David Berkman: Quartet (Guitar Student)

เพลงนี้เป็นเพลงที่อาจารย์แต่ง และเพิ่งซ้อมเมื่อวันอาทิตย์ ก่อนจะมาเล่นในวันจันทร์คือวันนี้ครับ

หลังจากฟังกันมาจุใจแล้ว (แสงที่เห็นส่องเข้ามาคือแดดครับ Hall นี่หลังคาเป็นกระจกรับแสงลงมาครับ สวยดี

Lecture

ส่วนนี้จะเป็นบรรยายครับ ก็พูดวนๆ แต่หลักๆ คือคำถามที่ว่า Why we play music? Why we play jazz? Why improvise? เป็นเชิงอภิปราย ไม่มีผิด ไม่มีถูกครับ ลองฟังๆ กันดู

Why we play music? คำถามนี้ อาจารย์ถามทุกคนในห้องครับ จริงๆ แล้วมันไม่ได้เป็นการสนองตอบต่อ ego หรือความต้องการของเราแต่เพียงฝ่ายเดียว เป็นเรื่องของความงดงามในศิลปะดนตรี เพื่อที่เราจะซ้อม และทำทุกสิ่งเพื่อให้ดนตรีที่ออกมามีความสวยงามขึ้น

Why we play jazz? อันนี้ก็เป็นคำถามโดนใจ เพราะดนตรีมีตั้งมากหลาย ทำไมต้องมาปวดขมองกับดนตรีแจ๊ส จังหวะก็แปลก เพลงก็ไม่ติดหู เล่นก็ยาก เล่นกี่ทีก็ไม่เคยเหมือนกันสักที ฟัง Pop/Rock ง่ายกว่า เล่นก็ง่ายกว่า (มั้ง….จริงๆ ก็ไม่ง่าย เล่นไงให้โคตร Pop หรือโดนใจชาวร๊อก) อันนี้แกไม่ตอบแฮะ แกยกตัวอย่างสองคน คนแรก John Coltrane คนนี้เหมือนกับเวลาเราซักผ้า?…. อ้าวชักงงแฮะ….อ.เดวิด ว่า เวลาซักถุงเท้าเราก็จะบิดๆๆๆๆ และบิด เอาน้ำออกมา จอห์น โคลเทรนก็เป็นเยี่ยงนั้น เขาจะพยายามบีบเอาความรู้สึก และจิตวิญญาณ (Soul) ของเค้าออกมาผ่านทางการโซโล่ของเขา…ส่วนอีกคน ฟังไม่ทันนะครับ เป็นนักดนตรี ..ไปแกะเทปมาแล้วครับ คือ Tommy Flanagan เล่นตรงข้ามกับจอห์นเลย เขาเล่นในลักษณะของโคลงกลอน (Poet and Poem) ซึ่งมีคำที่คล้องจองกันมากมาย…แต่ละคนก็มีวิถีแจ๊สต่างกันออกไป

Why we improvise? สำหรับมุมมองของอาจารย์ คือ เป็นการ Interact กับคนดู เวลาเราฟังเพลง ปัจจุบันจะมีนักดนตรีใหม่ๆ เก่งๆ เต็มไปหมด เก่งกว่าอาจารย์เองด้วยซ้ำ แต่ที่ตอนนี้อาจารย์มอง ในมุมมองของนักดนตรีนักแต่งเพลงอายุ 51 ปี แต่งเพลงตั้งแต่สามขวบ ฮัมๆ ออกมา ตั้งชื่อว่าเพลง Happy Song ละกัน ^_^” …ส่ิงที่สำคัญในการมองการเล่น หรือการอิมโพรไวส์ คือ การเล่าเรื่อง การสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนดู ว่าเราต้องการจะบอกอะไรกับคนดู และเวลาที่เราเล่น เราเลือกวลีต่างๆ มาวางไว้ เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องจากโน้ตหนึ่งไปอีกโน้ตหนึ่ง (Connect the note) อย่างไร

PrinsClaus Master Class: David Berkman: Why we play music 1/2

PrinsClaus Master Class: David Berkman: Why we play music 2/2

Composition by Harmony

เนื่องจากวิชาถัดมา คือ Jazz Composition by New york musician ตัวอาจารย์ยอริส ในฐานะ Director ได้กำหนดกรอบคร่าวๆ เป็นสี่หัวเรื่อง คือ Rhythm, Melody, Harmony, Form และสำหรับคิวของเดวิด ก็จะเป็นเรื่อง Harmony (ผมไม่ได้อัดไว้นะครับ เพราะต้องเรียน ขาตั้งกล้องก็มะมี ทิ้งไว้ที่สนามบินเพราะน้ำหนักเกิน TT)

ก็จะเริ่มจากให้นักเรียนเขียนคอร์ดขึ้นมาคนละคอร์ด ก็จะมีคอร์ดประหลาดๆ ออกมา เช่น C#m-maj7 หรือ F#/C อะไรเทือกๆ นี้ อาจารย์ก็จะหยิบมายำๆ กัน เรียงกันใหม่ แล้วลองเล่น แล้วให้นักเรียนฟัง โดยอาจมี Guide Tone ให้นิดหน่อย แล้วก็ตามด้วยคำถามว่า คอร์ดนี้อยากได้ไหม ถ้าไม่อยากได้ ให้คัดค้านด้วยคะแนนเสียง 8 คนขึ้นไป พอได้มาเสร็จ ก็จะเริ่มกระบวนการ

เริ่มจากว่า คอร์ดแต่ละคอร์ดอาจไม่มีความสัมพันธ์ในแง่ของ Tonality เลย หรือในแง่ฟังก์ชั่นก็ไม่ Get (ถือว่าคนที่อ่านถึงตรงนี้ พอจะมีความรู้วิชา Harmony1 มาบ้างแล้ว) คราวนี้เวลาเอาคอร์ดมาเรียงๆ กันจะทำอย่างไร อาจารย์ก็จะมีไอเดียมากมาย แต่ที่สำคัญคือ ตรงนี้

แต่ละคอร์ดที่เชื่อมกัน เราจะต้องหาจุดเชื่อม ให้คอร์ดสองคอร์ดที่ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ มาต่อกันให้ได้ เช่น
– อาจจะใช้ Common Tone ใน Melody เชื่อมคอร์ดสองคอร์ด เช่น ใช้โน้ต G เชื่อมระหว่าง C#dim กับ G7
– ใช้ function ที่เหมือนกันวางต่อกัน เช่น Gm ต่อกับ Bm ให้ลองศึกษาจากเพลงหลายๆ เพลง
– ใช้การวางสลับ เช่น G7 C# G7 C# ให้เรามองเห็นว่า กำลังเล่นกับ Harmony อยู่นะ
– เลิกใช้ Harmony ใช้ Mode แทน เช่น C7 ค้างเลย แล้วก็เปลี่ยน Mode วนไปเรื่อย

ฯลฯ แล้วแต่จะคิด

ก็เป็นดังนี้แหละครับ จบแล้ว ให้ไปแต่งเพลงกันมา (ตรูจะแต่งได้ไหมวะเนี่ย -_-“)

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar