Don Braden, Saxophonist “Symmetrical Scale”

อันนี้เป็นสรุปเลกเชอร์ของอ. Don Braden, Saxophonist ในโครงการ New York Comes Groningen ครับ เรื่อง Symmetrical Scale เท่าที่ผมพอจำได้และมาหาวิธีอธิบายเพิ่มเติมนะครับ เพราะทำสมุดจดหาย เลยต้องรีบ Blog ไม่งั้นลืมหมดชัวร์

Don Braden, NY Saxophonist

Don Braden, NY Saxophonist

Don Braden, Saxophonist

Brief Biography


Don Braden is a musician of the highest caliber. For many years he has toured the world leading his own ensembles, as a special guest, and as a sideman with greats such as Betty Carter, Wynton Marsalis, Freddie Hubbard, Tony Williams, Roy Haynes, and many others…. FROM www.donbraden.com

Symmetrical Scale

แบ่งออกเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. Chromatic
2. Whole Tone
3. Diminished
4. Augmented

ลักษณะเด่นของ สเกลสมมาตร คือ การทบ เช่น C Whole Tone มี C D E F# G# A# … ถ้าเราเล่น Sequence เช่น C-D-E-F# D-E-F#-G# E-F#-G#-A# …. เราจะได้โน้ตซ้ำซึ่งเล่นง่าย และเสียงที่ได้ก็มีลักษณะเฉพาะ มีรูปร่างเหมือนเดิมโดยตลอด และเป็นไอเดียหนึ่งในการโซโล่ หรือแต่งเพลงได้ครับ

1. Chromatic Scale

มี 1 Mode 1 Scale คือ เรียงกัน 12 Tone

C C# D D# E F F# G G# A A# B …. ไปเรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะเริ่มที่ C# หรือตัวอื่นๆ หน้าตาของเสียงก็จะเหมือนเดิม เลยมีแค่ 1 Mode และไม่มีความแตกต่างของสเกล ไม่ว่าจะ C Chromatic ก็จะมีโน้ตเหมือนกันกับ C# Chromatic

วิธีใช้ก็คงรู้ๆ กัน ใช้ในการไล่เสียงจากโน้ตไปโน้ตให้อารมณ์หรือสีแบบโครมาติก คือ เหมือนค่อยๆ ไล่ Shade สีจากอ่อนไปเข้มครับ ส่วนคอร์ดที่เข้ากันได้ นั้นไม่ Fix ครับ เพราะมักใช้เป็นโน้ตผ่าน

2. Whole Tone Scale

มีลักษณะเด่น และเพลงที่น่าจะรู้จักกันดี คือ You’re the Sunshine of My Life ของ Stevie Wonder ช่วง Intro นั่นเอง

คอร์ดที่ใช้ได้ เช่น C Whole Tone Scale อาจเข้าได้กับคอร์ด C7#5 C9#5 ส่วนคอร์ดอื่นที่อาจเข้า แต่ความหมายที่ Imply อาจไม่ใช่ ต้องเช็กดีๆ ครับ

ตรงจุดนี้ อ. Don Braden ให้หลักไว้ดังนี้ครับ:
“Music First then Theory” คือ ให้ความสำคัญกับเสียงที่ออกมาครับ ส่วนทฤษฎีเป็นเรื่องรอง

Whole Tone มี 1 Mode คือไม่ว่าเราจะเริ่มที่ C-WT หรือ D-WT ฯลฯ ต่างก็ให้รูปร่างหรือ Shape เดียวกันครับ แต่เกิดขึ้นได้ 2 Scale คือ มีเซตของกลุ่มโน้ตต่างกัน สองชุด คือ
{C, D, E, F#, G#, A#} และ {C#, D#, F, G, A, B} ในที่นี่เรานับ Enharmonic หรือโน้ตที่ชื่อต่างแต่เสียงเหมือน (พ้องเสียง) ไว้ด้วยกัน เช่น C# กับ Db คือ ตัวเดียวกันนะครับ

3. Diminished Scale

เกิดในคอร์ด Co หรือ Cdim หรือ C Fully-Diminished Chord ซึ่งมีโน้ต C-Eb-Gb-A ในคอร์ด ตรงนี้อย่าสับสนกับ Calt หรือ altered-scale ซึ่งเป็นอีกเรื่องนึงนะครับ การเกิดสเกลนี้ น่าสังเกตว่ามีโน้ต 8 ตัว แทนที่จะเป็น 7 ตัวแบบ Major, Minor หรือโมดต่างๆ เราเลยอาจเรียก Diminished Scale เป็นสับเซตของ Octatonic Scale ครับ ส่วน Octatonic จะเป็นอย่างไรไปตามอ่านในส่วนของทฤษฎีดนตรีคลาสสิค

ถ้าเราสร้างสเกลจาก Cdim จะได้สองแบบ คือ Whole-Half Diminishes Scale และ Half-Whole Diminished Scale ซึ่งเป็น Mode ซึ่งกันและกัน มาลองดูกันครับ

3.1 Whole-Half Diminished Scale
เช่น C W-H จะมีโน้ต C D Eb F Gb Ab A B เราจะพบว่า
C ห่างจาก D เป็นคู่สองเมเจอร์ หรือ Tone (=2Semitone) หรือ Whole
D ห่างจาก Eb เป็นคู่สองไมเนอร์ หรือ Semitone หรือ Half
Eb ห่างจาก F = W
F ห่างจาก Gb = H
Gb-Ab = W
Ab-A=H
A-B=W
B-C=H

จะเห็นว่าระยะห่างจะเป็น W-H-W-H-W-H-W-H สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าให้ง่าย นั่งหน้าเปียโน แป้นที่อยู่ติดกันจะห่างกัน H นับไป 2H จะได้ 1W เช่น แป้นสีขาวที่ติดกับสีดำจะห่างกัน H, บางแป้นคีย์บอร์ดจะเป็นสีขาวติดกับสีขาวก็ห่างกัน H เช่นกัน เพราะบันไดเสียงในดนตรีสากลกำหนดให้แต่ละขั้นไม่เท่ากัน โดยการปรับให้เข้ากับหูคน รายละเอียดลองหาด้วยคำว่า “Temperament” ดูครับ

ลูบปลากรอบ (รูปประกอบ)

Whole-Half Diminished Scale Show on Garageband

Whole-Half Diminished Scale Show on Garageband


ในรูปผมใช้ Garage Band นะครับ เป็นโปรแกรมบน Mac โรงเรียน iSchool เขาสอนผมมา จริงๆ กดได้พร้อมกัน 4 เสียง (Voice) แต่ต้องเสียไปโน้ตนึงเพื่อ Capture รูป จะเห็นว่าบันไดห่างเป็นระดับ W-H-W-H สลับกันไป ลองกดเปียนโนไล่สเกลดูจะได้ยินเสียงนะครับ ส่วนโน้ต ถ้าใครไม่ถนัดอ่านโน้ต เช่น @iPattt ก็จำเสียงแล้วดูแป้นคีย์บอร์ดคอมเอา จะมีตัว a-s-e-f-t-y-h-j-k ถ้าเป็นโน้ตก็ตามนี้
Whole-Half Diminished Scale

Whole-Half Diminished Scale

มาดูคนเปียนโนเล่นดีกว่าครับ อันนี้ได้มาจาก PodCast เมื่อหลายปีก่อน มีบน Youtube ด้วย

จะเห็นว่าเสียงเป็นเอกลักษณ์มาก สำหรับคอร์ดที่ใช้ได้กับ W-H Scale นั้น คือ Co หรือ Cdim นั่นเองครับ

อีกเวอร์ชั่น อันนี้คลาสสิคมากเข้าใจง่ายด้วย เวอร์ชั่นกีตาร์ครับ

3.2 Half-Whole Diminished Scale
หลักการเดียวกันก็จะได้ C-Db-Eb-E-F#-G-A-Bb-C ซึ่งห่างกันเป็นระยะ H-W-H-W-H-W-H-W ไปเรื่อยๆ เสียงก็จะต่างออกไป แต่ฟังแล้วก็มีลักษณะร่วมกับ H-W ครับ เพราะเป็นโมดซึ่งกันและกัน

W-H กับ H-W สังเกตโน้ตที่ซ้ำกัน (C,Eb,Gb,A) และระยะห่างระหว่างโน้ต (..H-W-H-W..)

W-H กับ H-W สังเกตโน้ตที่ซ้ำกัน (C,Eb,Gb,A) และระยะห่างระหว่างโน้ต (..H-W-H-W..)

คอร์ดที่ใช้ก็จะมี C13b9#11 กับ C13#9 ส่วน Calt นั้นใช้ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องของ Melodic Minor Mode ครับ คนละเรื่องกันอย่าเอามาปน สำหรับคอร์ดประหลาดดังกล่าวลองไปหา Voicing หรือการจับคอร์ดของแต่ละเครื่องดูนะครับ Piano กับ Guitar ค่อนข้างต่างกัน ถ้าเราเล่นเดี่ยวๆ บางคนก็เรียกว่า Jimmy Hendrick Chord จริงแท้แค่ไหนขอไปหาข้อมูลก่อน แต่ถ้าจะให้ลอง Solo ดูแล้ว ไปที่นี่เลยครับ ลองเล่นตามดู มีแค่ 4 Chord

สำหรับ Diminished Scale ที่กล่าวมาทั้ง 3.1 3.2 เวลาฝึกจะฝึกรวมกันแค่ 3 Different Scale ครับ คือมีแค่นี้เอง ฝึก 3 ได้ครบทั้ง 24 Scale ( C-Half-Whole, C#-Half-Whole, …, C-Whole-Half, C#-Whole-Half,…)

วิธีคิดคือ การที่ Cycle เวียนมาบรรจบทุกๆ 3 semitone เลยเกิด Different Scale แค่ 3 กรณีครับ ส่วน Whole-Tone มี Cycle แค่ 2, และ Chromatic เท่ากันทุกช่วงนับเป็น 1, สุดท้ายคือ Augmented Scale จะมี Different Scale อยู่ 4 ชุด

….แหม ถ้าเอารูปใน Garage Band มาแต่งจะเห็นภาพชัดขึ้นครับ

ว่าแล้วก็เอามาแต่งให้ดูสักกรณีนึงครับ

3 Different Whole-Half Diminished Scale

3 Different Whole-Half Diminished Scale

จะเห็นว่าอันที่ 4 จะมีโน้ตซ้ำกับอันแรกครับ สำหรับที่เหลือเป็นการบ้านครับ

4. Augmented Scale
จะเป็นชุด minor third (-3) สลับกับ minor second (-2 หรือ H) เช่น C-Augmented Scale จะมี C-Eb-E-G-Ab-B-C ซึ่งจะห่างกันเป็นระยะ -3,H,-3,H,-3,H ตามลำดับ โดยคอร์ดที่ใช้คือ Caug ส่วนโมดที่เกิดจะมีสองโมด แต่อีกโมดไม่ค่อยได้ใช้ครับ จัดเป็นกลุ่มนึงหรือสับเซตของ Octatonic Scale (Wiki บอกว่าเพลงที่ใช้ เช่น ที่ Oliver Nelson’s solo on “Stolen Moments”) ผมก็ลองไปหาดูครับ ตามลิงก์นี้

Oliver Nelson’s solo on “Stolen Moments”
http://listen.grooveshark.com/#/s/Stolen+Moments/2uZaSz คลิกที่นาที 4.30 ฟังแล้วรู้สึกไงมาเล่าสู่กันฟังนะครับ

ส่วน Stolen Moment อีกเวอร์ชั่นที่หาเจอง่ายกว่า คือของ ERIC DOLPHY ครับ

มาถึงจุดนี้ถ้าใครเริ่มมึนๆ ย้ำคำอาจารย์ไว้ครับ “Music First, then Theory Second”

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar