Listening: Ignacio Berroa – Afro Cuban Drummer

วันนี้มาฟังกลองกันบ้างครับ ในวิชา Listening หรือ การฟังเพลง ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ในแต่ละคลิป ที่อาจารย์จาก New York เข้ามาแนะนำนั้นดีมากครับ ไม่ได้ยากเสมอไป อย่างในตัวอย่างนี้ Ignacio Berroa ซึ่งเป็นมือกลอง และเครื่องเคาะจังหวะที่เรียกรวมๆ ว่า เพอร์คัสชั่น (Percussion) เขาเป็นนักดนตรีชาวคิวบา แท้ๆ เรามักเรียกดนตรีในลักษณะนี้ ว่า ดนตรีแอฟริกัน (African Music), ดนตรีคิวบา (Cuban Music), ดนตรีแบบละติน (Latin Music) หรือเรียกรวมกันว่า Afro Cuban ครับ

VDO สื่อการสอน การเล่นกลองชุด ให้เป็น Afro Cuban

ไม่น่าเชื่อว่า เขาทำวีดีโอชุดนี้ดีมาก และมีครบทุกตอนบน Youtube ครับ ไม่โดนลบด้วย อาจจะเพราะว่า Search หาไม่ค่อยเจอครับ แต่เนื้อหาดีมาก และเข้าใจง่ายครับ ไม่ว่าคุณจะเล่นเครื่องดนตรีอะไร ถ้าสนใจในดนตรี Afro Cuban Rhythm และ การนำไปใช้กับการเล่นกลองชุดได้ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการโซโล่ บนริทึ่มแบบนี้ด้วยครับ

Afro Cuban Drumming – Ignacio Berroa

เป็นการเกริ่นนำครับ ว่าวีดีโอจะบอกถึงเรื่องอะไรบ้าง โดยจะครอบคลุมไปถึง Songo ซึ่งเป็นจังหวะใหม่ที่มีที่มามาจากรากของมัน ครับ

จุดที่ อิ๊กนาซิโอ เบอโรอา ว่าไว้น่าสนใจ คือ

ถ้าคุณสนใจดนตรีอัฟโร คิวบัน สิ่งที่สำคัญไม่ใช่โน้ต แต่เป็น “ความรู้สึก” ซึ่งสำคัญกับดนตรีทุกแบบ วิธีการง่ายมาก คือ ไปที่ร้านขายเพลง ซื้อซีดีมาฟัง แต่ไม่ใช่ฟังแต่กลองอย่างเดียว เช่น ถ้าเราซื้อไมลส์ เดวิส มาฟังเพื่อศึกษาการเล่นกลอง อย่าฟังแต่ Tony William มือกลอง แต่ให้ฟังทั้งวง ฟัง Herbie Hancock, Ron Carter ให้ฟังทั้งวง

สำหรับดนตรีคิวบา สังเกตเปียนโนว่าเขาทำอะไร Comping อย่างไร มือเบสเล่นอย่างไร เขาเล่น ทุมบาว Tumbao อย่างไร และดูทั้งวง โดยใช้องค์ประกอบสามอย่าง คือ ใส่ใจ (Pay Attention), ฟัง (Listening), ศรัทธา (Respect) กับดนตรีนั้นๆ .. คำสุดท้าย แปลยากมากครับ ตีความหมายได้หลายอย่าง

Ignacio Berroa

Ignacio Berroa


จากนั้น เขาก็แนะนำเรื่องของการเล่น Son Cuban แล้วก็มีผู้ช่วยอีกท่านนึง คือ Michael Spiro ซึ่งเป็นมือกลอง และมือเพอร์คัสชั่นละติน ชาวอเมริกัน และเป็นเพื่อนของ Ignacio ครับ

Michael เริ่มถามคำถามง่ายๆ คือ Clave(clah-vay) หรือ คลาเว่ นั้นคืออะไร ทาง Ignacio ตอบว่า

CLAVE is Pattern and Feel around which part of music that work to fit. Like guy who tell you how to play this music”

Clave มีแค่สองแบบ คือ Son Clave และ Rhumba Clave แล้วเขาก็ตบมือให้ดูครับ เป็น 3-2 บนสองห้องเพลงครับ 2 Bars Pattern ใช้ฟังเอาครับ จะต่างกันนิดหน่อย แต่ให้ความรู้สึกต่างกันมาก ไม่ต้องเขียนโน้ต ให้ฟังแล้วตบมือตามเลยครับ แต่ถ้าจะเขียนโน้ตก็จะได้ดังนี้ครับ

Son Clave, Rhumba Clave, 6/8 Clave

Son Clave, Rhumba Clave, 6/8 Clave

นอกจากนี้ก็จะมี Pattern ที่เป็น 2-3 ด้วย ก็แค่เอาห้องสองมาแทนห้องแรก ในคลิปจะอธิบายค่อนข้างละเอียดชัดเจนครับ ทุกแบบให้ความรู้สึกต่างกันมากครับ จบแล้วต่อม้วนสองเลยครับ

สิ่งที่บอกความแตกต่างของ Clave ที่เหมาะสมคือ “Melody” หรือทำนองเพลงนั่นเองครับ ลองเล่นทั้งสองแบบดู ว่าแบบไหน Fit เข้ากันได้กับจังหวะมากกว่ากัน ลองฟังตัวอย่างเพลงดูครับ

ที่ 1.34 ฮามากครับ เพราะ Michael ขอให้ Ignacio ร้องพร้อมตบมือ แต่ใช้ Rhythm ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งยากมากๆ ครับ แต่ Ignacio ก็ทำได้อยู่ดี -_-”

มีสิ่งที่น่าสนใจคือ มักมีข้อถกเถียงเป็นปกติ ระหว่าง มือกลอง กับ มือเบส ที่ทะเลาะกันว่า ควรจะใช้ Clave แบบไหน วิธีตัดสิน คือ Melody แล้วลองเล่นว่าแบบไหนดีที่สุด

ต่อไป คือ Rhumba Clave ซึ่งประกอบด้วยสามส่วน ได้แก่ Cascara, Clave, และ Bass เขาเชิญมือเพอร์คัสชั่น ชั้นยอดอีกคนมาร่วมเล่นด้วย Giovanni Hidalgo แล้วก็มาถึงการ Apply ไปใช้กับกลองชุดครับ อันนี้น่าทึ่งมากๆ ครับ
ค่อยๆ เพิ่มจาก Clave แล้วใส่ Cascara แล้วจึงใส่ Bass ครับ จากนั้นก็มีอีกหลายส่วนครับ เช่น Bembe และ ใน 6/8 Folklore Music

ติดตามต่อได้ใน Youtube นะครับ มี 8 ตอนด้วยกัน เยี่ยมมากๆ ครับ

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar