Combo Rehearsal Guidelines

BLOG นี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Jazz Pedagogy สอนโดย อ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ วิทยาลัยดนตรี ม.รังสิต

แนวทางการซ้อมวงคอมโบ

Combo Rehearsal Guideline

จาก Grove Dictionary ให้ความหมาย Combo ดังนี้

A term, derived from the word ‘combination’, used of a small group of musicians and applied principally to small ensembles, especially in jazz and popular music (hence ‘beat combo’).

มาจากคำว่า “คอมบิเนชั่น” ที่แปลว่า การรวบรวม ใช้สำหรับกลุ่มนักดนตรีขนาดเล็ก วงเล็ก นิยมใช้กับดนตรีแจ๊ส และดนตรีป๊อบ — โดยทั่วไป วงคอมโบอาจประกอบไปด้วย ทรัมเป็ต ทรอมโบน แซกโซโฟน เปียนโน กลอง และกีตาร์ (ผู้เรียบเรียง)

แนวทางการซ้อมนี้ เขียนโดย Jamey Aebersold สำหรับค่ายดนตรีแจ๊ส 5 วันครึ่ง ที่เคยจัดที่ประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรีเลีย, นิวซีแลนด์, แคนาดา, ยุโรป ตั้งแต่ปี 1970 ซึ่งเป็นหลักสูตรสั้นๆ ที่ให้นักดนตรีได้มีโอกาสเล่นกับการจัดวงขนาดเล็ก โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ ความคล่องตัว และ การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

คอนเสิร์ตนักเรียนวันศุกร์

Friday Student Concert

อย่าใช้การซ้อมเพื่อมุ่งแต่คอนเสิร์ตนักเรียนแต่เพียงอย่างเดียว จริงๆ แล้วควรให้ความสำคัญกับคอนเสิร์ตให้น้อยที่สุด — ให้เน้นการฝึกซ้อมกับการพัฒนาวงให้มากกว่า (ผู้เรียบเรียง)
จุดประสงค์ในแต่ละสัปดาห์คือให้นักเรียนได้มีประสบการณ์กับเพลงในหลายๆ รูปแบบ ความหลากหลาย คือ ประเด็นหลัก

Combo Band วงคอมโบ

Combo Band วงคอมโบ

ความเห็นทั่วไป

General Comment

1. เริ่มชั้นเรียนตรงเวลา อย่าสร้างนิสัยเสียแก่เด็กๆ ด้วยการเริ่มชั้นเรียนสายแม้เพียง 2-3 นาที
2. ถ้าขาดนักเรียนอีก 1-2 คน ให้เริ่มก่อนได้เลย มีหลายสิ่งที่จะต้องทำ
3. ออดิชั่น การสอบเข้าให้ทำให้ตรงไปตรงมาและรวดเร็ว แต่ไม่เร่งเด็กจนเกินไป ให้เป็นมิตรกับนักเรียน เพราะนักเรียนส่วนใหญ่จะเพิ่งเจออาจารย์เป็นครั้งแรก อาจจะเกร็ง ให้นึกถึงตอนที่เราต้องออดิชั่นเป็นครั้งแรก
4. อย่าให้เพลงที่ยากเกินไปหลายๆ เพลงในคราวเดียว จะทำให้นักเรียนยอมแพ้ตั้งแต่ต้น
5. แจ้งระดับของนักเรียนที่ต้องการในวันอาทิตย์ (วันออดิชั่น) เพื่อที่จะจัดระดับนักเรียนได้
6. งดสูบบุหรี่ในชั้นเรียน และแจ้งนักเรียนและอาจารย์ถึงเรื่องนี้ด้วย
7. ปฏิบัติตัวให้ดี จำไว้เสมอว่า สิ่งที่เราทำจะถูกซึมซับโดยนักเรียน ถ้าเราต้องการให้นักเรียนเป็นนักดนตรีที่ดี เราเองต้องเป็นแบบอย่างที่ดี นึกถึงนักเรียนเป็นอันดับแรก แล้วจึงเป็นตัวเรา(อาจารย์)
8. สังคมของอาจารย์กับนักเรียนควรจะรักษาระดับให้เหมาะสม ไม่ควรฉกฉวยประโยชน์จากการเป็นอาจารย์พิเศษ แต่ให้คิดว่านักเรียนเองก็เป็นนักดนตรีคนนึง (treat นักเรียนให้เหมือนนักดนตรีอาชีพ — ผู้เรียบเรียง)
9. ควรระวังบางเรื่องที่เราพูดหรือทำแล้วทำให้นักเรียนรู้สึกท้อ นักเรียนมักคิดว่าเขาโตแล้ว แต่จริงๆ ก็ยังเด็กอยู่
10. ควรมีการพูดคุยกับอาจารย์ท่านอื่นๆ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ หรือเก็บไว้กับตัว ควรพูดมันออกมา
11. สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม ถ้าต้องการสิ่งใดเป็นพิเศษเช่น เครื่องฉาย, จอ, เครื่องอัดเสียง, ชอล์ก, แปรงลบ, ตู้แอมป์ หรืออะไรก็ตาม ควรจัดเตรียมไว้ก่อนวันจันทร์ที่จะเริ่มชั้นเรียน อย่าคิดว่าจะหามาได้ในทันที ควรตรวจสอบว่าห้องเรียนมีสิ่งที่เราต้องการครบ ควรจัดให้พร้อมเมื่อสิ้นสุดในแต่ละสัปดาห์ รวมทั้งทำความสะอาดห้องซ้อมด้วย
12. Originals (เป็นตัวของตัวเอง) ไม่ควรยึดติดกับเพลงที่เราเขียน แต่ควรจัดให้มี Week of Original (สัปดาห์ที่ให้นักเรียนได้ฟังเพลงที่มีลักษณะเฉพาะตัวหลายๆ แบบ) เพลงที่มีความเป็นเฉพาะตัวนี้อาจทำให้ทุกคนเหนื่อย แต่ก็จำเป็นเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของ repertoire (เพลงที่จะต้องเล่นได้) นักเรียนจะต้องได้เรียนรู้ที่จะเล่นในหลายๆ สไตล์ เพราะส่วนใหญ่แล้วพวกเขามักจะยึดติดกับสไตล์ใดสไตล์หนึ่ง แต่ week of original นี้จะช่วยให้เขารู้จักสไตล์มากขึ้น
13. การย้ายวง พยายามแก้ปัญหาถ้ามีนักเรียนบางคนจำเป็นต้องย้ายวงด้วยเหตุผลใดก็ตาม เวลาย้ายวง อย่าย้ายเด็กไปยังวงที่มีคนมากอยู่แล้ว อย่าใช้วิธีนี้กำจัดคนที่เราไม่ต้องการ แต่ให้ย้ายวงเพื่อให้เป็นประโยชน์กับเด็กเป็นสำคัญ
14. อารมณ์ พยายามรักษาอารมณ์ของวงไว้ โดยเฉพาะเวลาต้องมีการเปลี่ยนแผนการซ้อม ให้สังเกตจากเข้าร่วมซ้อมของนักเรียน
15. ชื่อ จำชื่อสมาชิกในวงให้ได้ อย่างน้อยเฉพาะชื่อแรกจะช่วยให้สื่อสารกับสมาชิกในวงได้ดีขึ้น
16. คนทั่วไปจะชอบให้เรียกชื่อของเขามากกว่า “เฮ้ยนาย…”
17. ควรอัดช่วงซ้อมไว้บ้าง เพื่อสำรวจตัวเอง เช่น ตัวเองอาจพูดคำว่า “อืมม” มากไป หรือพูดเร็วไป หรือช้าไป หรือพูดไม่รู้เรื่อง
18. ควรเล่นเองบ้าง อาจจะ 1-2 รอบ (chorus) เพื่อให้นักเรียนได้รู้ึสไตล์ของเพลงในเวอร์ชั่นของผู้สอนเอง แต่ไม่ควรนานเกินไปเพราะจะเสียเวลา บางครั้งอาจเล่นในคอนเสิร์ตของคณะจะดีกว่า
19. เล่น head (ส่วนของทำนองหลัก) โดยผู้สอนเล่นพร้อมกับนักเรียน เป็นไอเดียที่ดีเพราะเป็นการวางแนวให้นักเรียน ถ้าให้ดี อาจเล่นเวอร์ชั่นต้นฉบับจะดีที่สุด
20. ควรสนับสนุนให้สมาชิกในวงรู้จักเพลงเพิ่มขึ้น ให้เขาจำเพลงได้มากขึ้นๆ เริ่มจากทำนองหลัก (Melody) และ ทางเดินคอร์ด (Change) ของเพลง อาจจะให้เขาเล่นตัว root ของแต่ละคอร์ดก็ได้
21. การใช้สเกลบลูส์ ให้เสียงที่มีลักษณะเฉพาะตัว ควรให้นักเรียนรู้ว่าเวลาไหนควรใช้ เวลาไหนไม่ควร อย่าให้เขาใช้สเกลบลูส์เพราะเขาไม่ได้ทำการบ้านมา ควรให้เขาใช้สเกลต่างๆ สลับกันไปแทนที่จะใช้บลูส์อย่างเดียว
22. การเน้นในแต่ละจุดในเพลง ควรให้นักเรียนรู้ว่าต้องเน้นตรงไหน และให้มือกลองให้คิวสำหรับการเริ่มต้นในแต่ละ phrase
23. ช่วงที่เบสโซโล่ อย่าให้คนเบสเดินเบส แต่ให้เขาเล่นแบ stop time และโซโล่บนไอเดียที่เขาได้ยินในหัวของเขา อาจต้องบอกเขาว่า “ลองเล่นเหมือนแซกโซโฟน หรือทรัมเป็ต….” เพื่อให้เขาหลุดออกจากกรอบที่ต้องเล่นแบบเดินเบสอย่างเดียว และให้มือเบสอย่าเริ่มหรือจบโซโล่ด้วย root
24. ให้คิดว่าทุกเครื่องเป็นเครื่องโซโล่หมด ให้มีความสร้างสรรค์ และให้นักเรียนได้รับแนวคิดเดียวกัน
25. ให้นักเรียนเล่นได้หลายๆ แบบ ทั้งแบบ ahead (มาก่อน), behind (มาทีหลัง), และ ตรงจังหวะ (on the beat) ตามอายุและความสามารถของนักเรียน
26. สนับสนุนนักเรียนให้โซโล่แบบมี logical climaxes (คือสร้างให้มีจุดที่น่าสนใจ ไม่จืดชืด) ให้ผู้เล่นใช้ tension and release (มีตัวนอกคอร์ด และวิ่งไปหาโน้ตที่ควรจะไป), repitition (การเล่นซ้ำประโยค), sequence (เล่นเป็นชุด), dynamics (มีดังเบา), เล่นประโยคและมีการหักมุม, ฯลฯ เป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงให้เห็นถึง device ข้างต้น แต่อย่าลืมบอกนักเรียนด้วยว่าสิ่งที่เราจะเล่นมีไอเดียอย่างไร
27. อดทน ให้นึกถึงโซโล่ยุคแรกๆ ของไมล์ส เดวิส
28. ให้นักเรียนหัดเล่นแบบฝึกหัดสเกล อาจจะเป็น 5 โน้ตแรกของสเกลที่เรากำลังจะเล่น, ทั้งสเกลถึงโน้ตตัวที่ 9 ทั้งขาขึ้นและลง, ทรัยแอดส์, คอร์ดทบเจ็ด, คอร์ดทบเก้า, pattern ของโน้ตในแต่ละคอร์ด/สเกล ก่อนที่เราจะเล่นเพลง ให้ทำแบบฝึกหัดนี้ในช่วงต้นสัปดาห์ เพื่อให้เด็กได้เตรียมตัวในการโซโล่ และเข้าใจ material ในสเกลและคอร์ด เพื่อที่จะเอามาใช้ได้ ก่อนที่จะเล่นเพลง
29. อย่าเสียเวลากับการเล่นซ้ำไปซ้ำมาหลายๆ รอบทั้งที่ทุกคนคุ้นชินกับทางเดินคอร์2ดแล้ว
30. ยิ่งนักเรียนจำทางเดินคอร์ดและสเกลได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เขาเล่นดนตรีได้เป็นดนตรีเร็วขึ้น
31. ให้เด็กมีความสุขที่ได้ฟังเพลงแจ๊สและคุณค่าของผลงานของศิลปินแจ๊สต่างๆ
32. ดนตรียุคใหม่ อยู่ที่วงนี่แล้ว และคุณเป็นส่วนหนึ่งของมัน ขอแสดงความยินดีด้วย

ทักทาย

หากต้องการให้มีรูปอวตาร (avatar) ประจำอีเมล กรุณา สมัครที่ Gravatar